แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 20539|ตอบ: 10
go

พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ บ.เมืองงาย ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_6250.JPG




พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์

บ.เมืองงาย  ต.เมืองงาย  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่



Rank: 8Rank: 8

IMG_5989.JPG



IMG_5990.JPG



การเดินทางไปพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ บ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเชียงดาวไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ตรงก.ม. ๗๘/๘๐๐ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๕ กิโลเมตร ค่ะ



IMG_5999.JPG



ยินดีต้อนรับทุกท่าน

เข้าสู่ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ดอยนางสูงเสียดฟ้า สมฉายาเมืองงายในฝัน พระสถูปเจดีย์ฯ มีตำนาน อนุสรณ์สถานพระองค์ดำ”



IMG_5986.JPG



IMG_5998.JPG



IMG_5992.JPG



ประตูทางเข้า/ออก พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ มีรูปปั้นไก่วางเรียงรายประดับด้านหน้าประตูค่ะ


เวลาเปิด - ปิด  ๐๕.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6064.JPG



IMG_6121.JPG



IMG_6249.JPG



IMG_6253.JPG



IMG_6080.JPG



IMG_6164.JPG



IMG_6167.JPG



พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เป็นเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม กว้าง ๑๐.๓๐ เมตร สูง ๒๕.๑๒ เมตร ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และแต่ละด้านของฐานมีแผ่นศิลาสลักลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์สลับกับแผ่นหินที่เล่าพระราชประวัติของพระองค์ และประวัติการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ ซึ่งจะมีประชาชนแวะเวียนมากราบไหว้สักการะองค์พระสถูปเจดีย์ฯ อยู่เสมอค่ะ



IMG_6083.JPG



IMG_6216.JPG



IMG_6171.JPG



ประวัติการสร้าง

พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์



โดยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถ ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยในอดีต ทั้งทรงมีพระบุญญาบารมี พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาลเป็นที่หวาดหวั่น และเกรงขามแก่ข้าศึกศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั้งปวง ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่พระองค์ได้ทรงมีบทบาทในการกรีธาทัพไปปราบปรามอริราชศัตรู ต่างได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ หรือสิ่งอนุสรณ์เป็นการยกย่องเทิดทูนพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ถวายความจงรักภักดี และบำเพ็ญการกุศลบวงสรวงพระวิญญาณของพระองค์ตลอดมา


สำหรับชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยู่เสมอว่า การที่พวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น เนื่องจากบริเวณบ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงยั้งทัพตั้งค่าย เป็นการเตรียมตัวเข้าโจมตีขับไล่อริราชศัตรูโดยมีหลักฐานปรากฏชัดจากไม้รั้วค่ายซึ่งยังมีอยู่มากในบริเวณนั้น ประกอบด้วยพระสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่นอกเขตไทยได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทำลายไป จึงควรจะได้สร้างขึ้นในที่แห่งนี้แทนพระเจดีย์องค์ที่ได้สูญเสียไปนั้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๘ ณ ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐาน ณ เมืองหาง รัฐไทยใหญ่ สหภาพพม่า ก่อนถูกทำลาย


นอกจากนั้นในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๒ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระสิงห์วรวิหารฯ เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสององค์ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนได้มาสั่งจองพระบูชาฯ พระเครื่องและสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมดสามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์


ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ ทางจังหวัดได้เรียนเชิญ พลเอก หลวงกัมปนาท แสนยากร องคมนตรีไปเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์บรรจุแผ่นอิฐและบรรจุพระกริ่งพระเครื่องไว้ในองค์พระสถูปเจดีย์ ในงานนี้ประชาชนได้เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้านำแก้วแหวนเงินทองและสิ่งมีค่าอื่นๆ มาสมทบบรรจุไว้ในองค์พระสถูปนี้อย่างมากมาย


และเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๓ จังหวัดได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่ออัญเชิญเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์และพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๔


ด้วยเดชาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อันมีพระสยามเทวาธิราชเป็นอาทิ ขอพระวิญญาณของพระองค์ซึ่งไม่ว่าทิพยวิมานชั้นฟ้าใดๆ ขอได้โปรดทรงรับรู้ในความยึดมั่นกตัญญู จงรักภักดี ของบรรดาชาวไทยทั้งมวลอันมีต่อพระองค์ท่านอย่างไม่มีเสื่อมคลาย และพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอปฏิญาณต่อดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ว่า พวกเราพร้อมที่จะเจริญรอยตามพระยุคลบาท ในอันที่จะรักษาผืนแผ่นดินไทยทุกกระเบียดนิ้ว ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานไว้แก่คนทั้งมวล ให้ยืนยงคงอยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6240.JPG


IMG_6203.JPG


IMG_6236.JPG



พระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐาน ณ ซุ้มเรือนแก้วติดกับองค์พระสถูปเจดีย์ฯ ค่ะ


พระคาถาบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  โอม  ปะระเม นะเรศวรมะหาราช นะเรศสะ จิตติ อิทธิฤทธา นุภาเวนะ นะเรศจิตติ สิทธิ สังโฆ นะโม พุทธ ปะฐะวี คงคา ภุมมะ เทวา ขะมามิหัง (สวด ๓ จบหรือ ๙ จบ)



IMG_6204.JPG



ประวัติพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและปั้นเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๑๓ และเททองหล่อหลอม เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๓ ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และตบแต่งแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๓ จากนั้นก็ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ สถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้น เพื่อทันประกอบพิธีเปิดและฉลองในเดือนมกราคม ๒๕๑๔


แบบของอนุสรณ์

๑. ขนาดสูงประมาณ ๒ เมตร

๒. ลักษณะเป็นพระรูปยืนประทับแท่น

๓. เครื่องทรง ชุดเครื่องทรงออกศึกพระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ พระหัตถ์ขวาทรงพระเต้าในลักษณะหลั่งน้ำทักษิโณธก

๔. ไม่สรวมพระมาลา

๕. หล่อด้วยโลหะรมดำ



IMG_6207.JPG



IMG_6188.JPG



พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช ๒๐๙๘ พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย  ดังนั้นพระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นางพระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรศ


ในขณะที่กรุงศรีอยุธยา ต้องตกเป็นประเทศราชของพม่า เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ ๙ ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี เมื่อพระชันษาได้ ๑๕ ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยพระราชกิจของพระราชบิดา ทรงดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชาโดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก


ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ศึกษาวิชาศิลปะศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่างๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป


นอกจากนั้นหลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบความสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด


พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและพสกนิกรนานัปการราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่ง พระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทรงปราบปรามศัตรูของบ้านเมืองจนราบคาบ พระองค์ได้แสดงพระเดชานุภาพและพระปรีชาสามารถในการสงครามเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรและเป็นที่เกรงขามแก่อริราชไพรีทั้งปวง ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะมังสามเกลียดพระมหาอุปราช ที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕  


ลุพุทธศักราช ๒๑๔๘ พระยาอังวะยกทัพไปตีเมืองนายและจะไปตีเมืองแสนหวีอันอยู่ในพระราชอาณาจักร พระองค์จึงได้กรีฑาทัพขึ้นมายังเมืองเชียงใหม่และยกทัพมุ่งไปเมืองหาง ทรงโปรดให้ตั้งค่ายยั้งทัพ ณ ตำบลเมืองงาย คือที่ตั้งพระสถูปฯ ปัจจุบัน แล้วเสด็จยกทัพหลวงไปที่ตำบลทุ่งแก้ว ราชอาณาจักรพม่า แล้วทรงประชวรเป็นละลอกที่พระพักตร์กลายเป็นพิษเสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา และเสวยราชได้ ๑๕ พรรษา


พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมาได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ ไปตราบชั่วกาลนาน


IMG_6233.JPG



พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับเมืองงายในอดีต


เมืองงายในอดีตมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อยู่มิใช่น้อย จากบทความรู้เรื่องเมืองงายของอาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง ได้กล่าวไว้ว่า ความสำคัญของเมืองงายเนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางเดินทัพบุเรงนอง กษัตริย์พม่าเคยทรงใช้เส้นทางผ่านสายเมืองงายนี้เข้าโจมตีนครเชียงใหม่ถึง ๒ ครั้ง เมื่อพ.ศ.๒๑๐๑ ครั้งหนึ่ง กับเมื่อพ.ศ.๒๑๐๗ อีกครั้งหนึ่ง และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ทรงใช้เส้นทางนี้ เมื่อคราวเสด็จยกกองทัพไปตีกรุงอังวะเมื่อ พ.ศ.๒๑๔๗


ปรากฏหลักฐานจากหนังสือไทยรบพม่า พระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีข้อความพิสดารว่า “ครั้นพระเจ้าอังวะมีอำนาจขึ้น เหล่าเมืองไทยใหญ่ที่อยู่ใกล้แดนพม่ากลัวเกรงกลัวยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอังวะก็มี เมืองที่อยู่ห่างออกไปไม่ยอมอ่อนน้อมโดยดี พระเจ้าอังวะก็ยกทัพปราบปรามตีได้เมืองไทยใหญ่ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระโดยลำดับมาจนถึงเมืองหน่ายที่มาขึ้นอยู่กับไทย พระเจ้าอังวะตีได้เมืองหน่ายแล้วจะมาตีเมืองแสนหวี สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบก็ขัดเคือง จึงดำรัสสั่งให้กะเกณฑ์รี้พลจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เข้ากองทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ


กองทัพที่ยกไปคราวนี้ จะเดินทางเมืองเชียงใหม่ไปข้ามแม่น้ำสาละวิน ที่เมืองหางแล้วผ่านแว่นแคว้นไทยใหญ่ไปเข้าแดนพม่าที่ใกล้เมืองอังวะ ทางที่กะนี้สะดวกกว่าจะยกไปทางเมืองมอญ เพราะไปทางเมืองมอญจะต้องรบพุ่งกับเมืองตองอูและเมืองแปงก่อนจึงจะผ่านขึ้นไปถึงเมืองอังวะได้ไปทางเมืองเชียงใหม่เดินทางในพระราชอาณาจักรไป จนในแดนไทยใหญ่พวกไทยใหญ่ที่เข้ากับไทยก็มีมาก โดยจะมีบางเมืองที่จะต่อสู้ก็จะไม่แข็งแรงเท่าใดนักเพราะพระเจ้าอังวะ ก็เพิ่งได้เมืองเหล่านั้นไว้ในอำนาจ


ที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จมาทางเมืองเชียงใหม่คงเป็นด้วยเหตุเหล่านี้ เห็นจะเอาเมืองเชียงใหม่เป็นที่ประชุมพล และเกณฑ์กองทัพมอญ ทัพชาวล้านนา เข้าสมทบกับกองทัพไทย จำนวนเบ็ดเสร็จคงจะราวสัก ๒๐๐,๐๐๐ แต่รายการที่มีในหนังสือพงศาวดารน้อยนักปรากฏแต่ว่า สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จออกจากพระนครเมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๔๗ เสด็จโดยกระบวนเรือไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชร ครั้นเสด็จไปถึงเมืองเชียงใหม่ จัดกระบวนทัพอยู่เดือน ๑ แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถออกไปทางเมืองฝาง


ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรประชวรเป็นละลอกขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า  สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมาถึงได้ ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็สวรรคตที่เมืองหาง เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๔๘ พระชันษา ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี


กองทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรครั้งนี้จะต้องไปตามเส้นทางเมืองงายอย่างปราศจากข้อสงสัย เนื่องจากเส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ยังไม่มีในสมัยนั้น และการประทับแรมที่เมืองงายก็น่าปราศจากข้อสงสัยเช่นเดียวกันเพราะคงจะแยกกำลังศึกแสนคนออกเป็น ๒ กองทัพหลวงที่เมืองงายนี้เลย แล้วต่อจากนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงคุมกองทัพหน้าไปทางเมืองฝาง


ส่วนสมเด็จพระนเรศวรทรงคุมกองทัพหลวงไปทางเมืองหาง และไปทรงพระประชวร แล้วเสด็จสวรรคต ณ เมืองนั้นตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ดังกล่าวข้างต้น ความสำคัญของเมืองงายทางด้านประวัติศาสตร์ จึงอยู่ตรงที่ว่า เมืองงายเป็นตำแหน่งสุดท้ายในแผ่นดินในสมัยปัจจุบันซึ่งอดีตที่พระมหาราชผู้เกรียงไกรได้ประทับและเสด็จผ่าน


IMG_6353.JPG



เมืองหาง หรือเมืองห้างหลวง ปัจจุบันติดชายแดนประเทศไทย ห่างจากเมืองฝาง ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร อยู่ในรัฐไทยใหญ่ สหภาพพม่า มีเจดีย์สร้างไว้ที่เชิงเขา ๒ องค์ เป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระเอกาทศรถโปรดให้สร้างขึ้น แต่ในปัจจุบันนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมถูกทำลายจนหมดสิ้น



IMG_6201.JPG



สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แด่ลูกหลาน เหลนไทย


อันอังคารสังขารของกูนี้

บัดนี้ผ่านสี่ร้อยกว่าปีหามีไม่

ถึงกายกูตัวกูจะจากไป

วิญญาณไซร้ยังอยู่คู่แผ่นดิน


ก็แผ่นดินผืนนี้หรือมิใช่ ที่กูสู้กู้ไว้ ให้ลูกหลาน

บัดนี้เหลนโหลนอยู่สุขมานาน

ถึงปราศปรานยังอยู่คู่พวกมึง

กูสู้กู้แผ่นดินไว้ให้อิสระนำคนไทยสู่ชัยชนะมิรู้สิ้น


ถึงตัวตาย(ไป) รักษ์ไว้ ซึ่งแผ่นดิน

ปณิธานนี้มิเลือนถึงสิ้นปราณ

แผ่นดินผืนนี้มีความศักดิ์สิทธิ์

แม้นมันผู้ใดคิดมุ่งร้ายต้องตายสิ้น


เหตุเพราะกูผู้กอบกู้กู้แผ่นดิน

ยังดูแลตราบสิ้นชั่วกาลนาน

กรุงศรีเคยคลุกคลีด้วยสีเลือด

แผ่นดินเคยลุกเดือดเลือดโลมไหล


แต่ไทยต้องคงนานความเป็นไทย

ถึงไม่มีใครวิญญาณกูจะรู้เอง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6195.JPG



IMG_6182.JPG



IMG_6212.JPG



แผ่นศิลาสลักลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฐานองค์พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ค่ะ



IMG_6150.JPG



IMG_6146.JPG



IMG_6110.JPG



IMG_6149.JPG



IMG_6153.JPG



IMG_6152.JPG



IMG_6228.JPG



IMG_6184.JPG



รูปปั้นไก่และช้าง ตั้งอยู่เต็มบริเวณรอบๆ พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เพราะส่วนใหญ่ผู้คนที่มากราบไหว้มักจะนำไก่มาถวายท่าน ด้ายเชื่อว่าพระองค์รักการชนไก่ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6260.JPG



IMG_6272.JPG



IMG_6279.JPG



IMG_6016.JPG



IMG_6311.JPG



IMG_6273.JPG



IMG_6274.JPG



ค่ายหลวงที่ประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ณ พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ วลาเปิด-ปิดค่ายหลวงฯ ๐๘.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น. ค่ะ


IMG_6357.JPG




ประวัติการสร้างค่ายหลวงที่ประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง)


กรมศิลปากรได้จำลองจัดสร้างขึ้น เทอดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในคราวเสด็จยาตราทัพผ่านเมืองงายไปสู่เมืองอังวะ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๗-๒๑๔๘ แต่ทรงประชวรระหว่างทางเสด็จสวรรคตที่เมืองหางเสียก่อน


ค่ายหลวงจำลองนี้ กรมศิลปากรจัดสร้างขึ้นในพระราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงและเปิดพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕  เนื่องจากค่ายหลวงจำลองที่จัดสร้างขึ้นเป็นการชั่วคราว จึงทำให้เกิดการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้มีการบูรณะมาโดยถึง ๕ ครั้ง


การบูรณะค่ายหลวงจำลองครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๓๐,๒๕๓๓ พลอากาศเอกประชา มุ่งธัญญ คุณอนะ วงศ์สรรพ์ ได้มอบหมายให้นายปัน เขื่อนเพชร เป็นผู้บูรณะซ่อมแซม โดยเงินกองทุนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๔๐๐,๐๐๐ บาท


การบูรณะค่ายหลวงจำลองครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๙ คุณหญิงพันธ์เครือ ยงใจยุทธ บูรณะปรับปรุงท้องพระโรงที่ประทับและเครื่องราชสักการะ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท


การบูรณะค่ายหลวงจำลองครั้งที่ ๓ โดย พ.ศ.๒๕๔๒ คุณธีรัช ฌานนท์, คุณทัศนีย์ จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และรูปราชที่ประทับและเครื่องราชสักการะ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท


การบูรณะค่ายหลวงจำลองครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๔๐ คุณอนะ วงศ์สรรพ์ พร้อมคณะ บูรณะเปลี่ยนหลังคาและพื้นไม้ตลอดห้อง ๒๕๐,๐๐๐ บาท โดยมอบหมายให้นายปัน เขื่อนเพชร เป็นผู้บูรณะ


IMG_6365.JPG



IMG_6358.JPG



การบูรณะค่ายหลวงจำลองครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูสุตาลงกต (พระมหาภานุพงษ์ เสนาธรรม) วัดหนองโค้ง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมบูรณะลงมือก่อสร้างเมื่อวันพุธที่ ๑๗ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ ใช้ทุนทรัพย์สินในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๕,๑๒๐,๐๐๐ บาท



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6284.JPG



IMG_6310.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



IMG_6325.JPG


IMG_6328.JPG



รูปสมเด็จพระพนรัตนพระสังฆราชอรัญวาสี (พระมหาเถระคันฉ่อง) วัดป่าแก้ว ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



บทสรรเสริญสมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว

(ว่านะโม  ๓ จบ) อิติปิโส ภะคะวาอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (๓ จบ)



IMG_6293.JPG



IMG_6288.JPG



พระบรมรูปสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



IMG_6296.JPG



พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



บทคาถาบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

โอม  ปรเม นเรศวรมหาราชา นเรศสจิตติ อิทธิฤทธานุภาเวนะ นเรศจิตติ สิทธิสังโฆ นโมพุทธายะ ปฐวี คงคา ภูมเทวา ขมามิหัง



IMG_6295.JPG



พระบรมรูปสมเด็จพระสุพรรณกัลยา ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



บทบูชาสมเด็จพระสุพรรณกัลยา

โอมสุภูตะ จะ มหาภูโต สุวัณณ กัลยา จะ มหาเทโว เทวะธิตา นะระปูชิโต โสระโหปัจจะยาทินนัง สุวัณณ  กัลยา จะมหาภูตัง  ศิริโสภา นะมะเสยยัง อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิอาคัจฉันติ เอหิ เอหิ มานิมามา



IMG_6305.JPG



พระบรมรูปสมเด็จพระเอกาทศรถ ประดิษฐานภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



บทบูชาสมเด็จพระเอกาทศรถ

โอม  ปรเมเอกาทะศะ รัสสัง มหาราชานัง สัพพเทวาภิปูชิตัง มหาลาโภ นิรันตะรัง มหาลาภัง ภวันตุโนโหตุสัพพะทา



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6329.JPG



IMG_6332.JPG



IMG_6333.JPG



IMG_6335.JPG



IMG_6337.JPG



ห้ององครักษ์เครื่องถวายราชสักการะ ภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



IMG_6340.JPG



DSC02390.jpg



IMG_6342.jpg



ห้องศาสตราวุธ ภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6343.JPG



IMG_6361.JPG



IMG_6359.JPG



IMG_6345.JPG



IMG_6366.JPG



ห้ององครักษ์ ภายใน ค่ายหลวงประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จำลอง) จะมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระสุพรรณกัลยา และข้าวของเครื่องใช้ ชุดแต่งกาย ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6036.JPG



IMG_6023.JPG



IMG_6220.JPG



IMG_6116.JPG



IMG_6003.JPG



IMG_6130.JPG



IMG_6377.JPG



การเดินทางมากราบนมัสการพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เพื่อน้อมรำลึกถึงวีรกรรมและถวายสักการะดวงวิญญาณของพระองค์ วันนี้ก็ขอจากกันไปด้วยภาพบรรยากาศบริเวณรอบพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ และสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวด้วยค่ะ สวัสดีค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-20 05:03 , Processed in 0.096627 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.