แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9985|ตอบ: 13
go

วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ม.๑๘ ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0846.JPG



วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน  

ม.๑๘ ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

[พระบรมธาตุเจดีย์ , พระเจ้าสะเลียมหวาน]

---------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 31 ม.ค. 2565)


Rank: 8Rank: 8

IMG_0675.JPG



IMG_0678.JPG



IMG_0682.JPG



IMG_0689.JPG



IMG_0701.JPG



IMG_0698.JPG



การเดินทางไปวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลำพูน-ลี้) และเลี้ยวเข้าบ้านโฮ่งหลวง กิโลเมตรที่ ๑๑๓ ขับรถมุ่งหน้าสู่บ้านกลาง หมู่ที่ ๑๘ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



Rank: 8Rank: 8

IMG_0705.JPG



IMG_1181.JPG



IMG_1179.JPG



วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ตั้งอยู่ในเขตบ้านกลาง หมู่ที่ ๑๘ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน



IMG_0723.JPG



ประตูทางเข้า วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0720.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับประตูทางเข้า วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘


Rank: 8Rank: 8

IMG_1008.JPG



IMG_0920.JPG



IMG_0747.JPG



IMG_1013.JPG



IMG_1165.JPG



วิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0948.JPG



ประวัติวิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน


วัดนี้เป็นวัดโบราณเก่าแก่ รกร้างว่างเปล่ามาช้านาน ทางคณะสงฆ์ ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอบ้านโฮ่งและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พร้อมใจกันบูรณะ โดยได้ก่อสร้างวิหาร ๔ มุข ๑ หลัง กว้าง ๑๔ ศอก ยาว ๓๖ ศอก สูง ๒๕ ศอก วางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ ทำบุญฉลองเมื่อวันที่ ๖ ถึงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ถวายเป็นอนุสรณ์ในคราวครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๑๕,๗๗๔.๒๐ บาท


พระครูสังวรญาณ ประธานก่อสร้าง

----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติวิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน)



IMG_1151.JPG



IMG_1090.JPG



IMG_1119.JPG



IMG_1095.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



Rank: 8Rank: 8

IMG_1106.JPG



IMG_1143.JPG



IMG_1136.JPG



พระเจ้าสะเลียมหวาน องค์ที่ ๒ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐



IMG_1113.JPG



คำไหว้พระเจ้าสะเลียมหวาน

(กล่าวนะโม ๓ จบ) มธุระ นิมพะพุทโธ โย เทวตา นระปูชิโต อัมหากัง กุสลัตถายะ อหัง วันทามิ ตัง สะทา



IMG_1107.JPG



ตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน



มีความเชื่อเกิดขึ้น ๒ เรื่องด้วยกัน คือ

๑. เรื่องแรก เป็นตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานของชาวบ้านโฮ่ง ซึ่งเป็นตำนานลายลักษณ์อักษรที่เขียนขึ้นจากตำนานมุขปาฐะ โดยพระมหาศิลป์ สิกขาสโภ ตามคำบอกเล่าของพระครูสังวรญาณ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๐ กล่าวว่า

“เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อเสด็จมาถึงตำบลหนึ่งซึ่งมีต้นสะเลียม (ต้นสะเดา) ขึ้นอยู่หนาแน่น พระพุทธองค์เมื่อทรงบิณฑบาตแล้ว ก็แวะพักเสวยภัตตาหารใต้ต้นสะเลียมใหญ่ต้นหนึ่ง เมื่อพระองค์เสร็จจากภัตตกิจแล้ว พระองค์จึงทรงเข้าสมาธิ จนกระทั่งเวลาบ่ายเกิดความอัศจรรย์ เมื่อเงาของไม้สะเลียมยังคงอยู่กับที่ เพื่อถวายให้ร่มเงาแด่พระพุทธเจ้า


พระอานนท์จึงเกิดความสงสัยจึงทูลถาม พระพุทธองค์จึงทรงมีดำริว่า ต่อไปเบื้องหน้าจะมีบุคคลผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนานำไม้สะเลียมต้นนี้ไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปไว้บูชา กระทั่งกาลต่อมา ได้มีผู้คนนำต้นไม้สะเลียมดังกล่าวมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปไว้สักการบูชาประจำหมู่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาดินแดนบ้านโฮ่งก็เกิดความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล”

ตำนานนี้จึงถือเป็นต้นแบบของตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่กล่าวถึงกันโดยทั่วไป


๒.
เรื่องที่สอง เป็นตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่ประดิษฐานในวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทอง กล่าวว่า  

สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ได้มาโปรดพวกลัวะในถิ่นนี้ พวกลัวะจึงได้จัดอาสนะให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งภายใต้ต้นสะเลียม จากนั้นพระพุทธองค์จึงทำนายไว้ว่า ต่อไปคนจะตัดต้นสะเลียมไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป มีนามว่า พระเจ้าไม้สะเลียมหวาน

----------------------


(แหล่งที่มา : วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (๒๕๓๙). "กรณีพิพาทพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน" ศิลปวัฒนธรรม.)


IMG_1129.JPG



ประวัติพระเจ้าสะเลียมหวาน



พระเจ้าสะเลียมหวาน เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร สูง ๒.๔๐ เมตร แกะด้วยไม้สะเลียม (สะเดา) หวาน ปัจจุบันนี้ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีอดีตประวัติเล่าต่อกันมาแต่โบราณดังนี้


๑. ความเดิม

ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในปัจจันตชนบท เพื่อโปรดประชาสัตว์เพื่อความสงบอันเป็นผาสุกวิหารธรรม โดยมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ ลุถึงตำบลหนึ่งซึ่งมีต้นไม้สะเดา (สะเลียม) ขึ้นอยู่หนาแน่น มีธารน้ำไหลผ่านและตั้งอยู่ห่างจากย่านชุมชนเป็นที่สงัดสมควร เป็นที่พักของผู้ต้องการวิเวกธรรม หลังจากพระพุทธองค์ทรงบิณฑบาตในละแวกบ้านได้ภัตตาหารสมควรแล้ว แวะพักเสวยภัตตาหารภายใต้สะเดาต้นใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งร่มรื่นด้วยกิ่งใบอันหนาพองาม เสร็จภัตตกิจแล้ว พระองค์ทรงเข้าสมาธิสุขสมบัติ จนกระทั่งตะวันบ่ายคล้อยลงไป เงาต้นไม้สะเดา (สะเลียม) ก็ยังตรึงอยู่ที่มิได้บ่ายตามตะวัน เป็นความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงดำรัสว่า


ต่อไปเมื่อหน้าจะมีบุคคลผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจะนำไม้สะเดา (สะเลียม) ไปแกะเป็นพุทธรูปบูชา กาลต่อมาต้นไม้สะเดา (สะเลียม) ที่เคยมีรสขม ก็กลับมามีรสหวานปานชะเอม ด้วยเดชะพุทธานุภาพประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป ปัจจุบันก็ยังมีต้นสะเดา (สะเลียม) ที่มีรสหวานอยู่ที่หน้าหอสรงพระเจ้าสะเลียมหวาน ๒ ต้น ในวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน


๒. ความคิดเห็น

มีข้อความปรากฏในพระสูตรเรื่องหนึ่งว่า “เตน สมเยน พุทโธ ภควา เวรัญชา ชายัง วิหรติ นเฬนุปุจิมน หมูเลมหตา ภิกขุสังเฆนสุทธี ปัญจมัตเตหิ"


ในพรรษาที่ ๑๒ จากการตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จจาริกพรรษา ณ โคนต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์รักษา ซึ่งตั้งอยู่เมืองเวรัญชา พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นพุทธนิวาสสถานมาแล้ว และคงเป็นที่ประทับพอพระหฤทัยของพระพุทธองค์ เหตุผลทั้งหลายประกอบกัน ทำให้พุทธศาสนิกชนเชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาประทับ ณ โคนไม้สะเลียม ที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ตามจริงตามเล่าสืบกันมา


๓. ความเป็นไป

พระเจ้าสะเลียมหวานประดิษฐานอยู่ที่อำเภอบ้านโฮ่งจนถึง ๗๐๐ ปีเศษ เชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า ประชาชนเชื่อกันว่าพระพุทธรูปสะเลียมหวานมีอิทธิปาฏิหาริย์ ทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล บันดาลข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันพระเจ้าสะเลียมหวานประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นพระพุทธรูปที่อยู่กับอำเภอบ้านโฮ่งหรือเวียงหวาย


----------------------


(แหล่งที่มา : แผ่นพับประวัติพระเจ้าสะเลียมหวาน วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน)



IMG_1149.JPG



ประวัติการสร้างพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน



พระเจ้าไม้สะเลียมหวาน ที่พบในล้านนา มีอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ คือ องค์แรก ประดิษฐานที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ.๒๔๗๒ ส่วนองค์ที่ ๒ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เช่นเดียวกับองค์ที่ ๓ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรม วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในศาลาร่วมแรงร่วมใจ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน)

ชื่อของพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวล้านนา โดยเฉพาะระหว่างชาวอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ กับชาวอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพราะเคยเกิดกรณีพิพาทในการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์ในพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้สะเลียมหวานถึง ๔ ครั้ง ในช่วงเวลากว่า ๓๓ ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๒-
๒๕๐๕

ว่ากันว่าพระเจ้าไม้สะเลียมหวานเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้สะเดาหวาน (คนเมืองล้านนาเรียกไม้ชนิดนี้ว่า "ต้นสะเลียม") เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรประทับบนฐานไม้สี่เหลี่ยม มีห่วงเหล็กสองห่วงซ้ายขวาสำหรับยกองค์พระ พระเจ้าไม้องค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วน

ความน่าสนใจของพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน อยู่ที่องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง พระพุทธรูปไม้องค์นี้นั้น แต่เดิมเป็นสมบัติของวัดพระแท่นสะเลียมหวาน ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สมัยก่อนวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีชาวบ้านศรัทธาเป็นจำนวนมาก ต่อมาวัดแห่งนี้ได้ร้างไป ชาวบ้านจึงนำเอาวัตถุโบราณของมีค่าต่างๆ ของวัดนี้ไปฝากที่วัดแห่งอื่นๆ ได้แก่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว ฝากไว้ที่วัดสันเจดีย์ อำเภอบ้านโฮ่ง และอีกองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดเดียวกัน นำไปฝากไว้ที่วัดบ้านล้อง


ส่วนพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน นำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยทุกๆ ปี เมื่อถึงวันงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ ชาวบ้านโฮ่งก็ได้มีการนำดอกไม้ธูปเทียน ตลอดจนจัดสำรับกับข้าวเพื่อมาถวายพระพุทธรูปไม้องค์นี้ จนถือเป็นประเพณีที่ต้องกระทำทุกปี ด้วยเป็นที่ทราบกันว่า พระพุทธรูปไม้สะเลียมที่ประดิษฐานในวิหารหลวงวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นของชาวบ้านโฮ่ง

กระทั่งเกิดกรณีการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์ระหว่างชาวบ้าน ๒ อำเภอ โดยการเรียกร้องครั้งแรกนั้น มีขุนโห้ง หาญผจญ พร้อมกับครูบามหาวงศ์ นำชาวบ้านโฮ่งกลุ่มหนึ่งเดินไปเข้าพบกับเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ขณะนั้น เพื่อขออนุญาตให้นำพระเจ้าไม้สะเลียมหวานกลับคืนสู่วัดเดิม กระทั่งเจ้าแก้วนวรัฐได้พิจารณาให้เป็นการตัดสินใจของคณะศรัทธาวัดพระธาตุศรีจอมทองเอง และยังมีการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อมาอีก ๒-๓ ครั้ง


กระทั่งครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านพระครูสังวรญาณได้พยายามทวงคืนพระเจ้าไม้สะเลียมหวานอีกครั้ง มีคณะกรรมการระดับอำเภอเข้าร่วมด้วย การทำหนังสือขออัญเชิญพระเจ้าไม้สะเลียมหวานกลับคืนสู่อำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งการเรียกร้องในครั้งนั้น ทางเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ได้โอนการตัดสินใจให้กับคณะศรัทธาวัดพระธาตุศรีจอมทอง ผลก็คือ เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาไม่ยินยอม

เมื่อเวลาผ่านไป ชาวบ้านโฮ่งจึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปไม้สะเลียมหวานองค์ใหม่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมใจ และต่างก็เชื่อว่าพระเจ้าไม้สะเลียมหวานองค์ใหม่นี้ก็มีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับองค์เดิมทุกประการ กระทั่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา ก็ไม่มีการเรียกร้องกรรมสิทธิ์อีก เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน จึงกลายเป็นเรื่องเล่าสำหรับคนรุ่นหลังไป


----------------------


(แหล่งที่มา : วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (๒๕๓๙). "กรณีพิพาทพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน" ศิลปวัฒนธรรม.)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1121.JPG



พระพุทธรูปประจำวันเกิด และ รูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0896.JPG



IMG_0891.JPG



IMG_0903.JPG



พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน


IMG_0754.JPG



IMG_0905.JPG



IMG_0908.JPG



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน


Rank: 8Rank: 8

IMG_1169.JPG



IMG_0911.JPG



IMG_0915.JPG



รูปพระมหาอุปคุต วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_1070.JPG



IMG_1076.JPG



รูปเหมือนพระครูสังวรญาณ อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านโฮ่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



Rank: 8Rank: 8

IMG_0858.JPG



IMG_0820.JPG



IMG_0818.JPG



IMG_0863.JPG



IMG_0871.JPG



IMG_0875.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0788.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ



IMG_1027.JPG



ประวัติวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



สถานที่วัดพระเจ้าสะเลียมหวานในปัจจุบัน เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ของอำเภอบ้านโฮ่ง ตามตำนานเล่าไว้ว่าบ้านโฮ่งในอดีตเป็นบ้านเมืองที่เจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายพระพุทธศาสนา มีพยานให้เห็นคือ ซากวัดวาอารามที่ยังเหลือทั่วไปหลายสิบวัด แต่จะสร้างเมื่อใด พ.ศ.ไหน ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ส่วนวัดพระเจ้าสะเลียมหวานตามตำนานเล่าไว้ว่า


สมัยหนึ่งด้านทิศตะวันตกของวัด มีพระยาต๋นหนึ่ง ชื่อไม่ปรากฏ ตั้งเวียงอยู่เรียกว่า “เวียงหวาย” มีบุตร ๒ คน คนแรกชื่อ จันทร์ คนสุดท้องเป็นผู้หญิงชื่อ นางเลา ต่อมาพระยาถึงแก่กรรมลง บุตรชายได้สืบตระกูลแทนปกครองบ้านเมืองแทน ชื่อว่า พระยาจันทร์ หรือ พระยาแปดเหลี่ยม มีพระชายาชื่อ นางแก้ว ซึ่งเป็นบุตรเลี้ยงของพระฤาษี ปัจจุบันมีพิธีบวงสรวงทุกปีที่ศาลเจ้าพ่อแปดเหลี่ยม


การก่อสร้างวิหารและวัดพระเจ้าสะเลียมหวานขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ ตรงกับเดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๒ ค่ำ โดยการนำของท่านพระครูสังวรญาณ อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านโฮ่ง เป็นประธานก่อสร้าง และทำบุญฉลองเมื่อวันที่ ๖ ถึงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ถวายเป็นอนุสรณ์ในคราวครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ มีการฉลองวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ๗ วัน ๗ คืน จนถึงการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ของวัดจนสำเร็จ ปัจจุบันมีพระอธิการกิตติภูมิ สุมงฺคโล เป็นเจ้าอาวาส  


----------------------


(แหล่งที่มา : แผ่นพับประวัติพระเจ้าสะเลียมหวานและป้ายประวัติการสร้างวิหาร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน)


Rank: 8Rank: 8

IMG_0768.JPG



วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0774.JPG



พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0867.JPG



IMG_0770.JPG



วิหารพระบาทจำลอง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0797.JPG



IMG_0809.JPG



รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานภายใน วิหารพระบาทจำลอง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0830.JPG



สถูปอัฐิพระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ชาตะ พ.ศ.๒๔๕๗ มตะ พ.ศ.๒๕๔๕



IMG_0842.JPG



สถูปอัฐิพระปลัดจันทร์ กิตฺติโก วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ชาตะ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๑ มตะ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ อายุ ๓๙ ปี



Rank: 8Rank: 8

IMG_1171.JPG



IMG_0825.JPG



IMG_1044.jpg



ศาลาปฏิบัติธรรม วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_1036.JPG



IMG_1041.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน ศาลาปฏิบัติธรรม วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_1038.JPG



ภาพวาดและรูปภาพพระครูสังวรญาณ ภายใน ศาลาปฏิบัติธรรม วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน



IMG_0978.JPG



IMG_0985.JPG



หอไตร วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 18:40 , Processed in 0.085335 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.