แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0449.JPG



IMG_0451.JPG



รูปภาพท่านครูบาสี่องค์พ่อลูก ถ่ายพร้อมกัน ณ วัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ภายใน องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


๑. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) วัดพระธาตุดอยน้อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อายุ ๔๒ ปี พรรษา ๒๒


๒. พระสุพรหมยานเถระ (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุ ๔๔ ปี พรรษา ๒๔


๓. พระสุธรรมยานเถระ (น้อย อินฺทจกฺโก) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ อายุ ๔๖ ปี พรรษา ๒๖


๔. ครูบาพ่อเป็ง โพธิโก วัดป่าหนองเจดีย์ (ปัจจุบันเรียกว่า วัดนครเจดีย์) อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๑๘



IMG_0467.JPG



รูปเหมือนพระครูเวฬุวันพิทักษ์ (พระมหาเขื่อนคำ อตฺตสนฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า อายุ ๖๔ ปี พรรษา ๔๔ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ประดิษฐานภายใน องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0483.JPG



IMG_0488.JPG



IMG_0485.JPG



ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายใน องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0402.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0469.JPG



IMG_0454.JPG



สถูป ภายใน องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0478.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์องค์เล็ก ประดิษฐานภายใน สถูป องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า สร้างตามแบบเจดีย์พระเจ้าล้านทอง จ.ลำปาง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้รวบรวมไว้



IMG_0463.JPG



รูปเหมือนครูบาพ่อเป็ง โพธิโก วัดป่าหนองเจดีย์ (ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดนครเจดีย์) อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ประดิษฐานภายใน สถูป องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0474.JPG



รูปเหมือนพระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทจักรรักษา) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ประดิษฐานภายใน สถูป องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0458.JPG



รูปเหมือนพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก หรือครูบาพรหมจักร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ประดิษฐานภายใน สถูป องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_0456.JPG



รูปเหมือนพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ) วัดพระธาตุดอยน้อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ประดิษฐานภายใน สถูป องค์พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0313.JPG


IMG_0569.JPG



IMG_0352.JPG



IMG_0320.JPG


IMG_0374.JPG



IMG_0389.JPG


IMG_0420.JPG



IMG_0444.JPG



พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ครูบาเจ้าศรีวิชัย ดำริที่จะสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยเครือ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่ท่านได้มรณภาพเสียก่อน คณะศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงได้ดำเนินการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นตามแบบพระธาตุหริภุญชัย


IMG_0462.JPG



คำไหว้พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า

(กล่าวนะโม ๓ จบ) อะหัง ภันเต สิระสา นะมามิ อิมิสสัง เจติยัง ปะติฏฐิเต สารีริกะธาตุโย อะระหันตะธาตุโย จัตตาโร จะ มะหาเถรา อินทะจักกัญจะ มะหาเถรัง พรัหมจักกัญจะ มหาเถรัง คัมภีรัญจะ มหาเถรัง โพธิกัญจะ มหาเถรันติ วันทิตวา จะ ปะนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ


คำแปล ข้าพเจ้าขอนอบน้อมไหว้ ด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุเจ้า พระอรหันตะธาตุเจ้าทั้งหลาย และพระมหาเถระทั้งสี่รูป คือครูบาเจ้า อินทจักรรักษามหาเถระ ครูบาเจ้าพรหมจักรมหาเถระ ครูบาเจ้าคัมภีรญาณมหาเถระ พระครูบาพ่อเป็ง โพธิโกมหาเถระ อันประดิษฐานอยู่ ณ พระเจดีย์นี้ ก็แล ครั้นไหว้แล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเทอญฯ



IMG_0316.JPG



IMG_0486.JPG



ประวัติพระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นเจดีย์สีทอง องค์ระฆังเล็ก ฐานกว้าง ๒๐ เมตร สูง ๓๔ เมตร รายล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กอีก ๑๗ องค์ ฐานทาสีทอง องค์ระฆังและปลียอดหุ้มทองจังโก ซุ้มจระนำเป็นทางเข้าสี่ทิศ ประดับลวดลายปูนปั้นรูปหงส์ นาค ซุ้มประตูทำแบบวัดพระธาตุลำปางหลวง บานประตูทางเข้า เป็นไม้แกะสลักลวดลายป่าหิมพานต์


สร้างเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๘ โดยครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา มีนายโต๊ะโนะ ชาวกะเหรี่ยง เป็นช่างผู้ก่อสร้าง ภายในบรรจุพระเครื่อง ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเจิมแผ่นหิน เพื่อบรรจุในเจดีย์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯแทนพระองค์ ทรงยกฉัตรพระเจดีย์ และทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์สี่ครูบา เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6863.JPG



พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ประดิษฐานบนยอดดอยเครือ ซึ่งเป็นดอยที่ตั้งอยู่ด้านหลังวัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0239.JPG



IMG_0242.JPG



IMG_0270.JPG



ทางขึ้นพระธาตุสี่ครูบาโดยรถยนต์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ขับรถอ้อมผ่านหน้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า ทางด้านขวาตัดขึ้นไปบนดอย ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร


IMG_0438.JPG


IMG_0429.JPG



บันไดทางขึ้นพระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า เดินขึ้นบันไดด้านหลังวัดพระพุทธบาทตากผ้า มีบันได ๔๖๙ ขั้น


Picturekan-466.jpg


IMG_0431.JPG


IMG_0434.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์และเสือ ประดับบันไดทางลง พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0287.JPG



IMG_0299.JPG



ทางเดินและบันไดนาคทางขึ้น พระธาตุสี่ครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า คุณสมนึก-คุณละไม ศรีศักดา กทม. สร้างถวายเมื่อ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5456.JPG



IMG_6720.JPG



ศาลาพระประจำวัน วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7106.JPG



สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม จังหวัดลำพูน FM.106 MHz วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7086.JPG



รูปปั้นวัฏจักรแห่งชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7162.JPG



IMG_7171.JPG


IMG_7172.JPG



ลานธรรมสังเวช (เมรุครูบา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ต้นศรีมหาโพธิ์ ได้ยืนตะหง่านทอดกิ่งก้านสาขาบนลานพระราชทานเพลิงศพของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) บริเวณหน้าวัด ซึ่งนับว่าเป็นลานธรรมสังเวชที่สรีระสังขารของท่านครูบาปรากฏเป็นครั้งสุดท้าย และ ณ ลานธรรมสังเวชนี้เช่นกัน ที่ได้ทำให้พระเพลิงมลายสรีระสังขารของท่านครูบา กลับคืนสู่ธรรมชาติตามกฎไตรลักษณ์


IMG_7185.JPG



ประวัติลานธรรมสังเวช (เมรุครูบา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ลานธรรมสังเวช เป็นสถานที่ประดิษฐานสรีระสังขารของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ครั้งสุดท้าย เพื่อพระราชทานเพลิงศพ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า

เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้างยาว ๒๑ เมตร มีความสูงของฐาน ๑.๐๙ เมตร พื้นปูด้วยแผ่นศิลาแลง ขนาด ๐.๔๐ x ๐.๔๐ เมตร ตั้งใบเสมาที่ทำด้วยศิลาแลงโดยรอบ ใช้เป็นราวกันตก จำนวน ๙๖ ใบ ซึ่งใบเสมาแต่ละใบ มีขนาดกว้าง ๐.๗๐ เมตร สูง ๐.๗๙ เมตร หนา ๐.๑๐ เมตร ตรงมุมได้ตั้งเสาที่ทำด้วยศิลาแลง ขนาด ๐.๒๕ x ๐.๒๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร บนหัวเสาแกะเป็นหัวเม็ดคล้ายดอกบัวตูม ทำด้วยศิลาแลงเช่นกัน ทำบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ราวบันได ทำเป็นพญานาค ๒ ข้าง อย่างสวยงาม

กลางลาน ใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเพื่อตั้งปราสาท มีขนาดความกว้าง ๓.๒๑ เมตร ยาว ๓.๓๒ เมตร สูง ๐.๖๕ เมตร ภายหลังเมื่อพระราชทานเพลิงเสร็จแล้วไม่นาน ได้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ลงบนฐานกลางลาน หน้าต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้านทิศตะวันออก ได้ประดิษฐานรูปหล่อท่านครูบา ทำด้วยทองเหลือง มีขนาดความสูง ๑.๕๙ เมตร เบื้องบนกั้นด้วยฉัตรทองเหลือง มีโต๊ะตั้งเครื่องบูชาด้านหน้าด้วย

ต้นศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ ได้เจริญเติบโตสูงเกือบ ๑๐ เมตร เป็นต้นไม้ที่เมื่อไปยืนดูครั้งใด ก็ทำให้อนุสรณ์ถึงการจากไปของท่านครูบา เกิดธรรมสังเวช ให้เห็นถึงความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต


IMG_7175.JPG



IMG_7180.JPG



รูปหล่อครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ลานธรรมสังเวช (เมรุครูบา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7134.JPG



วิหารพระพุทธรูป มณฑปครอบรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก และ พรหมวิหาร (เรียงจากซ้าย-ขวา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7135.JPG



พระพุทธรูป และ รูปเหมือนครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธรูป วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7136.JPG



มณฑปครอบรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร)
วัดพระพุทธบาทตากผ้า มณฑปนี้ คุณพรหมวิชิต-คุณนงลักษณ์ สุจิรพงศ์สิน พร้อมครอบครัว สร้างถวายแก่วัดเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒


080.jpg


รอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า



079.jpg


IMG_7139.JPG


IMG_7144.JPG



IMG_7141.JPG



รอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร)
วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นรอยเท้ามีขนาดเท่ารอยเท้าจริงของท่านครูบา กว้างประมาณ ๙ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ได้ปรากฏรอยเท้าของท่านอยู่บนแผ่นหินบริเวณที่เดินจงกรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิบำเพ็ญกรรมฐาน และเดินจงกรมของท่านครูบา


IMG_7137.JPG



ประวัติรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า


วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นวัดที่จัดให้มีกิจกรรมหลายอย่างในรอบปีหนึ่งๆ งานทำบุญวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของท่านครูบา วันที่ ๓๐ สิงหาคม ของทุกปี ก็เป็นงานบุญอย่างหนึ่งที่ญาติโยมคณะศิษยานุศิษย์ทุกรูปทุกคนตั้งใจรอคอย เพราะว่าเป็นงานที่แสดงถึงความเคารพนับถือความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อท่านครูบา


เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ก่อนที่จะถึงวันเกิดของท่านครูบา ญาติโยมและคณะศิษยานุศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกัน เพื่อเตรียมการจัดงานทำบุญวันคล้ายวันเกิดของท่านครูบาเหมือนทุกปี ในที่ประชุมก็ปรารภว่า ปีนี้ขอจัดงานทำบุญวันคล้ายวันเกิดของท่านครูบาให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆ ปี จะนิมนต์พระสงฆ์จากที่ต่างๆ ให้มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เมื่อปรึกษาหารือเป็นการยุติแล้ว จึงได้ไปกราบเรียนครูบาตามที่ได้ปรึกษาหารือกันไว้แล้วนั้น

ท่านครูบาได้กล่าวเพียงว่า "ปีนี้ขอจัดงานวันเกิดเป็นกรณีพิเศษ" ทุกฝ่ายที่ได้รับฟังรู้สึกดีใจกันทุกรูปทุกคนว่า ท่านครูบาจะได้จัดงานทำบุญในปีนี้อย่างยิ่งใหญ่ จัดเป็นพิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมาตามที่ได้กราบเรียนท่านไว้แล้ว แต่ท่านครูบาได้บอกว่า "ปีนี้ไม่ต้องจัดอะไรทั้งนั้น จะขอเข้าปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๗ วัน ขอสามเณรมาอุปัฏฐากดูแลก็พอแล้ว" เป็นอันว่าปีนี้ไม่ได้จัดงานอะไรที่เป็นการทำบุญเหมือนเช่นทุกปี เพียงแต่ท่านครูบาได้เข้าปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๗ วัน ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ส่วนญาติโยมและคณะศิษยานุศิษย์ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานในวันคล้ายวันเกิดถวายท่านครูบาเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา

การปฏิบัติธรรมของท่านครูบาผ่านไป ๗ วัน ปกติท่านครูบาจะฉันภัตตาหารมื้อเดียว มีสามเณรจัดภัตตาหารไปถวายทุกวัน แต่ว่าอาหารที่จัดไว้นั้นไม่พร่องลงไปแม้แต่น้อย อันแสดงถึงว่าท่านครูบามิได้ฉันอะไรเลยตลอดระยะเวลา ๗ วัน ที่เข้าปฏิบัติกัมมัฏฐาน เมื่อครบ ๗ วันแล้ว ท่านครูบาได้ออกจากกัมมัฏฐาน ในเวลาตะวันบ่ายคล้อยแล้ว ท่านบอกลูกศิษย์ที่เฝ้าอุปัฏฐากว่ารู้สึกหิว ขอน้ำดื่มสักหน่อย พอค่อยมีแรงบ้างแล้ว ท่านก็บอกลูกศิษย์ที่เฝ้าอุปัฏฐากอยู่หลายรูปว่า "ให้มาดูรอยเท้าที่ปรากฏนี้"

ลูกศิษย์ก็สงสัยทำไมอยู่ๆ รอยเท้าก็ปรากฏอยู่บนศิลาแลงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้ขอร้องให้ท่านครูบาทาบเท้าของท่านลงบนรอยเท้านั้น ปรากฏว่าพอดีกับรอยเท้าของท่านครูบา ลูกศิษย์จึงเข้าใจว่า ๗ วัน ของการเข้ากัมมัฏฐาน เป็นความตั้งใจมั่นของท่านครูบา อธิษฐานประทับรอยเท้าลงบนศิลาแลง เพื่อให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลัง

จึงกราบเรียนถามท่านครูบาว่า เป็นรอยเท้าของท่านครูบาที่ได้เหยียบและอธิษฐานไว้หรือ? ท่านครูบาก็ไม่ได้พูดอะไร ได้แต่ยิ้มเล็กน้อย เป็นอันเข้าใจว่า เป็นรอยเท้าที่ท่านครูบาได้ประทับไว้ในคราวที่เข้ากัมมัฏฐาน เนื่องในวันเกิดประจำปีนี้ (พ.ศ.๒๕๑๘)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7107.JPG



กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า


074.jpg



IMG_7112.JPG



กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า กุฏิหลังนี้เคยเป็นที่พักของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก มานานหลายปี ก่อนจะย้ายไปพักที่กุฏิไม้หลังใหม่ เนื่องจากถูกปล่อยร้างไว้ ภายหลังจึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซม และทำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งแกะสลักจากไม้ตะเคียนทอง อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี


077.jpg


IMG_7111.JPG



หลวงพ่อตะเคียนทอง หรือ สมเด็จพระพุทธสิทธิเทพมุนีศรีบุญฤทธิ์ ประดิษฐานภายใน กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า
พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างจากไม้ตะเคียนทอง อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี บูชาด้วยน้ำมันจันทร์ น้ำมันหอม ดอกไม้หอม ดอกไม้มงคลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว


076.jpg



ประวัติหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า


หลวงพ่อตะเคียนทอง หรือ สมเด็จพระพุทธสิทธิเทพมุนีศรีบุญฤทธิ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทองที่มีอายุนับพันปี หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๙๐ เมตร เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สร้างเสร็จเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ หลวงพ่อตะเคียนทององค์นี้ มีพุทธลักษณะที่พิเศษกว่าองค์อื่นๆ ที่สร้างจากไม้ตะเคียนทองต้นเดียวกัน คือ มีตาไม้ตรงกับพระเนตรทั้ง ๒ ข้างขององค์พระ เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง มีพุทธลักษณะสง่างาม

ไม้ตะเคียนทองต้นนี้ มีอายุนับพันปี ชาวบ้านเล่าว่า เคยถูกฟ้าผ่า และถูกไฟเผามาแล้ว ยืนต้นอยู่ที่ใกล้วัดน้ำอินทร์ อ.ลอง จ.แพร่ คราวหนึ่งได้มีพระธุดงค์ได้พบคุณสิทธิ ศิลปวานิช และได้เล่าเรื่องไม้ตะเคียนทองต้นนี้ให้ฟัง และแนะนำว่าควรที่จะนำมาแกะเป็นพระ ปกติคุณสิทธิเป็นผู้ที่สร้างพระที่หล่อด้วยทองเหลือง เพราะทำง่ายและใช้เวลาไม่นานนัก แต่พอได้รับคำแนะนำจากพระธุดงค์ จึงมีความสนใจ และได้เดินทางไปดูต้นตะเคียนทองดังกล่าว

ครั้งแรก ได้ทำการบวงสรวงอธิษฐานขอให้ได้สำเร็จดังประสงค์ ได้บอกแก่ชาวบ้านว่า จะนำมาสร้างเป็นพระพุทธรูปไม้ตะเคียนทอง แต่การเจรจาไม่ตกลงกัน ครั้งที่ ๒ ได้ทำการบวงสรวงอีก และได้ไปเจรจากับชาวบ้าน เป็นอันตกลงว่าให้ทำบุญกับทางวัด เพื่อนำปัจจัยไปสร้างศาลา จึงจะสามารถนำไม้ตะเคียนทองไปได้ เป็นอันว่าได้ไม้ตะเคียนทองมาสมความปรารถนา ก่อนนำขึ้นรถ เพื่อนำไปแกะสลักเป็นองค์พระที่จังหวัดลำพูน ก็ได้บวงสรวงอีกครั้งหนึ่ง การขนย้ายไม่ได้มีอุปสรรคแต่ประการใด

ต้นแบบการสร้างองค์พระ พุทธลักษณะขององค์พระได้ผสมผสานจากต้นแบบพระพุทธรูปหลายแห่งด้วยกัน คือ เศียรและพระพักตร์ได้แบบมาจากเศียรของพระเก่า สมัยสุโขทัย ลักษณะลำตัวขององค์พระ ได้แบบมาจากพระสุโขทัยไตรมิตร นิ้วพระบาท ได้แบบมาจากหลวงพ่อเป่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสุโขทัย นอกนั้นช่างได้ออกแบบเพิ่มเติม

เริ่มแรกได้ทำการแกะเป็นองค์พระจำลองก่อน แต่ก็ไม่ได้พุทธลักษณะ การสร้างองค์พระจำลองก็ไม่สำเร็จ ใช้ไม่ได้ ทำให้ช่างเกิดความไม่มั่นใจ คุณสิทธิจึงได้ทำพิธีบวงสรวงอีกครั้ง และถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ ๖๕๐ รูป และได้เริ่มทำการแกะองค์พระใหม่ ด้วยความมุ่งมั่นและความอุตสาหะของช่าง จึงทำให้การแกะสลักสำเร็จลงได้อย่างสวยงามถึง ๙ องค์ ใช้เวลาถึง ๑ ปีเต็ม เมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดศิริเขต จังหวัดสุโขทัย และภายหลังได้มีผู้มาอัญเชิญไปประดิษฐานตามวัดต่างๆ ๙ แห่ง หนึ่งในนั้นคือ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน แห่งนี้

สำหรับผู้ที่ไม่ได้องค์พระ เพราะจำนวนจำกัด คุณสิทธิจึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างเป็น หลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อพุทธโสธร และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งทั้ง ๔ องค์ มีขนาดเล็กกว่า และได้ทำเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก มีทั้งพระยืนและพระนั่งสมาธิ หน้าตักกว้าง ๙ นิ้วบ้าง ๕ นิ้วบ้าง ได้ถวายไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก



IMG_7129.JPG



เดี๋ยวเราเดินไปกราบนมัสการรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ซึ่งอยู่ด้านหลังวัดพระพุทธบาทตากผ้า กันต่อเลยนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

075.jpg



กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7114.JPG



กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า เดิมนั้นเป็นกุฏิที่พักของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของท่านครูบาพรหมา และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงพระธาตุของพระสาวกของพระพุทธเจ้า


IMG_7119.JPG


IMG_7123.JPG


IMG_7118.JPG



รูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน
กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


071.jpg



ประวัติหุ่นขี้ผึ้งครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า


หุ่นขี้ผึ้งของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นหุ่นที่ปั้นเท่าองค์จริง ประดิษฐานไว้กลางกุฏิไม้สักหลังใหม่ แต่เดิมเป็นอาคารที่คณะศิษย์ได้สร้างถวายท่านครูบา เพื่อใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส ท่านครูบาจะพักอยู่ห้องเล็กๆ ทางด้านหลัง และด้านหน้าเป็นที่รับแขกที่ไปขอเข้าพบ เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลง คณะศิษย์จึงได้สร้างรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งเท่าองค์จริงท่านครูบาตั้งไว้แทน

ความคุ้นเคยที่พบเห็นเป็นประจำก็คือว่า ผู้ที่มุ่งมาสู่วัดพระพุทธบาทตากผ้านั้น มาเพื่อกราบนมัสการปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ ขอเข้าปฏิบัติกรรมฐาน และเพื่อศึกษาเล่าเรียน สิ่งหนึ่งที่เป็นความตั้งใจก็คือ การได้มาพบและสนทนาธรรมกับท่านครูบา ปกติแล้วท่านครูบาจะมารับแขกที่ด้านหน้ากุฏิ บางครั้งท่านรับแขกตั้งแต่เช้าถึงเย็น จะขอโอกาสก็เฉพาะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวัน ก็คือการปฏิบัติธรรมด้านหน้ากุฏิใต้ต้นบุนนาค เวลาทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น บางครั้งท่านครูบารับแขกตลอดวัน ญาติโยมมาขอเข้าพบติดๆ กัน ท่านครูบาเกิดอาการเมื่อยล้าตามอายุสังขาร แต่ก็ต้องใช้ความอดทน เพราะท่านครูบาเห็นว่ากว่าญาติโยมจะมาถึงวัดพระพุทธบาทตากผ้าก็แสนลำบาก เมื่อตั้งใจมาแล้วก็สมควรจะได้พบและได้รับฟังโอวาทคำสอนเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมกัมมัฏฐาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าพบ

บางครั้งท่านครูบารับแขกถึงกับจะเป็นลมก็มี แต่ก็ต้องใช้ความอดทนเพื่อรักษาศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านครูบาเห็นว่าญาติโยมที่มาเยี่ยมวัดจะต้องจัดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลงแล้ว ความคุ้นเคยที่ว่ากุฏิไม้สักแห่งนี้ เป็นที่เคยรับแขกเป็นประจำของท่านครูบา แม้เมื่อท่านครูบาจากไปแล้ว คณะศิษย์และญาติโยมก็ยังเวียนไปที่กุฏิไม้สักนี้มิได้ขาด ทำเสมือนว่าท่านครูบายังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุนี้ คณะศิษย์จึงได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งเท่าองค์จริงขึ้นเมื่อ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ นำมาตั้งประดิษฐานไว้ด้านหน้ากุฏิ ตรงที่ท่านครูบาเคยนั่งรับแขกเป็นประจำ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

073.jpg


IMG_7103.JPG



ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นต้นไม้คู่บารมีของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ใต้ต้นไม้นี้ท่านครูบาเจ้าได้เคยนั่งปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกรรมฐาน สั่งสอนธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย


IMG_7108.JPG



ประวัติต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นสถานที่สำหรับนั่งประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก และพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ภายในวัด เป็นประจำทุกวัน เวลา ๐๔.๐๐ น. และประมาณเวลา ๑๒.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. ซึ่งท่านครูบาใช้ลานบุนนาคนี้ เป็นที่สอนกรรมฐานแก่พระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันถึงแม้ท่านครูบาได้มรณภาพไปแล้ว ลานบุนนาคนี้ก็ยังคงใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ภายในวัด เป็นประจำทุกวันเหมือนเช่นเคย

บุนนาคต้นนี้ เป็นต้นไม้ที่เป็นประหนึ่งว่ามีชีวิตจิตใจ เพราะแม้ว่าพื้นดินของวัดพระพุทธบาทตากผ้า จะเป็นหินศิลาแลงเป็นส่วนมาก หาที่เป็นดินที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้นั้นมีน้อย ยิ่งลานปฏิบัติธรรม สถานที่ปลูกต้นบุนนาค ก็ยิ่งมีหินศิลาแลงปรากฏอยู่โดยทั่วไป ยิ่งไม่น่าเชื่อว่า บุนนาคต้นนี้จะสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ และสามารถชูกิ่งก้านสาขาไปโดยรอบ ให้ความร่มเย็นแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ตามที่ท่านครูบาได้ตั้งใจไว้จนถึงปัจจุบัน

บุนนาคนี้ เป็นต้นไม้มงคลเพียงต้นเดียวที่มีความสำคัญยิ่งต่อท่านครูบา อาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นไม้คู่บารมีของท่านครูบามาตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่ท่านครูบาได้รับอาราธนาจากคณะสงฆ์และศรัทธาญาติโยมมาประจำอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า ท่านครูบาได้อธิษฐานปลูกไว้หน้ากุฏิที่พักอาศัย เมื่อแรกเริ่มมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า จุดมุ่งหมายที่สำคัญก็เพื่อให้ความร่มเย็นป้องกันความร้อนให้แก่ผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีความร่มรื่นเย็นสบาย มีความสัปปายะทั้งกลางวันและกลางคืน และได้ทำหน้าที่ปกป้องพระภิกษุ สามเณร ศรัทธาญาติโยมผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรม ได้รับความสะดวกสบายร่มเย็นเป็นสุขตลอดระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี

ต้นบุนนาคที่ปลูกไว้ก็เจริญเติบโตทอดกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวสดงดงาม ออกดอกถูกต้องตามฤดูกาล และได้เหี่ยวเฉาลงกะทันหันอย่างน่าใจหาย เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลง ประหนึ่งว่าจะเหี่ยวเฉายืนต้นตายตามท่านครูบาไป พระภิกษุสามเณรและญาติโยม ได้ช่วยกันดูแลรักษาเป็นอย่างดี ได้ตั้งใจอธิษฐานให้สามารถฟื้นกลับมาเขียวขจีเหมือนอย่างเดิม อาจกล่าวได้ว่า บุนนาคต้นนี้ เป็นต้นไม้ที่ทำให้เกิดการอนุสรณ์ถึงท่านครูบา เป็นทั้งสัญลักษณ์และจุดรวมใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมของคณะศิษยานุศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมสาธุชนทั่วไป เมื่อเดินผ่านทุกครั้ง มีความรู้สึกว่าท่านครูบายังคงนั่งปฏิบัติธรรมภายใต้ต้นไม้ต้นนี้อยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดแรงศรัทธาปสาทะ เพื่อดำเนินรอยตามปฏิปทาของท่านครูบา


IMG_7104.JPG


IMG_7105.JPG



รูปเหมือนครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานใต้ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 04:33 , Processed in 0.073460 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.