หลักของพระพุทธศาสนา
• การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
• ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
• ความเพ่งพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้ ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เพ่งพินิจ ผู้ใดมีความเพ่งพินิจทั้งปัญญา ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้นิพพาน
• ขันธ์ห้านั้นเป็นภาระหนักแล คนเราเป็นผู้แบกภาระไว้ การรับภาระเป็นทุกข์หนักในโลก วางภาระเสียได้เป็นสุข หมดความปรารถนาแล้วนิพพาน
สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)
พระคาถาบูชา
อิติ อิติ โพธิสัตว์
คติธรรมประจำใจ
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
*********
ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี)
พระคาถาบูชา
นะโม โพธิสัตว์โต พรหมรังษี
ตักเตือนตนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
การเป็นคน ให้เหมือนคน ต้องเป็นคน ไม่ถือตน เมื่อถือตน ย่อมเป็นคน ไม่ถึงตน
การเป็นคน ต้องเป็นคน ไม่หยามคน เมื่อหยามคน ย่อมถึงการ เป็นพาลชน อันพาลชน ย่อมพาลคน ทั่วทุกทิศ เมื่อพาลคน วาระจิต ย่อมเศร้าหมอง
ถือทิฐิ อกุศล วาระกรรม วิบากขึ้น ย่อมสนอง คนพาลเอย
เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ เจ้าแห่งพิธีการของโลกวิญญาณ (หัวหน้ารูปพรหม ๑๖ ชั้น ตำแหน่งผู้พิชิตมาร)
พระคาถาบูชา
ชินนะปัญจะระ
พระโอวาทของเสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ
• เกิดเป็นมนุษย์มีเวลาสั้นมาก ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีคุณค่าต่อตนเอง
• เวลาที่ท่านเสียไปโดยใช่เหตุ เช่น นั่งนินทา และหัวเราะโดยไร้สาระ ควรจะให้มีคุณค่าต่อจิตวิญญาณของตนเอง
• การจะทำงานเพื่อมนุษยชาตินั้น ต้องมีใจเด็ดเดี่ยว ยอมทนทุกข์เพื่อสุขในบั้นปลาย เรื่องส่วนรวมต้องมาก่อนเรื่องส่วนตัว งานนั้นก็สำเร็จได้
|