แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 17924|ตอบ: 23
go

ภาพพระปฐมสมโพธิ์ พุทธประวัติ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

ภาพพระปฐมสมโพธิ์ พุทธประวัติ




ภาพพระพุทธประวัตินี้ เป็นผลงานของครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอกของไทย ซึ่งเขียนภาพพระพุทธประวัติขึ้นตามพระราชดำริของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยาวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพน เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม และได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่ศึกษานิธิ วัดพระเชตุพนจัดพิมพ์จำหน่าย ทั้งชุดมีทั้งหมด ๘๐ ภาพ โดยคัดเลือกเอาเหตุการณ์สำคัญๆ ของพระพุทธประวัติ จากหนังสือปฐมสมโพธิกถาพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๗ ผู้เป็นรัตนกวีของชาติ

สมุดภาพพระพุทธประวัตินี้เป็นที่นิยมอย่างมาก เคยตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของผู้จัดทำ ที่มุ่งหวังจะให้สมุดภาพชุดนี้เป็นประโยชน์ในการศึกษาพระพุทธประวัติเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจ


ที่มา http://www.soonphra.com/topic/bhudda/001.html

เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์สวรรคตแล้ว เสด็จไปอุบัติเป็นสันติสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อก่อนพุทธกาลเล็กน้อย เทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้ามาประชุมปรึกษากันว่า ใครจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต่างก็เล็งว่าพระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในชั้นดุสิตจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพากันไปทูลเชิญให้จุติลงมา โปรดสัตวโลก เพื่อให้สมกับพระปณิธานที่ตั้งไว้ว่า ทรงบำเพ็ญบารมีมาในชาติใดๆ ก็มิได้ทรงมุ่งหวังสมบัติ อันใด นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้า


ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมอันเป็นองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการอันได้แก่


๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ ความอดทนสูงสุด
๒. พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความพากเพียรสูงสุด
๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตาสูงสุด
๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์
๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความมีปัญญาสูงสุด
๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด
๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดกลั้นสูงสุด
๘. พระนารทพรหม ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การมีอุเบกขาสูงสุด
๙. พระวิธูรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญสัจจาบารมี คือ ความมีสัจจะสูงสุด
๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การรู้จักให้ทานสูงสุด




ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 1

สาธุ อนุโมทนามิ ขอข้าพเจ้าได้เข้าถึงธรรมของพระพุทธองค์โดยง่าย โดยสะดวก โดยเบา ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ กุศลทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคตนี้ ขอนำส่งให้ข้าพเจ้าถึงพระนิพพานดังปราถนา ขอคำว่าไม่มีอย่าพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้คล่องตัวทุกประการ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน กุศลทั้งหมดให้หนุนส่งตั้งแต่บัดนี้ ขอท่านปู่พระยายมราชโปรดเป็นพยาน สาธุ


   

Rank: 1

จะมาต่ออีกไหมนี่ รออ่าน

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๒๒
เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาสโดยสำคัญว่าเป็นเทวดา

นับตั้งแต่พระมหาบุรุษเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นเวลาย่างเข้าปีที่ ๖ ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕ ปี สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ของที่นางถวายคือข้าวมธุปายาส คือข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ ไม่ปนเนื้อ ไม่เจือปลา ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ

ปฐมสมโพธิเล่าว่า นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกันและได้ลูกที่มีบุญ เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน ก่อนถึงวันหุง นางสุชาดาสั่งคนงานให้ไล่ต้องฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ ให้แม่โคกินชะเอมเครือ กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา แล้วแบ่งคัดแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ ละ ๕๐๐ ตัว แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทิ้ง ๘ มาหุงข้าวมธุปายาส

หุงเสร็จแล้ว นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้รุกเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏนั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทราพร้อมกับนางทาสี ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระมหาบุรุษทรงรับแล้วทอดพระเนตรดูนาง นางทราบพระอาการกิริยาว่าพระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้องทั้งถาดนั้น

ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้ แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี และด้วยความสำคัญหมายว่า พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๒๑
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฏิบัติพระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา

ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา กุล่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือคณะปัญวัคคีย์ มี ๕ คนด้วยกัน คือ โกณฑัญญ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมดตามเสด็จพระมหาบุรุษออกมาเพื่อเฝ้าอุปัฏฐาก ส่วนผู้ที่ถือพิณอยู่บนอากาศนั้นคือ พระอินทร์

คนหัวหน้าคือโกณทัญญะ เป็นคนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน ที่เคยทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ตอนนั้นยังหนุ่ม แต่ตอนนี้แก่มากแล้ว อีก ๔ คน เป็นลูกของพราหมณ์ ที่เหลือ คือ ในจำนวนพราหมณ์๗ คนนั้น

ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดาจนถึงขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด ปางตาย คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจเข้าออกและอดอาหาร

พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ จนถึงงดเสวยเลยแทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง

ทรงทดลองดูแล้วก็ทรงประจักษ์ความจริง ความจริงที่ว่านี้ กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด สายที่สองหย่อนเกินไปดีดไม่ดัง สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง เพราะ

พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม (มัชฌิมาปฏิทา) ดังออกมาเป็นความว่าไม้สดแช่อยู่ในน้ำ ทำอย่างไรก็สีให้เกิดเป็นไฟไม่ได้ ถึงอยู่บนบก แต่ยังสด ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ส่วนไม้แห้งและอยู่บนบกจึงสีให้เกิดไฟได้อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว แต่ใจยังสดด้วยกิเลสอย่างที่สามเหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวแห้งจากกิเลส

พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นความเพียรทางกาย แล้วเริ่มกลับเสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ

พวกปัญจวัคคีย์ทราบเข้าก็เกิดเสื่อมศรัทธาหาว่าพระมหาบุรุษควายความเพียรเวียนมาเพื่อกลับเป็นผู้มักมากเสียแล้ว เลยพากันละทิ้งหน้าที่อุปัฎฐากหนีไปอยู่ที่อื่น

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๒๐
เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น

พระมหาบุรุษทรงอำลาท่านคณาจารย์ทั้งสองแล้วออกจากที่นั่น แล้วเสด็จจาริกแสวงหาที่สำหรับทรงบำเพ็ญเพียร เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกันดังกล่าว แล้วเสด็จไปถึงตำบลแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตแขวงมคธเหมือนกัน มีนามว่า "อุรุเวลาเสนานิคม" อุรุเวลา แปลว่า กองทราย เสนานิคม แปลว่า ตำบล หมู่บ้าน

พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่น มีแนวป่าเขียวสด เป็นที่น่าเบิกบานใจ มีแน่น้ำเนรัญชรา น้ำไหลใสสะอาด มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป เหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเที่ยวบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต

อุรุเวลาเสนานิคม ถ้าจะเรียกอย่างไทยเราก็คงจะเรียกได้ว่าหมู่บ้านกองทราย หรือหมู่บ้านทรายงามอะไรอย่างนั้น

คัมภีร์อรรถกถาชื่อ "สมัตปสาทิกา" เล่ม ๓ ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดีย สมัยหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว เป็นผู้แต่งได้เล่าประวัติของกองทรายที่ตำบลนี้ไว้ว่า ในอดีตสมัย ที่นี่เคยเป็นที่บำเพ็ญเพียร ของพวกนักพรตจำนวนมาก

นักพรตที่มาตั้งอยู่ที่นี่ตั้งระเบียบข้อบังคับปกครองกันเองไว้ว่า ความผิดของคนที่แสดงออกทางกายวาจานั้นพอมองเห็นได้ ส่วนทางใจไม่มีใครมองเห็นเลย ใครจะคิดผิดชั่วอย่างไรก็มองไม่เห็น ลงโทษว่ากล่าวกันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครเกิดคิดชั่ว เช่น เกิดอารมณ์ความใคร่ขึ้นมาเมื่อใดละก็ ขอให้ผู้นั้นลงโทษตัวเอง โดยวิธีนำบาตรไปตักเอาทรายมาเทกองไว้หนึ่งคนหนึ่งครั้ง ครั้งละหนึ่งบาตร เป็นการประจานตัวเองให้คนอื่นรู้ ด้วยเหตุนี้ ภูเขากองทรายหรืออุรุเวลา ซึ่งเสมือนหนึ่งอนุสรณ์แห่งกองกิเลสของพระฤาษีเก่าก่อนจึงเกิดขึ้น

สมัยพระพุทธเจ้า บริเวณตำบลบ้านแห่งนี้เรียกกันว่า "อุรุเวลาเสนานิคม" แต่มาสมัยหลังกระทั่งทุกวันนี้เรียกบริเวณตำบลแห่งนี้ว่า "พุทธคยา" ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นั่น

พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลนี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นบททดลองอีกบทหนึ่งว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๑๙
เสด็จไปศึกษาลักธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบสเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ก็ทรงหลีกไป

ในสมัยที่กล่าวนี้ แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมากคณะด้วยกัน แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวก และมีคนนับถือมาก กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของเจ้าลัทธิต่างๆเพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส

คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสองคณะด้วยกันคือ คณะอาฬารดาบสกาลามโคตร และคณะอุทกดาบสรามบุตร ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรมสอนศิษย์อยู่ป่านอกเมือง

พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่ เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อนทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้วทรงเห็นว่า ยังมิใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อยแต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด

"สมาบัติ" หมายถึง ฌาน คือวิธีทำจิตใจให้เป็นสมาธิ มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียดที่สุดทั้งหมดมีแปดชั้นด้วยกัน ทรงเห็นว่า จิตใจระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์ ปุถุชนสามารถมีได้แต่มีแล้วยังเสื่อมได้ ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น

ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไปทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่า ทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียมกันตน แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำเชิญชวนนั้นเสีย

เมื่อทรงทดลองลัทธิคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด แต่ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์แล้ว พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวชนักพรตจำวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ ทางนั้นก็คือทุกกรกิริยา ที่หมายถึงการบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้ ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความลำบากนั่นเอง

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๑๘
พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลขอปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้ว ขอให้มาโปรดก่อน

พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบความที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรื่องนักบวชหนุ่ม ผู้ทรงความสง่างามผิดจากนักบวชอื่นๆ เข้ามาในเมือง จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานไปสืบความดู หนังสือปฐมสมโพธิเรียบเรียงพระดำรับสั่ง ของพระเจ้าพิมพิสารตอนนี้ไว้ว่า

"ท่านจงสะกดตามบทจรไปดู ให้รู้ตระหนักแน่ แม้ว่าเป็นเทพยดาก็จะเหาะไปในอากาศ ผิวะเป็นพญานาคก็ชำแรกปฐพีไปเป็นแท้ แม้ว่าเป็นมนุษย์ก็จะไปนั่งบริโภคภัตตาหารโดยควรประมาณแก่ตนได้ จงไปพิจารณาดูให้รู้เหตุประจักษ์"

ฝ่ายพระมหาบุรุษเมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว ก็เสด็จออกจากเมืองไปที่เงื้อมภูเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง แล้วทรงตั้งสติพิจารณาปรารภที่จะเสวยอาหารที่ทรงได้มาจากการเสด็จบิณฑบาต อาหารที่ว่านี้เป็นจำพวกที่เรียกว่า "มิสกภัตร" คือ อาหารที่คละระคนปนกันทุกชนิด ทั้งดีและเลวทั้งน้ำและแห้ง ทั้งคาวและหวาน

พระมหาบุรุษทรงเห็นทรงเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง ซึ่งปฐมโพธิพรรณาไว้ว่า "ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกมาทางพระโอษฐ์ เหตุพระองค์เคยเสวยประณีตโภชนาหารปานประอุจทิพย์สุธาโภชน์..." แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชเสียได้ จึงเสวยอาหารนั้นอย่างปกติ

พระเจ้าพิมพิสารกับพระมหาบุรุษทรงเป็น "อทิฎญสหาย" กัน แปลว่า ทรงเป็นพระสหายที่เคยแต่ได้ยินพระนามกันมาก่อน แต่ไม่เคยเห็นกันและกันเลย เมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระมหาบุรุษ พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธ และทรงแจ้งถึงความแน่วแน่ในพระทัยที่จะแสวงหาความตรัสรู้

พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอปฏิญาณว่า ถ้าได้ตรัสรู้แล้วให้เสด็จมาโปรด พระมหาบุรุษทรงรับปฏิญาณนั้น


ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๑๗
เสด็จจาริกผ่านกรุงราชคฤห์ มหาชนเห็นแล้วก็โจษจันกันทั่วเมือง

เมื่อนายฉันนะ มหาดเล็กผู้ซื่อสัตย์กลับคืนไปแจ้งข่าวทางเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว พระมหาบุรุษ หรือก่อนแต่นี้คือเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จจากหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำอโนมาไปยังตำบลที่มีป่ามะม่วงมากแห่งหนึ่งที่เรียกโดยชื่อว่า "อนุปิยอัมพวัน" ตำบลนี้อยู่ในเขตแขวงมัลลชนบท ประทับอยู่ที่นี่หนึ่งสัปดาห์ ในวันที่ ๘ จึงเสด็จจาริกเข้าแคว้นมคธไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นในสมัยนั้น

แคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ มั่งคั่ง มากด้วยพลเมืองและมีอำนาจเท่าเทียมกับอีกแคว้นหนึ่งในสมัยเดียวกันนี้คือ แคว้นโกศล ซึ่งมีกรุงสาวัตถีเป็นเมืองหลวง

กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ของกรุงราชคฤห์แห่งแห่งแคว้นมคธ ในสมัยที่กล่าวนี้ทรงพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระมหาบุรุษ ขณะที่กล่าวนี้จึงทรงเป็นกษัตริย์หนุ่ม

เวลาเช้า พระมหาบุรุษเสด็จเข้าเมือง ชาวเมืองเกิดอาการที่ปฐมสมโพธิรายงานไว้ว่า "ตื่นเอิกเกริกโกลาหลทั่วทั้งพระนคร" เพราะได้เห็นนักบวชที่ทรงรูปสิริลักษณะเลิศบุรุษ จะว่าเป็นเทวดาหรือนาค สุบรรณ (ครุฑ) คนธรรพ์ ทานพ (อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย) ประการใดก็มิได้รู้ เข้ามาสู่พระนคร เที่ยวโคจรบิณฑบาตประหลาดนัก ต่างก็โจษจันกันทั่วเมือง

เจ้าชายสิทธัตถะ หรือขณะนี้คือพระมหาบุรุษ และต่อมาคือพระพุทธเจ้า ทรงเกิด ในขัตติยสกุลคือสกุลกษัตริย์ ทรงป็นอุภโตสุชาต คือ ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นกษัตริย์บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา ทรงมีผิวพรรณที่ภาษาบาลี เรียกว่า "กาญจนาวัณโณ" แปลตามตัวว่าผิวทอง ความหมายก็คือผิวเหลืองขาว ทรงมีพระรูปโฉมสง่างาม ถึงแม้จะทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุ และทรงนุ่มห่มผ้ากาสาวพัสตร์อย่างนักบวชผู้สละทิ้งความงามทางฆราวาสวิสัยแล้วก็ตาม แต่พระอาการกิริยาเวลาเสด็จดำเนินก็ยังคงลีลาของกษัตริย์ชัดเจน คือสง่างามผิดแผกสามัญชนแห่งกรุงราชคฤห์

เพราะเหตุนี้ เมื่อชาวเมืองราชคฤห์ได้เห็น จึงแตกตื่นกัน จนความทราบไปถึงพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชาธิบดีแห่งกรุงราชคฤห

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก

Rank: 9Rank: 9Rank: 9



ภาพที่ ๑๖
ทรงตัดพระโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมาฆฏิการพรหมถวายอัฐบริขาร

เจ้าชายสิธัตถะพร้อมด้วยนายฉันนะที่ตามเสด็จ ทรงขับม้าพระที่นั่งไปตลอดคืน ไปสว่างเอาที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตแดนกั้นเมืองทั้ง ๓ คือ กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และไพศาลี ทรงถามนามแม่น้ำนี้กับนายฉันนะ นายฉันนะกราบทูลว่า "พระลูกเจ้า! แม่น้ำนี้ชื่อว่า อโนมานที พระเจ้าข้า"

ทรงพาม้าและมหาดเล็กข้ามแม่น้ำ แล้วเสด็จลงจากหลังม้าประทับนั่งบนหาดทราย อันขาวดุจแผ่นเงิน พระหัตถ์ขวาจับพระจรรค์แสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา คือ ยอดหรือปลายพระเกศากับพระโมฬี คือ มุ่นพระเกศา หรือผมที่นุ่มเป็นมวย แล้วทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบเหลือพระเกศาไว้ยาวประมาณ ๒ นิ้ว เป็นวงกลมเวียนไปทางขวา

เสด็จแล้วทรงเปลื้องพระภูษาทรงออก แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายพร้อมด้วยเครื่องบริขารอย่างอื่นของนักบวช แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวชที่บนหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั่นเอง

ทรงมอบพระภูษาทรง และม้าพระที่นั่งให้นายฉันนะนำกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระราชบิดาให้ทรงทราบ นายฉันนะมีความอาลัยรักองค์ผู้เป็นเจ้านาย ถึงร้องไห้กลิ้งเกลือกแทบพระบาทไม่อยากกลับไปแต่ขัดรับสั่งไม่ได้ ด้วยเกรงพระอาญา

เจ้าชายหรือตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า "พระมหาบุรษ" ทรงลูบหลังม้าที่กำลังจะจากพระองค์กลับเมือง ม้าน้ำตาไหลอาบหน้า แล้วแลบชิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของพระองค์ผู้เคยทรงเป็นเจ้าของ

ทั้งม้าทั้งคนคือนายฉันนะน้ำตาอาบหน้า ข้ามน้ำกลับมาเมือง แต่พอลับพระเนตรพระมหาบุรุษ ม้ากัณฐกะก็หัวใจแตกออก ๗ ภาค หรือหัวใจวายตาย นายฉันนะจึงปลดเครื่องม้าออก แล้วนำดอกไม้ป่ามาบูชาศพพญาสินธพ แล้วฉันนะก็หอบพระภูษาและเครื่องม้าเดินร้องไห้กลับเมืองคนเดียว

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-15 23:51 , Processed in 0.066948 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.