แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 13668|ตอบ: 1
go

เรื่อง...ขันธ์ ๕ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เรื่อง...ขันธ์ ๕
วันที่: วันพฤหัสบดี 17 พฤษภาคม 2007 @ 14:11:49
หัวข้อ: รวมคำสอน หลวงพ่อฯ



ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ นี่ "ขันธะ" แปลว่า "กอง" นะ ท่านบอกว่ากายกับใจน่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือร่างกายกับของเรานี่เอง ร่างกายและอารมณ์ของใจ ไม่ใช่กายกับใจ ถ้ากายกับใจมันก็เป็น ๒ กองคือ กายหนึ่งกับใจหนึ่ง นี่กายกับใจนี่แบ่งออกจริงๆ ได้ ๕ กอง เรียกว่า "ขันธ์ ๕" คือ
๑. รูป (รูปนี่คือกาย)
๒. เวทนา
๓. สัญญา
๔. สังขาร
๕. วิญญาณ

ตั้งแต่ ๒ - ๕ เป็นเรื่องของ "ใจ" เป็นอารมณ์ของใจ

๑. รูป
ท่านอธิบายว่า ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันเป็นกายนี้เรยกว่า "โลก" ใช่ไหม นี่ที่ศึกษากันมาแล้วนี่ ร่างกายนี้มันเกิดขึ้นมาได้ด้วยธาตุ ๔ ที่เข้ามาประชุมกัน ที่เรียกว่า โลก คำว่า "โลก" นี่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า "มหาภูตรูป" นะ สิ่งที่มองไม่เห็นก็เป็นรูป เขาเรียกว่า "อุปทายรูป"

"มหาภูตรูป" คือรูปที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ นี่ตามองเห็น ถ้า "อุปทายรูป" นี่ละเอาไว้ไปอ่านในด้านความรู้นักธรรมโท

๒. เวทนา
"เวทนา" นี่แปลว่า "เสวยอารมณ์" หมายความว่าอารมณ์มันเป็นสุข หรืออารมณ์มันเป็นทุกข์ หรืออารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์
อารมณ์ที่เป็นสุข เรียกว่า สุขเวทนา
อารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สบายใจเรียกว่า ทุกขเวทนา
อารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกว่า อัพยากฤต
ถ้าไม่สุขไม่ทุกข์จริงๆ ถึงขั้นไม่ใช่อารมณ์ ก็ว่าเฉพาะ นี่คืออารมณ์ของพระนิพพาน

ท่านที่เป็นพระอรหันต์ "ท่านไม่สุขไม่ทุกข์" สุขนี่หมายถึงสุขจากวัตถุ สุขจากกามคุณ ไม่มีสำหรับพระอรหันต์ แล้วท่านก็ไม่ทุกข์ นี่เป็นเรื่องของเวทนา "เรื่องความเสวยอารมณ์"

๓. สัญญา (ความจำ)
สัญญา "รู้" คือ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำการสัมผัสถูกต้อง จำอารมณ์ที่เกิดกับใจ นี่ใครว่าอะไรมาก็จำได้

รวมความว่าความจำนี่เรียกว่าสัญญา ที่บอกสัญญา มันไม่ใช่ปัญญา ปัญญามันเป็นความคิด สัญญามันเป็นความจำ "ปัญญา" น่ะตัวคิดขยายเพื่อความเข้าใจ "สัญญา" จำเขาว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น

อารมณ์ที่เกิดกับใจที่เป็นส่วนดีเรียกว่า "กุศล" เป็นส่วนชั่วที่เรียกว่า "อกุศล" ถ้าเป็นส่วนกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่า "อัพยากฤต" อันนี้เรียกว่า "สังขาร"

๔. สังขาร
"สังขาร" ตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย มันเป็นอารมณ์ของใจ หรืออารมณ์ที่เข้ามาหนุนใจ เข้ามาแทรกกับใจ ถ้าเป็นอารมณ์ด้านดีเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข ท่านเรียกว่า "กุศล" คือฉลาด ถ้าอารมณ์ด้านชั่วสร้างความทุกข์ เรียกว่า "อกุศล" แปลว่าโง่ ไม่ฉลาด คือว่าที่อยู่เฉยๆ ไม่ไปยุ่งกับความดีหรือความชั่ว เรียกว่า "อัพยากฤต" อารมณ์อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาสิงใจเรียกว่า "สังขาร"

๕. วิญญาณ (การรับรู้จากสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
คือ ความรู้อารมณ์ในเวลาที่เมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น "วิญญาณ" แปลว่า "การรู้วิเศษ" รู้เห็น เห็นรูปเป็นจักขุวิญญาณ หูฟังเสียงเป็นโสตวิญญาณ จมูกกระทบกลิ่นเรียกว่า ฆามวิญญาณ ลิ้นกระทบรส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ กายถูกต้องสัมผัสเรียกว่า กายวิญญาณ

"วิญญาณ" นี่แปลว่า รู้วิเศษ รู้เปรี้ยว รู้เค็ม รู้หนาว รู้ร้อน วิญญาณตัวนี้ไม่ใช่ใจนะ คำว่าวิญญาณคือประสาทที่รับรู้แห่งการสัมผัส เรียกวิญญาณ จำง่ายๆ

เมื่อก่อนเรียนมาไม่มีใครอธิบายแบบนี้ นี่ขันธ์ ๕ นี้ย่อเรียก นามและรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันจัดเป็น นาม สำหรับรูป คือร่างกาย จัดเป็นรูป

*** เวทนานี้ก็คือ ความเสวยอารมณ์สัมผัสใจ เป็นใจทำให้เกิดเวทนาคือ มีความสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่สุขบ้างไม่ทุกข์บ้าง มีชื่อตามอายตนะภายใน ๖ คือ จักขุสัมผัสเวทนา โสตสัมผัสเวทนา ฆามสัมผัสเวทนา ชิวหาสัมผัสเวทนา กายสัมผัสเวทนา มโนสัมผัสเวทนา

ส่วนความรู้สึก สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ก็อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นต้น

จากหนังสือพ่อสอนลูก



ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 1

โมทนาสาธุในธรรมทานค่ะ  

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-15 22:56 , Processed in 0.088347 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.