แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 10651|ตอบ: 14
go

วัดดอนไฟ (พระเจ้าทันใจ) ม.๗ ต.ดอนไฟ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง (บรรจุพระบรมธาตุในองค์พระเจ้าทันใจ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_2684.JPG



วัดดอนไฟ (พระเจ้าทันใจ)

บ.ดอนไฟ  ม.๗  ต.ดอนไฟ  อ.แม่ทะ  จ.ลำปาง

[บรรจุพระบรมธาตุในองค์พระเจ้าทันใจ]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2465.JPG



IMG_2468.JPG



การเดินทางไปวัดดอนไฟ (พระเจ้าทันใจ)  ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ
https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F/@18.703413,98.949592,17z/data=!3m1!4b1!4m2!3m1!1s0x30da316901c62b17:0xcdbe1c6e26991c0c


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2571.JPG



วัดดอนไฟ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๓ บ.ดอนไฟ ม.๗ ต.ดอนไฟ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ๕๒๑๒๐ ห่างจากอำเภอแม่ทะ ๒๐ กิโลเมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๐ ตารางวา

อาณาเขตติดต่อวัด
ทิศเหนือ        ประมาณ ๗๔ เมตร    จรดที่สาธารณะ
ทิศใต้           ๖๕ ตารางเมตร         จรดลำห้วย
ทิศตะวันออก  ประมาณ ๙๕ เมตร    จรดที่นา
ทิศตะวันตก    ๘๕ เมตร                จรดถนนที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๗๕ ตารางวา

อาคารเสนาสนะ  ประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ และกุฎิ  ปูชนียวัตถุ ประกอบด้วย พระเจ้าทันใจ ฯลฯ


IMG_2481.JPG



ประวัติวัดดอนไฟ



(แหล่งที่มา : เว็บวัดดอนไฟ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.watdonfai.com. (ค้นข้อมูลวันที่ : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗))


วัดดอนไฟ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๖๗๔ (พ.ศ.ที่ใกล้เคียงที่สุด) จุลศักราช ๔๙๓ (สคาตเมือง ๔๙๓ ตัวปี) โดยมีพระสุตตะสมเป็นผู้เริ่มสร้างเป็นองค์แรก ซึ่งเดิมทีนั้นย้ายมาจากวัดม่อนดอนขาวง (วัดกลางทุ่ง) มาสร้างใหม่มีชื่อว่า “วัดดอนไฟ” มาตลอดเท่าถึงทุกวันนี้ วัดแห่งนี้นับตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบันนี้ พ.ศ.๒๕๕๕ มีอายุนานถึง ๘๘๑ ปี (ไม่ได้นับรวมกับโบสถ์และวัดกลาง)

การปกครองนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕) มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งแล้วถึง ๔๐ รูป ดังนี้
๑. พระสุตตะสม พ.ศ.๑๖๗๔
๒. พระกันทะรัสสะ พ.ศ.๒๐๕๓
๓. พระอะรีน พ.ศ.๒๑๓๐
๔. พระปินตา  พ.ศ.๒๑๖๘
๕. พระโพธา พ.ศ.๒๑๘๙
๖. พระมหาแปง พ.ศ.๒๒๑๖
๗. พระหลวงตา พ.ศ.๒๒๕๙
๘. พระมหาอานนท์ พ.ศ.๒๓๑๖
๙. พระอุปเสน พ.ศ.๒๓๓๘
๑๐. พระนันทะปัญญา พ.ศ.๒๓๗๐
๑๑. พระมหาวีรวงศ์ พ.ศ.๒๓๗๘
๑๒. พระเกสา รัสสะ พ.ศ.๒๓๘๑
๑๓. พระอินต๊ะติสสะ พ.ศ.๒๓๘๖
๑๔. พระอริยะวังโส พ.ศ.๒๓๙๐
๑๕. พระขัตติยะติส พ.ศ.๒๓๙๔
๑๖. พระคัมภีรติสสะ พ.ศ.๒๔๐๔
๑๗. พระปู่กันธิยา พ.ศ.๒๔๑๕
๑๘. พระจีนา พ.ศ.๒๔๒๔
๑๙. พระหลวงเต็ม พ.ศ.๒๔๓๐
๒๐. พระสีวิชัย พ.ศ.๒๔๓๑
๒๑. พระอุปติสสะเถระ พ.ศ.๒๔๓๕
๒๒. พระไชยยะวงค์ พ.ศ.๒๔๔๖
๒๓. พระสมพมิตต์ พ.ศ.๒๔๕๑
๒๔. พระอนันนปัญญา พ.ศ.๒๔๕๖
๒๕. พระสิทธิวงค์ พ.ศ.๒๔๕๙
๒๖. พระธรรม(เต่น) พ.ศ.๒๔๖๓
๒๗. พระอินต๊ะ พ.ศ.๒๔๖๓
๒๘. พระจีนะ (ธรรมสอน) พ.ศ.๒๔๗๑
๒๙. พระกันทะ พ.ศ.๒๔๘๑
๓๐. พระปัญญา (หนานปัญญา) พ.ศ.๒๔๘๑
๓๑. พระสุธัม พ.ศ.๒๔๘๑
๓๒. พระสิธิ พ.ศ.๒๔๘๑
๓๓. พระอินสอน อภวํโส พ.ศ.๒๔๘๗
๓๔. พระอินสม (หนานตา) พ.ศ.๒๔๘๙
๓๕. พระกันทะวงค์ (หนานวงค์หาญ) พ.ศ.๒๔๙๑
๓๖. พระอินสม ขนฺติภโร พ.ศ.๒๔๙๓
๓๗. พระแก้วมูล สิริธมฺโม พ.ศ.๒๕๐๓
๓๘. พระอธิการน้อย ปิยธมฺโม พ.ศ.๒๕๓๒
๓๙. พระศิลป์ สิริภทฺโท พ.ศ.๒๕๔๒
๔๐. พระอธิการมาต จิรวฒฺฑโน พ.ศ.๒๕๔๖ – ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕)

*หมายเหตุ
พ.ศ.๒๔๖๓ มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่ง ๒ รูป และพ.ศ.๒๔๘๑ นั้น มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งถึง ๔ รูป



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2485.JPG



IMG_2502.JPG



วิหาร วัดดอนไฟ ค่ะ


IMG_2698.JPG



รูปปั้นพญานาค บันไดนาคทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดดอนไฟ ค่ะ


IMG_2708.JPG



IMG_2703.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดดอนไฟ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2692.JPG



IMG_2538.JPG



IMG_2494.JPG



IMG_2501.JPG



IMG_2506.JPG



มณฑปพระเจ้าทันใจ วัดดอนไฟ ค่ะ
สามารถขึ้นไปไหว้พระเจ้าทันใจในมณฑปพระเจ้าทันใจได้ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.


IMG_2497.JPG



IMG_2529.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับทางขึ้น/ลง มณฑปพระเจ้าทันใจ วัดดอนไฟ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2581.JPG



IMG_2661.JPG



IMG_2616.JPG



พระพุทธรูปเจ้าทันใจสองพี่น้ององค์จำลอง ประดิษฐานภายใน มณฑปพระเจ้าทันใจ วัดดอนไฟ พุทธศาสนิกชนสามารถปิดทองพระพุทธรูปเจ้าทันใจได้ค่ะ


IMG_2683.JPG



IMG_2617.JPG



พระพุทธรูปเจ้าทันใจสองพี่น้ององค์จริง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานภายในตู้กระจก ในมณฑปพระเจ้าทันใจ วัดดอนไฟ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง แต่เดิมประดิษฐานที่วัดพระเจ้าทันใจ (วัดกลาง) แต่ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดดอนไฟ เนื่องจากเกรงการลักขโมยค่ะ



IMG_2685.JPG



IMG_2610.JPG



คาถาบูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจ
(กล่าวนะโม ๓ จบ) กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา ทันใจโย อิทธิ ปาฏิหาริยะกะรัง อภิปูชะยามิฯ


IMG_2660.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานใกล้ พระพุทธรูปเจ้าทันใจ ภายในมณฑปพระเจ้าทันใจ วัดดอนไฟ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2668.JPG



ประวัติพระพุทธรูปเจ้าทันใจ


(ต้นฉบับจากคัมภีร์ใบลานภาษาล้านนาเมืองเหนือ)



(แหล่งที่มา : เว็บวัดดอนไฟ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.watdonfai.com. (ค้นข้อมูลวันที่ : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗))


ตามตำนานกล่าวว่ามีลั้วะ ๓ คน พี่น้อง (“ลั้วะ” เป็นชนกลุ่มลักษณะคล้ายกับชาวเขา) ได้อพยพครอบครัวลงมาจากทางทิศเหนือมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ปงม่อนจ๋อมแจ้งดอนกลาง (กลางทุ่ง) และดอนเปียน ลั้วะ ๓ คน มีความขยันหมั่นเพียรในการกสิกรรมทำไร่ทำนาและทำสวน ไม่นานก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีทั้ง ๓ คน ภายหลังมาชาวบ้านทั้งหลายพากันเรียกว่า “เศรษฐี ๓ ตระกูล” คือ เศรษฐีตระกูลบ้านปงม่อนจ๋อมแจ้ (ปัจจุบันบ้านปงม่อนจ๋อมแจ้ง เหลือแต่ซากกระเบื้องและกองอิฐเจดีย์ที่พังแล้ว)

IMG_2721.JPG



เศรษฐีตระกูลบ้านม่อนดอนกลาง (ในอดีตเป็นวัดพระเจ้าทันใจ แต่ในปัจจุบันนี้เหลือแต่ต้นโพธิ์และโบสถ์ร้างอยู่กลางทุ่งท้ายหมู่บ้าน)

IMG_2724.JPG



เศรษฐีตระกูลบ้านม่อนดอนเปียน (ปัจจุบันยังเหลือแต่ภูเขาเท่านั้น) เศรษฐีแต่ละคนมีลูกบ้านได้ ๑๐๐ หลังคาเรือนเป็นบริวาร

วันหนึ่งมีพระฤๅษี ๒ พี่น้อง อยู่บำเพ็ญพรตธรรมที่ดอยกิ่วพระฤๅษี (ปัจจุบันนี้ดอยกิ่วพระฤๅษีมีหน้าผาที่สูงชัน มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก) ได้มาบิณฑบาตบ้านของท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ท่าน เศรษฐีทั้ง ๓ ท่านมีความยินดีที่ได้เห็นผู้มีศีลได้มาโปรดถึงในบ้านจึงได้ช่วยกันหาอาหารมาใส่บาตรแก่พระฤๅษีทั้ง ๒ องค์นั้นด้วยความศรัทธาและเคารพยิ่ง ในวันต่อมาท่านเศรษฐีทั้ง ๓ มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีความเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างพระพุทธรูปคนละ ๑ องค์ เพื่อสืบอายุและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าจะไปเอานายช่างทองที่ไหนมาหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นั้น

ในเวลานั้นยังมีนายพรานป่าคนหนึ่ง (ในตำบลไม่ปรากฏชื่อไว้) ได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อแสวงหาล่าเนื้อ ได้เดินทางมาทางป่าเมืองพิจิกคต (เมืองพิจิตในปัจจุบัน) อยู่ทางทิศใต้ ได้ติดตามรอยกวางคำ (เนื้อทราย) มาถึงน้ำจำ (ตาน้ำ) แห่งหนึ่งซึ่งสัตว์ป่าทั้งหลายจะพากันลงมากินน้ำเป็นฝูงๆ และนายพรานป่าก็สะกดรอยตามสัตว์ป่าทางทิศตะวันออกก็ไปพบต้นไทรใหญ่ซึ่งเป็นบริเวณเขตบ้านของท่านเศรษฐี นายพรานป่าได้วางอาวุธและเข้าสู่บ้าน ซึ่งท่านเศรษฐีทั้ง ๓ กำลังประชุมกันอยู่ เมื่อเห็นนายพรานป่าเข้าสู่ที่ประชุม เศรษฐีทั้ง ๓ ก็มีความยินดีช่วยกันต้อนรับตามสมควรแก่ฐานะ แล้วจึงมีวาจางามถามว่าท่านนายพรานป่า ท่านมาจากที่ใด

นายพรานป่าจึงตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งเศรษฐีทั้ง ๓ ที่นับถือข้าพเจ้า มาจากเมืองพิจิกโน้นไกลมากทีเดียว ข้าพเจ้าได้ติดตามรอยสัตว์ป่ามาจนถึงบ้านของท่านในเวลานี้ ท่านเศรษฐีจึงตอบว่า ดีแล้วที่ท่านมาถึงบ้านเราซึ่งกำลังประชุมกันว่าจะไปหานายช่างทองมาหล่อพระพุทธรูปแต่ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะไปหาที่ไหน โอกาสดีที่ท่านนายพรานป่ามาก็นับว่าเป็นอาคันตุกะแขกมงคลเลยทีเดียวหวังว่าทางบ้านของท่านคงจะมีนายช่างผู้ชำนาญทำการหล่อพระพุทธรูปได้สวยงามประณีตพอจะหาได้หรือไม่ นายพรานตอบว่า ดูก่อนท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ข้าพเจ้ามีอาชีพเป็นพรานป่ามาแต่เล็กแต่น้อยถึงปัจจุบันยังไม่ทราบว่านายช่างทองหล่อพระพุทธรูปมีแห่งหนตำบลใดยังไม่รู้เลย แต่ไม่เป็นไรเมื่อเป็นประสงค์ศรัทธาสามัคคีของท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ข้าพเจ้าจะไปติดต่อสอบถามหานายช่างทอง เมื่อพบแล้วจะนำมาให้ถึงบ้านท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ภายในเร็ววัน แล้วนายพรานป่าก็ลาท่านเศรษฐีทั้ง ๓ กลับไปบ้านของตนเอง

พอถึงบ้านก็เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเสียใหม่ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ออกจากบ้านติดต่อสอบถามไปเรื่อยจนไปพบบ้านนายช่างทอง นายช่างทองก็ออกมารับด้วยความยินดีแล้วกล่าวว่า ดูก่อนนายพรานป่า แต่ก่อนท่านก็มีอาชีพเป็นพรานป่ามิใช่หรือ ท่านคิดได้อย่างไรถึงได้ละอาชีพพรานป่าแล้วมาหาเราดังนี้ เมื่อนายพรานป่าได้ยินคำถามของนายช่างทองดังนั้น จึงเล่าลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปลายโดยตลอดกลับมาสู่บ้านแล้วละเพศเครื่องแต่งตัวอันเป็นนายพรานป่าเสียแล้วก็ออกเดินทางมาบ้านของนายช่างทองและมาพบบ้านนายช่างทอง ในเวลานี้มีความประสงค์เพื่อที่มาหาท่านนายช่างทองไปหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ของท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ตามสัญญา นายช่างทองก็รับคำนั้นด้วยความยินดีแล้วก็เตรียมเครื่องมือและเสบียงอาหารในการเดินทางเสร็จแล้ว จึงได้ยกข้าวปลาอาหารออกมาต้อนรับนายพรานป่า หลังจากนั้นจึงได้นอนหลับที่บ้านของนายช่างทอง ๑ คืน

พอรุ่งเช้ากินข้าวเช้าแล้ว ก็พร้อมกันออกเดินทางจากเมืองพิจิก ใช้เวลาเดินทางมาตามป่าเป็นเวลา ๑ เดือน ก็มาถึงดอนกลางพอดี เมื่อท่านเศรษฐีเห็นนายพรานป่านำนายช่างทองมาถึงบ้านตามสัญญาที่ให้ไว้ก็มีความปีติยินดีพูดจาต้อนรับปราศรัยถามทุกข์สุขในการเดินทางพอสมควร แล้ววันที่นายช่างทองและนายพรานป่าเดินทางมาถึงดอนกลางซึ่งตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (ในราวพุทธศักราช ๑๕๐๐ สมัยเชียงแสน) (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก)


IMG_2635.JPG



นายช่างทองจากเมืองพิจิกได้เริ่มเบ้าแบบพิมพ์ (ได้เริ่มสร้างหุ่นพระพุทธรูปเจ้าทันใจ) มีลักษณะใหญ่น้อยตามลำดับดังนี้

องค์ที่ ๑ หน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว ส่วนสูง ๓๙ นิ้ว  องค์นี้ เศรษฐีบ้านม่อนจ๋อมแจ้ง เป็นศรัทธาหล่อ
องค์ที่ ๒ หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว ส่วนสูง ๒๙ นิ้ว องค์นี้ เศรษฐีบ้านม่อนดอนกลาง เป็นศรัทธาหล่อ
องค์ที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว ส่วนสูง ๑๙ นิ้ว  องค์นี้ เศรษฐีบ้านม่อนดอนเปียน เป็นศรัทธาหล่อ


เมื่อนายช่างทองปั้นเบ้าแบบพิมพ์เสร็จแล้ว ในวันนั้นเป็นวันพฤหัสบดี ๔ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ได้ฤกษ์งามยามดีนายช่างทองได้ทำการเททองหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้นจนหมดทองที่ท่านเศรษฐีทั้ง ๓ มีอยู่ แต่ยังไม่สำเร็จเหลือจิกโมลี (พระโมลี) เมื่อนั้นท่านเศรษฐีทั้ง ๓ จึงได้ประกาศไปทั่วบ้านทั่วเมือง ให้ท่านศรัทธาสาธุชนที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคทองว่าดังนี้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย บัดนี้เราทั้ง ๓ ได้ร่วมกันหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้นเพื่อว่าไว้เป็นที่สักการบูชากราบไหว้และสืบอายุพระพุทธศาสนา เวลานี้ทองที่มีอยู่ก็หมดพอดี ท่านผู้มีทองก็ขอนำเอามาร่วมกันหล่อจิกโมลีพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้นเถิด

ข่าวอันนี้ได้ลือชาปรากฏไปทั่วทุกสารทิศได้ยินไปถึงหูของนางแม่ม่ายคนหนึ่ง ซึ่งนามว่า “ย่าเท็ก” (อยู่ที่ตำบลหัวเสือในปัจจุบัน) เป็นคนยากจน เมื่อได้ทราบข่าวบุญอันนี้นางก็มีความปีติยินดีในหัวใจอยากจะร่วมหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจกับท่านเศรษฐีทั้ง ๓ นั้น อยู่วันหนึ่งนางก็คิดในใจว่า ตัวกูเกิดมาในชาตินี้เป็นคนอาภัพเข็ญใจหาทรัพย์สมบัติอันใดก็ไม่ได้ แม้แต่ข้าวปลาอาหารจะกินแต่ละมื้อก็ไม่มี คิดแล้วนางก็เกิดความน้อยใจในโชควาสนาดวงชะตาที่เกิดมาจน จึงร้องไห้หนีออกจากบ้านไปแสวงหาขอทองกับพี่น้องชาวบ้าน ในที่สุดก็หมดหวังขอไม่ได้สักแห่งและร้องไห้กลับมาที่บ้านของตน


นางจึงตั้งสัจจะอธิฐานว่า ดูก่อนเทพยาดาพระอินทร์จงมาดลบันดาลกรุณาโปรดคนยากไร้เข็ญใจ อันแสวงหาข้าวของและทองเพื่อที่จะเอาไปร่วมหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจกับท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ขอเทพยาดาทั้งหลายจงดลบันดาลมาโปรดคนยากไร้เข็ญใจด้วยเถิด ณ บัดนั้นด้วยแรงสัจจะอธิฐานแท่งหินปัณฑุกรรมศิลาอาสน์ของพระอินทร์ซึ่งเคยอ่อนนุ่มก็มาแข็งกระด้าง พระอินทร์ประหลาดใจมากจึงส่องทิพย์เนตรลงดูก็รู้ว่านางแม่หม้ายยาเท็กผู้ยากไร้เข็ญใจอยากได้ทองเพื่อนำเอาไปทำบุญร่วมท่านเศรษฐีหล่อจิกพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้น

ในกาลบัดนั้นเมื่อพระอินทร์ท่านทราบความต้องการของนางแม่หม้ายโดยตลอดแล้ว จึงได้ใช้ท้าววิษณุกรรมเทพบุตรนำเอาทองสัมฤทธิ์ (ทองทิพย์) แท่งหนึ่งลงมาไว้ยังปงแห่งหนึ่ง (ที่ราบบนฝั่งแม่น้ำ) แล้วท้าววิษณุกรรมก็กลับไปอยู่ที่อยู่ของตนเอง


ในวันรุ่งขึ้นย่าเท็กก็มาถูกเทวดาบันดลหัวใจให้นางแม่หม้ายมีความอยากได้ทองเป็นกำลังทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อนางกินข้าวเช้าให้อิ่มหนำสำราญแล้วก็ได้เดินทางออกจากบ้านแสวงหาทองไปตามลำดับทางโดยตลอดจนแนวทางมาถึงปงแห่งหนึ่ง นางก็มองเห็นทองโดยบังเอิญซึ่งงอกพ้นออกจากแผ่นดิน นางก็มีความยินดีมากเหลือคณานับ รีบวิ่งเข้าไปยกเอาทองทิพย์นั้นขึ้นทูนหัวแล้วรีบวิ่งนำไปให้ท่านเศรษฐีทั้ง ๓ สมตามความมุ่งมาตรปรารถนาทันใจทุกประการ

เมื่อท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ได้ทองจากนางแม่หม้ายแล้วก็มีความยินดีเป็นที่สุด ก็นำเอาทองแท่งนั้นมาให้นายช่างทองหล่อทำเป็นจิกโมลีของพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้นก็สำเร็จบริบูรณ์ดีทุกประการ นายช่างทองก็มาแกะแม่พิมพ์ออกปรากฏว่าโมลีของพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ นั้นเอียงไปคนละทิศละทางไม่ตรงเสมอกัน หมายความว่าเป็นปริศนาให้ทราบกันภายหลังว่า นายช่างทองที่มาทำการหล่อทองพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นั้นเป็นคนมาจากเมืองพิจิคตปงที่ราบบนฝั่งน้ำที่ทางแม่หม้ายย่าเท็กได้พบทองทีหลังมา คนทั้งหลายเรียกว่า (นาปงทอง) เมื่อหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ เสร็จเรียบร้อย ท่านเศรษฐีทั้ง ๓ จึงได้ร่วมกันประชุมจัดงานมหากรรมเฉลิมฉลองสมโภชพระพุทธรูปเจ้าทันใจเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาตลอด ๕,๐๐๐ พระพรรษา จัดงานสมโภชนานได้ ๗ วัน ๗ คืน

พอถึงวันเดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก็มีพระอรหันต์ ๒ รูปดังต่อไปนี้ คือ ๑ ชื่อว่า “โสณะ” รูปที่ ๒ ชื่อว่า “อุตตระ” ได้นำเอาพระสารีริกธาตุมาจากเมืองกุสินาราแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะมาทางอากาศมาถึงดอนกลาง พระอรหันต์ทั้ง ๒ รูป ก็ได้เรียกเอาพระยากุมภัณฑ์ (ยักษ์) เข้ามาหาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านพระยากุมภัณฑ์ บัดนี้เราทั้ง ๒ ได้นำเอาสารีริกธาตุมาถึงที่นี้ ขอให้ท่านจงตีทองคำให้เป็นเรือคำ (เรือทองคำ) มานำเอาสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ พระยากุมภัณฑ์ก็ได้ปฏิบัติตามคำของพระอรหันต์ทุกประการ

ต่อมาพระอินทร์ก็ได้นำเอายังอุปแก้วผลึก (หับแก้วผลึกมีหูหิ้ว) และฆ้องคำมาไว้สำหรับตีบูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้น เมื่อพระยากุมภัณฑ์ทำสำเภาสำเร็จแล้ว ก็ถ่อแล่นมารับเอาพระสารีริกธาตุแล้วนำไปใส่ไว้ในอุปแก้วผลึกของพระอินทร์พร้อมกันนั้นก็เอาเข้าไปบรรจุไว้ในพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์


ในเวลานั้นเศรษฐีทั้ง ๓ องค์ ท่านได้เสียสละข้าวของคนละ ๑ โกฎิ เพื่อไว้บูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ พอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ เหนือ พระสารีริกธาตุก็แผ่รัศมีรังสีให้คนทั้งหลายได้เห็นโดยทั่วกัน พอวันรุ่งเช้าของวันใหม่ พระอรหันต์ทั้ง ๒ รูป ก็กลับคืนไปสู่เมืองกุสินาราตามเดิม ต่อมาเศรษฐีทั้ง ๓ ท่าน ร่วมพากันสร้างวิหารอีกหลังมีกำแพงล้อมรอบวิหารด้วยตลอด เสร็จแล้วจึงได้อาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์นั้นเข้าไปประดิษฐานไว้ในวิหารนั้นตลอดมาและได้ชื่อว่า “วัดม่อนดอนขวางสามเงา” (วัดกลางทุ่งในปัจจุบัน) ต่อมาวัดม่อนดอนขวางได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากท่านเศรษฐีทั้ง ๓ ซึ่งเป็นผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสบวรพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้วัดมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับไปจนสิ้นอายุและหมดสมัยของท่านเศรษฐีทั้ง ๓

ต่อมาก็ได้มีเมืองเล็กเมืองน้อยเกิดขึ้นมาอพยพได้ขยายแผ่กว้างออกไปและเวลาร่วงโรยมาอีกหลายชั่วอายุคน วัดม่อนดอนขวางก็ขาดผู้ดูแลอุปถัมภ์บำรุงเพราะผู้คนได้โยกย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนห่างไกลวัดออกไปเรื่อยๆ อีกหลายปีต่อมาก็เป็นวัดร้าง เมื่อปีใดเกิดบ้านเมืองแห้งแล้งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เจ้าหลวงนครลำปางจะใช้ให้คนมาหามเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ ไปไว้ในเมืองโดยไม่ต้องอาราธนาอันเชิญแต่อย่างใด บ่อยครั้งเข้าพระพุทธรูปเจ้าทันใจองค์พี่ใหญ่จึงแสดงปาฏิหาริย์ให้เหมือนกับว่ามีรอยช้างมาเหยียบให้แบนทั้งองค์ หลังจากนั้นมาอีกหลายปี เกิดสงครามพม่าผู้คนชาวบ้านพากันหลบซ่อนตัวหนีภัยสงครามออกไปอยู่ตามป่าตามเขาหมด

มีพลเมืองดีห่วงใยในโบราณวัตถุจะถูกทำลายและสูญหายจึงได้ช่วยกันนำเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจและโบราณอีกหลายชนิดนำไปเก็บรักษาไว้ในถ้ำใกล้บ้านแม่ออก (โยมอุปถัมภ์) ย่าเท็ก ที่ตำบลหัวเสือก็จะมาอาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ ออกไปอบรมสมโภชแห่แล้วได้นำเอาฆ้องออกมาจากถ้ำมาตีบูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจ ฝนก็ตกลงอย่างน่าอัศจรรย์ทุกครั้งและเจ้าหลวงนครคนต่อมาก็มีความเคารพหวงแหนกราบไหว้ ปีใดฟ้าฝนแล้งก็บอกมายังท่านกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลหัวเสือดอนไฟได้นำเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์ไปร่วมแห่สมโภชที่ในเมืองเพื่อขอฝน และก็ได้ทันใจสมปรารถนาทุกครั้งตลอดมา

ต่อมาอีกหลายปีก็มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ทางท่านเจ้าคณะตำบลดอนไฟชื่อว่า “ท่านครูบาวงศ์” ได้นำเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง ๓ องค์พี่น้องมาเก็บรักษาไว้ที่วัดดอนไฟตั้งแต่บัดนี้ ส่วนองค์พี่ใหญ่ไม่สมประกอบ ฐานเสริมด้วยไม้สักและพอกด้วยปูนรอบองค์จนไม่มีใครทราบว่าข้างในเป็นทอง เมื่อรื้อวิหารหลังเก่าบูรณะซ่อมแซมใหม่จึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์และสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเจ้าทันใจองค์พี่ใหญ่ก็อาจเป็นได้เพราะมีพุทธลักษณะสง่างามคล้ายกันทุกประการ

แต่ที่น่าแปลกใจไปกว่านั้นก็คือ จะมีตัวคางคกอีกหนึ่งตัว ซึ่งทำมาจากเนื้อกระเบื้องโบราณและที่ปากยังคาบแก้วอีกหนึ่งลูก น้ำหนักโดยรวมของตัวคางคกหนักประมาณ ๑ กิโลกรัม สูง ๕ นิ้ว ครึ่ง กว้าง ๕ นิ้ว ลำตัวยาว ๘ นิ้วได้ติดตามเป็นบริวารมากับพระพุทธรูปเจ้าทันใจมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่มีใครทราบได้ว่าตัวคางคกนี้มีตำนานมาว่าอย่างไรบ้าง แต่ก็สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนคงจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้าทันใจไปประกอบพิธีแห่ขอฝนบ่อยครั้งมาก จึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่มีผู้ศรัทธาสร้างขึ้นมาถวาย หรือไม่ก็คงจะมีใครดลบันดาลให้มาก็เป็นได้ฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2595.JPG



IMG_2656.JPG



IMG_2652.JPG



IMG_2648.JPG



รอยเท้านี้ยังไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นรอยเท้าของใคร แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “รอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเยาว์วัย” นำมาจากวัดดอยน้อยรอยพระบาท ต.ดอนไฟ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ปี ๒๕๔๙ ค่ะ

สนใจติดตามข้อมูลเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท วัดดอยน้อยรอยพระบาท ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ http://www.dannipparn.com/thread-825-1-1.html


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2516.JPG



IMG_2543.JPG



IMG_2547.JPG



IMG_2552.jpg



ถ้ำปฏิบัติธรรมฤาษีตาไฟปั๋นติ  วัดดอนไฟ ค่ะ


โองการเชิญพระฤาษีตาไฟปั๋นติ
นะมัส สิตวา อิสีสิทธิโลกนาถัง อะนุตตะรัง อิสีจะพันธะนัง สาตรา อะหังวันทามิตัง อิสีสิทธิเวสสะ

ด้วยเดชเดชะข้าพเจ้า (ชื่อ – สกุล) ขออัญเชิญฤาษีตาไฟ ปั๋นติ  โปรดรับการน้อมกราบและสิ่งของที่ข้าพเจ้านำมาถวาย ณ สถานที่แห่งนี้ พร้อมโปรดประทานพรแก่ข้าพเจ้าและครอบครัว ขอให้มีแต่ความสุขกายและใจ คิดเงินขอให้ได้เงิน คิดทองขอให้ได้ทอง คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนาทุกประการเทอญ.

อิติอักขรา นามะโหนติ เอหิ พันธัง พันธังฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2555.JPG



พระพุทธกัสปปะ (ปางไสยาสน์) ถวายโดยพระอธิการมาต จิรวฑฺโน เจ้าอาวาสวัดดอนไฟ และคุณวนิรุต เฉลิมสุข เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ค่ะ


คำไหว้พระพุทธกัสปปะ (ปางไสยาสน์)
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขังสุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห


IMG_2517.JPG



รูปพระสังกัจจายน์ วัดดอนไฟ ค่ะ



IMG_2519.JPG



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดดอนไฟ ค่ะ


IMG_2523.JPG



IMG_2732.JPG



รูปพระอุปคุต วัดดอนไฟ ค่ะ


IMG_2530.JPG



ศาลพ่อปู่เสื้อวัด วัดดอนไฟ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 18:23 , Processed in 0.075205 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.