แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 31544|ตอบ: 71
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

เวียงกุมกาม.JPG



ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งอารยธรรมแรกเริ่มแห่งล้านนา



ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ให้ความรู้ว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ นับเป็นระยะเวลาร่วม ๗๓๐ ปี แล้วที่พญามังราย ปฐมกษัตริย์ของแคว้นล้านนาในอดีต ได้ก่อตั้งเวียงกุมกามขึ้นโดยหมายจะให้เป็นเมืองหลวงแคว้นภายหลังจากที่ยึดครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ และผนวกรวมเอาดินแดนเขตลุ่มแม่น้ำปิง สาย อิง และโขง เข้าไว้ด้วยกัน

ซึ่งจากการที่พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและประทับอยู่ที่เวียงแห่งนี้ ในช่วงระยะร่วม ๑๐ ปี ก่อนการย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้พิจารณาได้ว่า เวียงกุมกามเป็นราชธานีแห่งแรกของแคว้นล้านนา อันหมายถึงแคว้นหรือรัฐแห่งใหม่ ที่รวมเอาบ้านเมืองในเขต ๒ พื้นที่แอ่งที่ราบลุ่มน้ำใหญ่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการปกครองและวิถีชีวิตของประชาชนพลเมืองต่างๆ อีกทั้งพบหลักฐานการก่อสร้างวัดมากมาย ทั้งในเขตเวียงกุมกามเมืองเชียงใหม่ รวมถึงในเขตหัวเมืองบริวารแวดล้อม



Rank: 8Rank: 8

DSC01219.jpg



ข้าพเจ้าขอนำสมาชิกทุกท่านร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพญามังรายทรงสร้างเวียงกุมกามขึ้นด้วยพระราชหฤทัยรักในดินแดนแห่งนี้มาก ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสที่ตรัสก่อนที่จะเคลื่อนพลย้ายจากเวียงกุมกามไปยังนครเชียงใหม่ว่า

“ ก่อได้เวลาจากเวียงกุมกาม เพื่อย้ายไปสู่นครแห่งใหม่ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" จึงขึ้นสู่ตี้ประทับ แห่แหนกลับสู่เมืองใหม่ พอจะพ้นเขต เวียงกุมกาม ก่อหื้อหยุดขบวน และหันหลังกลับมาผ่อ “เวียงกุมกาม” แล้วตรัสออกมาเป๋นครั้งสุดท้ายพร้อมน้ำต๋าตี้คลอต๋า “ลาแล้วหนอ เวียงแห่งนี้ ตี้กูได้สร้างมา ไปคราวนี้จะบ่อได้ปิกคืนมาสู่เวียงแล้วหนา เวียงของกู เวียงกุมกาม” จากนั้นก่อนเสด็จไปยังเวียงใหม่ จากนั้นแหมบ่อเมิน เวียงกุมกามก่อได้ถูกม่าน (พม่า) เข้ายึด “เวียงกุมกาม” จึงได้ร่ำไห้ออกมาเป๋นน้ำต๋า ฟ้าห่าใหญ่ คราวนั้น น้ำปิง ”




DSC01211.jpg



เวียงกุมกาม ชื่อ กุมกาม ปรากฏในหลักฐานชัดเจนเป็นครั้งแรก ในหลักฐานเอกชั้นที่ ๑ คือศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน จารึกขึ้นใน พ.ศ.๑๙๑๓ เป็นอักษรสุโขทัย คำว่ากุมกามอยู่ในด้านที่ ๑ บันทึกที่ ๓๑ ว่า “…ฝูงชนอันอยู่ภาย กูมกามเชียงใหม่ พ้น…” เขียนกูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม

เวียงกุมกาม คือชื่อของเวียงโบราณแห่งหนึ่ง บริเวณพื้นที่ระหว่างแนวสายน้ำแม่ปิงปัจจุบัน ในเขตตอนใต้ตัวเมืองเชียงใหม่ลงมาราว ๕ กิโลเมตร คือท้องที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าวังตาล บางส่วนของตำบลหนองผึ้ง เขตอำเภอสารภี รวมถึงตำบลป่าแดด และตำบลหนองหอย เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่เฉลี่ยกว่า ๓ ตารางกิโลเมตร บนแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน  


ตามตำนานเล่าขานของล้านนา

พญามังราย ทรงสร้างเวียงกุมกามเพื่อเป็นศูนย์กลางของล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.๑๘๒๙ มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรหริภุญชัยในฐานะชุมชนโบราณแห่งหนึ่งที่ขยายตัวเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก่อนที่พญามังรายจะทรงสร้างนครเชียงใหม่ เวียงกุมกามยังคงมีความสำคัญและเป็นเมืองหน้าด่านต่อมาอีกหลายร้อยปี จนกระทั่งยุคเสื่อมของล้านนา พม่าเข้ายึดครองเวียงกุมกาม และถูกน้ำท่วมใหญ่จนถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างในเวลาต่อมา และเงียบหายไปจากความทรงจำ ปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานซากวัดร้างทางด้านสถาปัตยกรรม และโบราณคดีจำนวนมากมาย ในระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันเฉลี่ย ๑.๒ เมตร


DSC01214.jpg



พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานของเวียงกุมกาม

มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม เวียงกุมกามกำเนิดขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมืองหริภุญชัย หลังจากที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัยสำเร็จ พระองค์ประทับที่หริภุญชัยเพียง ๒ ปี ก็แสดงความไม่พอใจจะใช้เมืองหริภุญชัยเป็นเมืองหลวงอีกต่อไป แม้ว่าเมืองหริภุญชัยจะเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเวลาช้านาน ความไม่พอใจในเมืองหริภุญชัย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียงที่สร้างมาประมาณ ๕๐๐ ปี เวียงมีขนาดเล็กและคับแคบ ไม่สามารถขยายตัวเวียงได้ เป็นไปได้ว่าคงเต็มไปด้วยวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับรัฐที่อาณาเขตกว้างขวางขึ้น

พญามังรายจึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ โดยให้เมืองหริภุญชัยมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมือง ซึ่งเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูนเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้ากับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก



DSC01216.jpg



ความรุ่งเรืองของเวียงกุมกาม ในรัชสมัยพญามังราย เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนกระทั่งถึงสิ้นสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๘๓๙ - ๒๑๐๑) ในช่วงระยะเวลาสองร้อยกว่าปีที่เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองนั้น เป็นผลจากที่ตั้งของเวียงกุมกามซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง (ปิงห่าง) ซึ่งในอดีตแม่น้ำปิง เป็นเส้นทางการคมนาคมสายสำคัญ จะไหลผ่านเวียงเชียงใหม่ เวียงกุมกามและเวียงลำพูน และไหลไปสู่เมืองทางตอนใต้ เมืองที่แม่น้ำปิงไหลผ่านสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ทำให้เวียงกุมกามซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมและเป็นเส้นทางผ่านของสินค้า จึงมีฐานะเป็นศูนย์การค้า และส่งผลให้แม่น้ำปิง (ปิงห่าง) เปรียบเสมือนเส้นชีวิตของเวียงกุมกามที่ทำให้เวียงกุมกามกำเนิดและเจริญรุ่งเรือง


DSC01217.jpg



ลักษณะทางกายภาพเวียงกุมกาม ลักษณะที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้น จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจร่องรอยของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร แล้วไขแม่น้ำปิงเข้าใส่ไว้ในคูเมือง

แต่ปัจจุบันตื้นเขินลงมากกลายเป็นลำเมืองสาธารณะเล็กๆ โดยมีขอบเขตเป็นวงคล้ายรูปสี่เหลี่ยมและตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓



DSC01220.jpg


การล่มสลายของเวียงกุมกาม พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๕ ปี เนื่องจากเวียงกุมกามเป็นที่ลุ่ม ปรากฏว่าในฤดูฝนเกิดน้ำท่วมเมืองทุกปี ผู้คนและสัตว์เลี้ยงได้รับความเดือดร้อนมาหลายครั้ง  และน้ำป่าท่วมอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไม่เหมาะจะเป็นเมืองหลวงถาวรได้ จึงทรงแสวงหาสถานที่ที่มีชัยภูมิอันเหมาะแก่การตั้งเมืองใหม่ เพื่อจะให้เป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรล้านนามั่นคงถาวร และหลังจากที่พญามังรายย้ายมาอยู่ในนครเชียงใหม่แล้ว ในที่สุดแม่น้ำปิงก็ท่วมท้นทำลายเวียงกุมกาม

น้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่ ทำให้แม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมซึ่งเคยไหลในแนวปิงห่าง คือไหลไปทางด้านตะวันออกของเวียงกุมกาม เปลี่ยนมาไหลทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกาม ซึ่งกลายเป็นแนวแม่น้ำปิงในปัจจุบัน อุทกภัยครั้งใหญ่นี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมอยู่ใต้ดินตะกอนที่พัดมา จนยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม สภาพวัดต่างๆ เหลือเพียงแต่ซากวิหารและเจดีย์ร้าง ถูกทิ้งร้างอยู่ใต้ดินตะกอนนับร้อยปี ชื่อของ เวียงกุมกาม จึงเป็นเพียงเมืองในตำนานเหมือนกับชื่อเมืองอีกหลายๆ เมือง

สาเหตุที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้าง ไปนานหลายร้อยปี ในช่วง พ.ศ.๒๑๐๑ เป็นต้นมา จากประวัติศาสตร์สันนิษฐานสาเหตุว่า เวียงกุมกามร้างลงไปก่อนหน้าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่โดยตรง แต่เป็นเพราะผลพวงจากสงครามเวียงกุมกามเป็นพันนาที่อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ เพียง ๕ กิโลเมตร เท่านั้น คราวใดที่ผู้รุกรานยกกองทัพตีเมืองเชียงใหม่ ก็มักจะยึดเอาเวียงกุมกามเป็นที่ตั้งทัพและกวาดครัวเป็นกำลังในกองทัพ ต่อมาเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (๒๑๐๑) เวียงกุมกามจึงได้ระสำระส่าย ผู้คนหลบหนีไปบ้าง จนกระทั่งเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดวาอารามและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด

แล้วต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง (ที่เป็นเวลานานมากพอที่วัสดุสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของวัดจะเสื่อมโทรมลง และได้พังทลายตกลงมากองอยู่รอบๆ ส่วนฐานบนพื้นดินใช้งานเดิมของวัด) จึงเกิดเหตุการณ์น้ำแม่ปิงท่วมใหญ่ไหลหลากล้นฝั่งพุ่งตรงลงมาผ่านทับพื้นที่เวียงกุมกาม จากการที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแนวโค้งแม่น้ำปิงดังกล่าว ขณะเดียวกันสายน้ำที่ได้พัดพาเอาตะกอนดินและกรวดทรายมาทับถมใหญ่ในคราวเดียว เป็นปริมาตรของตะกอนดินกรวดทรายที่มากมายมหาศาล โดยตลอดทั่วทั้งบริเวณเวียงกุมกาม ซึ่งจมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินปัจจุบันลงไปเฉลี่ยประมาณ ๑.๕๐ - ๒.๐๐ เมตร จนทำให้เวียงกุมกามล่มสลายและกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด


Rank: 8Rank: 8

DSC01208.jpg


การฟื้นฟูชุมชนเวียงกุมกาม ต่อมาระยะหลังในสมัยธนบุรี เมื่อลำน้ำแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนเส้นทางมาไหลผ่านทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามแล้ว ก็ปรากฏหลักฐานชื่อชุมชนในพื้นที่เขตนี้ใหม่ว่า ท่าวังตาล อันหมายถึงชุมชนที่ตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินในเขตฝั่งตะวันออกใกล้แม่น้ำปิง ขณะเดียวกันพื้นที่เขตเวียงกุมกามเดิมได้ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทำไร่นาปลูกพืชผักผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการทำสวนลำไยกันมาก หรือปลูกไว้ตามเขตบ้านพักอาศัยแทบทุกหลังคาเรือน การเริ่มมีชุมชนบ้านเรือนขยายตัวออกไปอยู่อาศัยกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตขยายตัวของเมืองและชุมชน จากการใช้วิเทโศบาย เก็บผักใส่ซ้า-เก็บข้าใส่เมือง ของเจ้าหลวงกาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๔ - ๒๓๕๘) ประมาณระยะเวลาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา


DSC01215.jpg



เวียงกุมกาม อาจจะยังเป็นชื่อที่ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๒๗ ที่ผ่านมานั้น ได้มีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณเวียงกุมกาม ปรากฏว่าได้พบหลักฐานที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอันมาก ซึ่งหลักฐานดังกล่าวเหล่านั้นจะช่วยคลี่คลายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บางตอน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแคว้นหริภุญชัยมาสู่แคว้นล้านนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกที่ขุดค้นพบที่บริเวณแหล่งขุดค้นเวียงกุมกามนี้นั้น เป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทย ซึ่งยังไม่ปรากฏพบที่แห่งใดมาก่อน ด้วยเหตุนี้บทความดังกล่าวจึงมุ่งเน้นที่จะแสดงเรื่องราวของเวียงกุมกามให้รู้จัก และแสดงหลักฐานที่สำคัญที่ค้นพบดังกล่าวให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อไป

สภาพปัจจุบันของเวียงกุมกาม เวียงกุมกามถูกทำลายลงไปมาก จากรายงานของหน่วยศิลปากรที่ ๔ กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้สำรวจไว้ ปรากฏพบร่องรอยแนวกำแพงเมือง ซากโบราณสถานและวัตถุและเศษเครื่องปั้นดินเผามากมาย ดังนั้นจึงได้บูรณะในส่วนที่เป็นซากโบราณสถานขึ้น วัดต่างๆ ในเวียงกุมกาม (โบราณสถานที่ขุดแต่งบูรณะแล้ว) วัดร้าง ๒๔ แห่ง และวัดที่มีพระสงฆ์ ๖ แห่ง รวมพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามอีก ๑ แห่ง


DSC01209.jpg



การย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ เราจะไปทั้งหมด ๓๐ แห่ง ดังนี้


๑.  วัดเสาหิน  

๒.  วัดศรีบุญเรือง  
๓.  วัดพันเลา  
๔.  วัดหัวหนอง  
๕.  วัดกู่ต้นโพธิ์  
๖.  วัดกู่มะเกลือ
๗.  วัดกู่อ้ายหลาน

๘.  วัดกุมกามหมายเลข ๑  
๙.  วัดกุมกาม    
๑๐.  วัดธาตุน้อย
๑๑.  วัดอีค่าง  

๑๒.  วัดหนานช้าง  
๑๓.  วัดปู่เปี้ย  
๑๔.  วัดกู่ป้าด้อม  
๑๕.  พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
๑๖.  วัดกู่ขาว  

๑๗.  วัดกุมกามทีปราม  
๑๘.  วัดกุมกามทีปราม หมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น)  
๑๙.  วัดกู่ไม้ซ้ง   
๒๐.  วัดกู่ริดไม้  
๒๑.  วัดกู่อ้ายสี
๒๒.  วัดกอมะม่วงเขียว  

๒๓.  วัดบ่อน้ำทิพย์  
๒๔.  วัดโบสถ์ (อุโบสถ)  
๒๕.  วัดป่าเปอะ  
๒๖.  วัดพญามังราย  
๒๗.  วัดพระเจ้าองค์ดำ
๒๘.  วัดธาตุขาว
๒๙.  วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)  (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา)           
๓๐.  วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม) (พระบรมธาตุเจดีย์)
        

tumblr_mpjrgjDVov1r0sn0fo1_500.png



DSC00187.jpg


ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านร่วมเดินทางย้อนรอยประวัติศาสตร์ไปด้วยกันในครั้งนี้  ด้วยความเคารพความกล้าหาญของบรรพชนในอดีตกาล...

โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การศึกษาเรื่องราวประวัติพัฒนาการและโบราณสถานของเวียงกุมกามครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่บรรพชนล้านนาได้สร้างสรรค์ไว้ และเพื่อการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาสืบต่อไป อันจะน้อมนำมาสู่การมุ่งมั่นสร้างคุณงามความดีของคนในสังคมปัจจุบัน

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มหาราช ว่า


“.....การสร้างอาคารสมัยนี้เป็นเกียรติของคนสร้างผู้เดียว

แต่โบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ

      อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรรักษาไว้

        ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว

            ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย…..”





Rank: 8Rank: 8

๑. วัดเสาหิน




DSC00686.jpg


วัดเสาหิน ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ของตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อกับเขตตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี อันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียงกุมกามทางด้านทิศใต้ บริเวณวัดตั้งอยู่บนเนินที่มีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านทิศเหนือ และสองข้างด้านตะวันตกและตะวันออก ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรอยู่แวดล้อมยกเว้นแนวทางด้านทิศใต้ ด้านหลังวัดห่างออกไปที่เป็นบริเวณที่สูง และเป็นแนวตลิ่งของสายน้ำแม่ปิงแต่เดิมที่เคยไหลผ่านทางด้านแนวทิศเหนือของเวียงกุมกาม

ผังรูปแบบการสร้างวัดเสาหิน วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจดีย์และวิหาร เป็นกลุ่มโบราณสถานที่เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมภายในวัด แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงการก่อตั้งวัดนี้ในอดีต


DSC00687.jpg



ประตูทางเข้า/ออกด้านหลัง วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00689.jpg



DSC00688.jpg


ศาลาพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดเสาหิน ค่ะ



DSC00691.jpg



DSC00693.jpg



พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


พระเจดีย์ วัดเสาหิน มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะแบบพม่า โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๕ ที่คนพม่าได้เข้ามารับจ้างสัมปทานตัดไม้ในเขตภาคเหนือ จากความเชื่อว่าเรื่องเทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตกับต้นไม้ ประกอบกับความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าอยู่แล้ว ก็ได้มาซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพทรุดโทรม ทั้งในเขตเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองสำคัญอื่นๆ ในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา

ต่อมาในระยะหลังประมาณหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ในระยะต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เดินทางเข้ามาครองเมืองเชียงใหม่หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ร้างไปแล้วรวม ๒๐ ปี แต่รูปทรงการประดับตกแต่งในรุ่นก่อนหน้าขึ้นไป จึงไม่อาจทราบหรือสันนิษฐานกันได้ เพราะว่าได้สร้างหรือซ่อมทับเอาของเดิมไว้ภายใน โดยอาจจะขยายขนาด หรือก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมในรุ่นหลังมาก็ได้ ดังนั้นการพิจารณารูปทรงโครงสร้าง และลักษณะทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏในปัจจุบันล้วนเป็นผลงานการซ่อมเสริมในระยะหลังมาทั้งสิ้น


Rank: 8Rank: 8

DSC00697.jpg


DSC00698.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำ พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00694.jpg



กู่อัฐิ อยู่ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00699.jpg



DSC00696.jpg



วิหาร วัดเสาหิน เป็นอาคารขนาดค่อนข้างเล็ก ยกพื้นส่วนฐานทำสูงขึ้นมามาก เป็นการป้องกันน้ำท่วม ตัวหัวบันไดเป็นรูปนกการเวกและตัวนรสิงห์ด้านหลัง อิทธิพลศิลปะพม่า ที่เข้าใจว่าซ่อมใหม่ในสมัยเดียวกับพระเจดีย์ประธาน ด้านหน้าวิหาร หันไปทางทิศเหนือค่อนมาทางตะวันออก ไม่ได้หันไปทางทิศตะวันออกตามคติก่อสร้างวัดดั้งเดิม อีกทั้งไม่ได้หันเข้าสู่แม่น้ำปิงห่าง (ทิศใต้ของวัด)

การประดับตกแต่งในส่วนต่างๆ ของวิหาร กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของล้านนาดั้งเดิม กล่าวคือทรงหลังคาทำลดหน้าและหลัง โครงสร้างหน้าแหนบหรือหน้าจั่วแบบม้าต่างไหม มุงกระเบื้องดินขอ ปากนกแก้วหรือปากแล ตกแต่งส่วนปิดส่วนคอสองด้านหน้า ส่วนหน้าแหนบหรือหน้าบันตกแต่งลายไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกแก้ว (แก้วอังวะ) เป็นรูปดอกประจำยาม รวมถึงในส่วนของปีกนกทั้งสองข้าง โก่งคิ้ว หูข้าง ฯลฯ


ปัจจุบันผนังด้านหลังวิหาร มีรอยผุกร่อนแตกร้าว ควรหางบประมาณมาซ่อมบูรณะโดยด่วนต่อไป เนื่องจากผนังด้านหลังวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยล้านนาที่สวยงามมาก ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรภาพจิตรกรรม และที่ผ่านมากรมศิลปากรก็ได้เข้ามาซ่อมและอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมวัดเสาหินนี้ไว้แล้ว แต่ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวกันมากนักค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00708.jpg



วิหารใหม่ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00702.jpg


อุโบสถ วัดเสาหิน สร้างหันหน้าขวางแนวทิศหน้าวัด คือทิศตะวันตก (เฉียงเหนือ) ค่ะ


ประวัติอุโบสถ วัดเสาหิน ในสมัยพญาสามฝั่งแกน (กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๘) ที่ได้โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นที่วัดหนึ่งทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าวัดทางด้านเหนือที่กล่าวถึงนั้นจะเป็นวัดในเขตตัวเวียงกุมกาม หากว่าเป็นวัดนอกเขตเวียงกุมกาม (คนละฝั่งแม่น้ำปิงห่าง) ก็มีอยู่หลายวัด คือวัดศรีบุญเรือง วัดกู่ขาว วัดพันเลา หรือวัดสันป่าเลียง ล้วนอยู่ด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามทั้งสิ้น และที่มีการตีความกันในแผ่นป้ายประวัติวัดว่า เสาหิน คือหลักสีมาของอุโบสถนั้นเอง



DSC00704.jpg



DSC00706.jpg



DSC00707.jpg



ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน ค่ะ


ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูนทรงจตุรมุขประยุค ยกพื้นสูง ๑ เมตร ขนาดความกว้างของตัวอาคาร ๘ คูณ ๘ เมตร ความกว้างของฐานด้านนอก ๘๐๘ เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงยอดฉัตรประมาณ ๑๕ เมตร ประดับช่อฟ้าใบระกา ดอกปูนปั้นประดับกระจกสี

เสาหินจำลอง รูปทรงแปดเหลี่ยมขนาด ๑๒ นิ้ว สูง ๑.๙๙ เมตร ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๓ เวลา ๑๓.๐๙ น. โดยมีพระญาณสมโพธิเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประธานฝ่ายสงฆ์ และได้ทำบุญฉลองสมโภชถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ ก.พ. ๒๕๔๗

มีความสำคัญเกี่ยวกับเวียงกุมกามที่พญามังรายได้ก่อสร้างขึ้นก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงใหม่ที่อยู่ทิศเหนือของเวียงกุมกาม ตามตำนานเล่าขานของคนโบราณท่านว่า เมื่อเวียงกุมกามล่มสลายไปแล้ว ที่ใดก็ตามถ้ามีเสาหินปรากฏขึ้นในบริเวณอาณาเขตเวียงกุมกาม และมีคนเคารพกราบไหว้บูชา เวียงกุมกามที่ล่มสลายไปแล้วจะฟื้นกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง


Rank: 8Rank: 8

DSC00711.jpg


DSC00712.jpg



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00710.jpg


หอธรรม วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00715.jpg



อาคารอเนกประสงค์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00709.jpg



ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสาหิน ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๒. วัดศรีบุญเรือง




DSC00902.jpg


DSC00954.jpg



วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ในเขต ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เส้นทางสะดวกที่เดินทางเข้าวัด คือตามเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนสายเกาะกลาง กับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (๑๐๖) โดยวัดอยู่ใกล้ปากทางเชื่อมถนนสายเกาะกลางฝั่งทิศใต้ สภาพพื้นที่แวดล้อมโดยทั่วไปภายในบริเวณวัดเป็นสิ่งก่อสร้างพุทธศาสนาต่างๆ โดยรอบวัดเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนของชุมชน

บริเวณวัดนี้เรียงตัวอยู่ตลอดชายแนวตลิ่งน้ำแม่ปิงสายเดิม (ปิงห่าง) อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ จากข้อมูลของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (๒๕๔๙) ท่านพระครูสุเทพสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะตำบลหนองหอย ได้ทราบว่ากลุ่มพระเจดีย์และวิหารของวัดสร้างอยู่ในจุดที่ตั้งของพระเจดีย์และวิหารของวัดร้างมาแต่เดิม ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งฟากแม่น้ำปิง (ห่าง) กับเขตตัวเวียงกุมกาม ถือเป็นวัดเขตนอกเมืองด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามค่ะ


DSC00929.jpg


ประตูทางเข้า/ออก วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00905.jpg


พระเจ้าทันใจ วัดศรีบุญเรือง ค่ะ  


DSC00911.jpg



DSC01603.jpg



DSC01602.jpg



ศาลาเก๋งจีน วัดศรีบุญเรือง ภายในประดิษฐานรูปพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01573.jpg



พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี วัดศรีบุญเรือง ภิกษุศรัทธาวัดศรีบุญเรืองร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวาระครบ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ค่ะ


DSC00076.jpg


วิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ วัดศรีบุญเรือง อยู่ด้านหน้าวิหารหลวงค่อนมาทางใต้ค่ะ


DSC00947.jpg


หอพระไตรปิฏก (หอธรรม) วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวิหารค่อนมาทางทิศเหนือ ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนมีระเบียงโดยรอบ หลังคาทรงหน้าจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผาตอนบน และมีหลังคาคลุมส่วนระเบียงรอบทั้งสี่ด้านค่ะ


DSC00931.jpg


ผาสุกวิหารครูบาศรีวิชัย วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00074.jpg


DSC01585.jpg



วิหารพ่อขุนมังรายมหาราช วัดศรีบุญเรือง สร้างถวายพระราชมารดา คือพระนางเทพคำขยาย ในปี ๑๘๕๐ แล้วพระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่านทรงมาบูรณะใหม่ อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01576.jpg



DSC01584.jpg



วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


วิหาร วัดศรีบุญเรือง เป็นอาคารหลังคาหน้าจั่วมีส่วนปีกนก ๒ ข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูง ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดทางขึ้นลงหลักมี ๒ แห่ง คือทางตอนกลางในส่วนใต้จั่วหลังคาด้านหน้า และบันไดด้านข้างตอนกลางทิศเหนือที่ทำมุขมีหลังคายื่นออกมาเล็กน้อย

บันไดทั้ง ๒ สองแห่งตกแต่งตัวบันได ๒ ข้างเป็นรูปพญานาคปูนปั้นทาสี และประดับกระจกรวมถึงดินเผาเคลือบสีต่างๆ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ตกแต่งแผ่นปูนปั้นแบบรูปพญานาคในส่วนปั้นลมและหางหงส์

ในส่วนหน้าบันที่อื่นๆ ตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพรรณพฤกษาก้านขด-ดอกลาย มีทั้งแวดล้อมองค์พระพุทธรูป และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รวมถึงการทาสีและประดับกระจกอย่างสวยงาม เช่นเดียวกับการตกแต่งโขงประตูและโขงหน้าต่างทั้งหมด



DSC01600.jpg


DSC01589.jpg



DSC00935.jpg



พระพุทธรูปประธาน และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


พระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัด เปิดเผยว่า สาเหตุที่นำพระพุทธรูปจำนวน ๖ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุนับร้อยปีขึ้นแขวนในวิหาร ก็เพื่อป้องกันถูกคนร้ายขโมย ตอนแรกท่านคิดจะทำกรงหรือห้องในวิหารแล้วนำพระพุทธรูปไปเก็บไว้ แต่มาคิดว่าพระพุทธรูปท่านผิดอะไร ทำไมจะต้องทำกรงขัง ต่อมาจึงคิดออกว่าน่าจะนำไปแขวนไว้ข้างบนวิหารเสียเลย โดยใช้เชือกสลิงที่รับน้ำหนักได้มากมารั้ง มีพระหลายขนาด เป็นพระพุทธรูปสิงห์ ๑ เนื้อสำริดอายุนับร้อยปีหายาก ๕ องค์ และพระพุทธรูปแบบยืนปางลีลาอีก ๑ องค์

ซึ่งที่วัดศรีบุญเรืองแห่งนี้เคยถูกแก๊งโจรกรรมพระพุทธรูปเข้ามาโจรกรรมพระไปแล้วหลายครั้ง แต่เป็นพระพุทธรูปใหม่ ส่วนพระพุทธรูปสิงห์ ๑ ไม่ได้ถูกขโมยไป ทางวัดจึงตัดสินใจนำขึ้นแขวนไว้กับเพดานวิหาร ซึ่งหากคนร้ายคิดจะมาโจรกรรมก็จะทำได้ยาก สำหรับพระพุทธรูปดังกล่าวเหลืออยู่ที่วัดศรีบุญเรืองและอีก ๔-๕ วัดเท่านั้น ส่วนวัดอื่นที่เคยมีถูกขโมยไปหมดแล้วค่ะ



DSC00943.jpg



DSC00934.jpg


รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-2 00:02 , Processed in 0.047835 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.