แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 18489|ตอบ: 35
go

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_5073.1.JPG



วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

[รอยพระพุทธบาท , รอยตากผ้า , รอยบาตร , พระธาตุสี่ครูบา ,

รอยเท้าพระอรหันต์ , วัดพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)]

----------------------


(กำลังรอแก้ไขข้อมูล : กรกฎาคม 2567)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
        • วัดพระพุทธบาทตากผ้า. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.phrabat.com/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖)
        • นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.   

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0302.JPG



IMG_0307.JPG



หลอง (ยุ้ง) ข้าวล้านนาโบราณ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0285.JPG


IMG_0260.JPG


IMG_0277.JPG



กุฏิพระโสภณวชิรธรรม บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า คุณพ่ออินตา-คุณแม่กัลยา จันทร์ชาติ อุทิศแด่ พระโสภณวชิรธรรม เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๑


IMG_7121.JPG



คำสอนครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า


“จิตของเรานี้เป็นใหญ่อยู่ในตัวของเรา

เป็นสิ่งสำคัญ เป็นหัวหน้า

คนเรานี้ถ้าใจดี กายวาจาก็จะพลอยดีไปตามกัน

ถ้าจิตใจไม่ดี กายวาจาก็จะพลอยไม่ดีไปด้วย

จงจำไว้ว่า ใจเป็นสิ่งสำคัญ

ศีล สมาธิ ปัญญา จะตั้งอยู่มั่นก็ต้องอาศัย

มูลฐานอันสำคัญ คือ “จิต”



IMG_5315.JPG



สุภาษิตของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า


๑. เวลาทำบุญทำทานอะไรที่ไหนก็ดี อย่าโมโหอย่าทะเลาะเบาะแว้ง อย่าทำให้กิเลสเกิด ต้องให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ คือ ให้มีศรัทธาที่ประกอบด้วยความรู้ เรียกว่า “สัทธาญาณสัมปยุต” คือ มีความศรัทธาประกอบด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์จึงทาน


๒. ศีลหรือศีลกถา คนเราทั้งหลายจะเป็นดีมีคุณค่า จะสวยจะงาม ต้องมีศีล ถ้าขาดจากศีลแล้ว จะเป็นคนดีไม่ได้ จะมีคุณค่าไม่ได้ จะสวยจะงามไม่ได้ ต้องการสวยงาม ต้องมีศีล เราต้องการความดีความงาม ต้องการให้กายวาจาใจของเรามีคุณค่า


๓. ทุกๆ คน จึงควรทำคุณงามความดี ตลอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็ก ก็อย่าเกียจคร้านในการเรียนหนังสือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาด ความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อทำคุณงามความดีให้ยิ่งกว่าเด็กๆ และคนหนุ่มทั้งหลาย


๔. ควรคิดถึงนรกในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “นรกในใจ” ให้มาก อย่าให้บาปเกิดขึ้นในใจเราได้ ให้รักษาใจให้บริสุทธิ์ อย่าให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศล ก็มีทุคติคืออบาย เป็นที่ไปบังเกิดเที่ยงแท้แน่นอนไม่ต้องสงสัย


๕. เมื่อคนเราไม่รู้ไม่เข้าใจ ซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว ก็มีกิเลสเกิดขึ้น เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ก็ย่อมจะได้รับผลคือ วิบากกรรม


๖. มนุษย์เราทั้งหลายที่เกิดมาโลกนี้ ย่อมเป็นไปตามกรรม มีกรรมเป็นของตนทุกคน กรรม คือ การกระทำ ใครกระทำอย่างใด ก็ได้รับอย่างนั้น ผู้ทำย่อมได้รับและเสวยผลกรรมนั้น ใครจะหลีกเว้นหรือแบ่งปันคนอื่นไม่ได้


๗. กรรม แปลว่า “การกระทำ” จะร้ายจะดี จะสุขจะทุกข์ ย่อมเกิดมาแต่กรรม ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า “กมฺมุนา วฺตติโลโก” สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


๘. การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเราใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่า ที่ลับไม่มีในโลกนี้


๙. สาธุชนผู้ปรารถนาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ควรทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ด้วยคุณงามความดี ให้เป็นสวรรค์ดิบ คือ  “สวรรค์ในอก” เสียก่อน


๑๐. คำว่าบุญหรือปุญญะนี้ แปลว่า “ชำระ” คือ การชำระกาย วาจา ให้บริสุทธิ์ สะอาด ปุญญะหรือบูรณะ แปลว่า “เต็ม” คือ ใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณงามความดี ใจเต็มพร้อม และพร้อมที่จะทำให้เป็นประโยชน์โสตถิผลแก่ตนและเผื่อแผ่ให้แก่คนอื่น


๑๑. บุญนี้จะเกิดจะมีขึ้นได้ ต้องอาศัยวัตถุที่ตั้งเกิด และศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใส พร้อมความเพียร ปัญญาความรอบรู้เป็นทุนเดิม


๑๒. เมื่อได้ทำบุญแล้ว ก็อย่าได้ปรารถนาเอาโชคเอาลาภอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัณหา ผิดความประสงค์ในทางพระพุทธศาสนา ถ้าจะปรารถนา ก็จงปรารถนาแต่พระนิพพานสิ่งเดียวเท่านั้นแหละ จึงจะเป็นการดี


๑๓. ชีวิตนี้สั้นนัก ไม่มีอะไรแน่นอน จงเริ่มต้นทำความดี


๑๔. สละความฟุ่มเฟือยเสียบ้าง เพื่อสร้างอนาคต


๑๕. ตอนต้นสู้ทนทุกข์ จะได้สุขเมื่อตอนท้ายปลายมือ ฯฯ



IMG_0271.JPG



IMG_0278.JPG



การเดินทางมาวัดพระพุทธบาทตากผ้า ขอจบการเดินทางด้วยคำสอนและสุภาษิตของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) และภาพบรรยากาศวิวทิวทัศน์บนยอดดอยวัดพระพุทธบาทตากผ้า สวัสดีค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0293.JPG



IMG_0289.JPG



IMG_0290.JPG



IMG_0258.JPG



อนุสาวรีย์พระครูเวฬุวันพิทักษ์ (พระมหาเขื่อนคำ อตฺตสนฺโต) อายุ ๗๐ ปี พรรษา ๕๐ ประดิษฐานบนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0298.JPG



คำไหว้พระครูเวฬุวันพิทักษ์ (พระมหาเขื่อนคำ อัตตะสันโต)

อัตตะสันตะมะหาเถโร       นะวะกัมมาทิโกวิโท

ชะนะสังคะหะสังยุตโต      สิกขาคุณูปะการะโก

สาสะเนกิจจะสัมปันโน      อะหังวันทามิตังสะทาฯ



IMG_0369.JPG



IMG_0363.JPG



ศาลาระฆัง บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า คุณพิพัฒ-คุณรัตนา พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ สร้างถวาย ๑๒ กันยายน ๒๕๔๓


IMG_0365.JPG



ศาลากลอง บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า คุณพิพัฒ-คุณรัตนา พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ สร้างถวาย ๑๒ กันยายน ๒๕๔๓


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0345.JPG



IMG_0346.JPG



IMG_0347.JPG



IMG_0348.JPG



IMG_0349.JPG



IMG_0350.JPG



รูปภาพเก่า ภายใน ศาลาพระเจ้ากาวิละ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Picturekan-412.jpg



IMG_0377.JPG



ศาลาพระเจ้ากาวิละ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0324.JPG



ประวัติศาลาพระเจ้ากาวิละ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ศาลาพระเจ้ากาวิละ วัดพระพุทธบาทตากผ้า สร้าง พ.ศ.๒๕๔๐ พระครูเวฬุวันพิทักษ์ (ท่านมหาเขื่อนคำ) เป็นประธานริเริ่ม และออกแบบศาลาที่ประทับอนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละและพระอนุชาเจ้าบุญมา เพื่อเป็นที่ระลึกและประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้รับทราบ และเป็นที่สักการบูชารดน้ำดำหัวตามประเพณีสงกรานต์


ผู้มีจิตศรัทธาในการก่อสร้างครั้งนี้ มีเจ้าวงศ์ศักดิ์ ณ เชียงใหม่ คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน และญาติพี่น้องที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ากาวิละ นางโสภา เมืองกระจ่าง (นันทขว้าง) พร้อมญาติพี่น้องเพื่อนฝูง


ตระกูลนันทขว้าง ซึ่งต้นตระกูล คือ ท้าวขว้าง และ ท้าวนัน มาจากสิบสองปันนา เป็นทหารของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมรบกับพม่า ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๓๙ ตามคำบอกเล่าสืบกันมา


----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติศาลาพระเจ้ากาวิละ วัดพระพุทธบาทตากผ้า)



IMG_0326.JPG



ประวัติชาวยองในลำพูน


ชนชาติยอง มีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีสำเนียงคล้ายชาวลื้อ สิบสองปันนา และชาวเขิน เชียงตุง ที่เรียกว่า ชาวยอง เพราะอยู่ลุ่มน้ำยอง เรียกว่า เขิน หรือ ขืน เพราะอาศัยอยู่ลุ่มน้ำขืน ที่เรียกเต็มศัพท์ว่า ชาวไทยยอง หรือ ไตยอง เพราะเป็นชนชาติดั้งเดิมของชนชาติไทย ตามพงศาวดารโยนก อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เมืองเหนือ ได้เล่าว่า


เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๔๘ ปลายรัชกาลที่ ๑ ลำพูนหรือเมืองหริภุญชัย เป็นบ้านร้างเมืองร้างเป็นส่วนมาก มีผู้คนอยู่อาศัยน้อยเต็มที เนื่องจากถูกคุมคามด้วยไข้ทรพิษ ผู้คนได้อพยพไปอยู่ที่อื่นเสียเป็นส่วนมาก วัดวาอารามก็รกร้างว่างเปล่า พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ และได้กราบทูลว่า ปัจจุบันลำพูนเป็นบ้านร้างเมืองร้างมีผู้คนน้อยเต็มทีจะควรทำอย่างไรดี รัชกาลที่ ๑ ได้ตรัสถามว่า ผู้คนที่มีภาษาพูดพอฟังกันรู้เรื่องได้มีอยู่ไหม พระเจ้ากาวิละได้กราบทูลว่า มี รัชกาลที่ ๑ ทรงตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไปกวาดต้อนมา


พอพระเจ้ากาวิละกลับถึงเมืองเชียงใหม่ ก็ได้มีพระบัญชาให้ พระมหาอุปราชบุณทวงค์ (บุญมา) พระอนุชาให้ยกทัพไป สิ้นระยะทางเป็นเวลา ๑ เดือน กับ ๒ วัน พอใกล้จะถึงเมืองยอง ก็ได้ตั้งทัพอยู่นอกเมือง แล้วก็ได้ส่งพระราชสาส์นถึงเจ้าหลวงเมืองยองว่า บัดนี้เราพระมหาอุปราชแห่งนครเมืองเชียงใหม่ ได้รับบัญชาจากพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพมาถึงนอกเมืองนี้แล้ว จะทำการรบหรือจะยอมสวามิภักดิ์โดยดี


ส่วนเจ้าหลวงเมืองยอง คิดว่าเรามีน้อย ยอมเขาเสียเถิด จึงได้ตอบพระราชสาส์นไปว่า เมืองยองไม่ประสงค์จะทำการรบ ขอให้พระมหาอุปราชยกทัพเข้ามาในเมืองได้เลย เจ้าหลวงเมืองยองได้ถวายน้องสาวร่วมบิดาแต่ต่างมารดาให้เป็นหญิงบาทบริจาค ๑ คน ช้างแก้ว ๑ เชือก และม้าแก้ว ๑ ตัว พระมหาอุปราชพักอยู่ในเมืองยองนาน ๑ เดือน จึงได้เคลื่อนทัพไปตีเมืองยู้ เมืองหลวย
เมืองลวง เมืองวะ เชียงขาง ได้กวาดต้อนเอาผู้คนมา พอกลับมาถึงเมืองยอง ได้ประกาศว่า


บัดนี้เราจะนำเอาพวกท่านทั้งหลายไปอยู่เมืองลำพูน ถ้าใครไม่ไปให้โกนหัวเสีย ผู้คนเมืองยองกลัวจะได้มาเมืองลำพูนกัน ต่างพากันโกนหัวเสียเป็นส่วนมาก คงเหลือแต่เพียงเล็กน้อยที่สมัครใจมา ฝ่ายพระมหาอุปราชคิดว่า ถ้าเราเอาพวกไม่โกนหัวไป ก็จะได้พลเมืองน้อย จึงให้ประกาศใหม่ว่า “พวกไม่โกนหัวไม่เอา พวกนี้หัวแข็ง เราจะเอาคนหัวอ่อน ขี้กลัวนั้นแหละไป พวกนี้ว่าง่ายสอนง่าย” จึงได้พากลับมา ประมาณเดือนหนึ่งมาถึงเมืองลำพูน สมัยนั้นเรียกว่าสมัยเก็บผ้าใส่ซ้า เก็บข้าเข้าเมือง


พระเจ้ากาวิละได้นำผู้คนที่กวาดต้อนมาจากเมืองลวงไปอยู่ที่ดอยสะเก็ด เรียกว่า ลวงเหนือ ลวงใต้ จนถึงปัจจุบัน ส่วนคนเมืองยู้ก็ให้ไปอยู่ที่บ้านยู้ บ้านหลวย ในปัจจุบัน ส่วนคนเมืองยองให้อยู่กระจัดกระจายไปทั่วเมืองลำพูน พระเจ้ากาวิละคิดว่าเจ้าหลวงเมืองยองนี้ดี ยอมสวามิภักดิ์โดยดี จึงได้สร้างเวียงยองขึ้นที่ฝั่งแม่กวงด้านตะวันออกของเมืองลำพูนให้เจ้ายองอยู่ เจ้าก็ให้เป็นเจ้าเหมือนเดิม ปัจจุบันนี้ลำพูนมีประชากรประมาณสี่แสนห้าหมื่นคน เป็นชาวยองประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์

----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติชาวยองในลำพูน วัดพระพุทธบาทตากผ้า)



IMG_0330.JPG



IMG_0338.JPG



อนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละ และ พระมหาอุปราชบุณทวงค์ (บุญมา) (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายใน ศาลาพระเจ้ากาวิละ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0344.JPG



อนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละ ประดิษฐานภายใน ศาลาพระเจ้ากาวิละ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0343.JPG



อนุสาวรีย์พระมหาอุปราชบุณทวงค์ (บุญมา) ประดิษฐานภายใน ศาลาพระเจ้ากาวิละ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Picturekan-427.jpg



ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0524.JPG



พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0513.JPG



IMG_0515.JPG



รูปเหมือนครูบา ๘ องค์ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0516.JPG



รูปเหมือนครูบาศรี อริยวํโส วัดป่าบุก อัฐิกลายเป็นธาตุ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0517.JPG



รูปเหมือนครูบาอ้าย อินทปัญญา วัดสะปุ๋งน้อย อัฐิกลายเป็นธาตุ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0518.JPG



รูปเหมือนพระครูพุทธิวงศ์ธาดา เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง วัดฉางข้าวน้อยเหนือ อัฐิกลายเป็นธาตุ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0519.JPG



รูปเหมือนครูบาแสน วัดหนองเงือก ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0520.JPG



รูปเหมือนครูบาปวน ญาวีโร วัดช้างค้ำ พระผู้มีมนต์คลัง ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0521.JPG



รูปเหมือนครูบาขัตติยะ วัดป่าเหียง อาจารย์ของครูบาทั้ง ๓ องค์ คือ ครูบาอินทจักร ครูบาพรหมจักร ครูบาคัมภีระ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0522.JPG



รูปเหมือนครูบาหวัน มหาวโน พระอุปัชฌาย์ วัดป่าเหียง ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0523.JPG



รูปเหมือนครูบาพ่อเป็ง โพธิโก วัดป่าหนองเจดีย์ (ปัจจุบันเรียกว่า วัดนครเจดีย์) บิดาของครูบา ๓ องค์ คือ ครูบาอินทจักร ครูบาพรหมจักร ครูบาคัมภีระ ประดิษฐานภายใน ศาลาบาตร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0422.JPG



IMG_0425.JPG



วิหารยงใจยุทธ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า พระพุทธรูปและวิหารหลังนี้ สร้างโดย พลเอกชวลิต-คุณหญิงพันธ์เครือ ยงใจยุทธ ถวายเมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๙


IMG_0427.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน วิหารยงใจยุทธ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0501.JPG



วิหารพระพุทธจุฬารัตน์ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0506.JPG



Picturekan-439.jpg



พระพุทธจุฬารัตน์ และ รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธจุฬารัตน์ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0357.JPG



วิหารพระสุพรหมยานเถระ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า นายพิเชษฐ-นางอำภา รุ่งนพคุณศรี สร้างถวายเมื่อ ๒๕๔๑


IMG_0379.JPG



รูปเหมือนพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) ประดิษฐานภายใน วิหารพระสุพรหมยานเถระ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0381.JPG



รูปภาพพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) ประดิษฐานภายใน วิหารพระสุพรหมยานเถระ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0396.JPG


IMG_0401.JPG



ศาลาพระเจ้าทันใจ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0406.JPG


IMG_0411.JPG



ศาลาพระพุทธรูปและพระสังกัจจายน์ บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0410.JPG



กู่อัฐิปู่น้อย-พ่อหลวงหนานคำ-แม่หลวง  เซ็นนันท์ ย้ายจากฉางข้าวน้อยใต้ (วัดป่ายาง) นำขึ้นมาบรรจุ ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า วันอังคารที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Picturekan-454.jpg


IMG_0360.JPG


IMG_0564.JPG



IMG_0562.JPG



พระวิหาร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0537.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน พระวิหาร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0542.JPG



รูปเหมือนพระครูเวฬุวันพิทักษ์ (พระมหาเขื่อนคำ อตฺตสนฺโต) ประดิษฐานภายใน พระวิหาร บนยอดดอย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 06:38 , Processed in 0.086240 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.