แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 30256|ตอบ: 71
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

เวียงกุมกาม.JPG



ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งอารยธรรมแรกเริ่มแห่งล้านนา



ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ให้ความรู้ว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ นับเป็นระยะเวลาร่วม ๗๓๐ ปี แล้วที่พญามังราย ปฐมกษัตริย์ของแคว้นล้านนาในอดีต ได้ก่อตั้งเวียงกุมกามขึ้นโดยหมายจะให้เป็นเมืองหลวงแคว้นภายหลังจากที่ยึดครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ และผนวกรวมเอาดินแดนเขตลุ่มแม่น้ำปิง สาย อิง และโขง เข้าไว้ด้วยกัน

ซึ่งจากการที่พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและประทับอยู่ที่เวียงแห่งนี้ ในช่วงระยะร่วม ๑๐ ปี ก่อนการย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้พิจารณาได้ว่า เวียงกุมกามเป็นราชธานีแห่งแรกของแคว้นล้านนา อันหมายถึงแคว้นหรือรัฐแห่งใหม่ ที่รวมเอาบ้านเมืองในเขต ๒ พื้นที่แอ่งที่ราบลุ่มน้ำใหญ่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการปกครองและวิถีชีวิตของประชาชนพลเมืองต่างๆ อีกทั้งพบหลักฐานการก่อสร้างวัดมากมาย ทั้งในเขตเวียงกุมกามเมืองเชียงใหม่ รวมถึงในเขตหัวเมืองบริวารแวดล้อม



Rank: 8Rank: 8

๒๙. วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)

ม.๑  ต.ท่าวังตาล  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่

(พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา)


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเว็บแดนนิพพาน...

http://www.dannipparn.com/thread-136-1-5.html



baUChom-11.png




๓๐ . วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม)

บ.ช้างค้ำ  ม.๑๑  ต.ท่าวังตาล  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่

(พระบรมธาตุเจดีย์)


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเว็บแดนนิพพาน...

http://www.dannipparn.com/thread-130-1-6.html




baUChom-1.png



ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูง สำหรับผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจก่อให้เกิดงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ไว้ในบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไป และน้อยถวายพระราชกุศลแด่หลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นที่สุด จาก :

บุคคล
(๑) คุณลุงลูกป้าด้อม (จากวัดกู่ป้าด้อม) และคุณลุง (จากวัดกู่ต้นโพธิ์) สำหรับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) บุคคลทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามถึงที่เมตตาช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย

เอกสารและหนังสือ
(๑) ประวัติวัดบ่อน้ำทิพย์. สุบิล อรุณศิโรจน์ ประธานกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร จ.เชียงใหม่
(๒) แผ่นป้ายประวัติวัดและโบราณสถานทุกแห่งในเวียงกุมกาม กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๔๕
(๓) ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ จากพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
(๔) แผ่นป้ายประวัติและข้อมูลภายในวัดและโบราณสถานทุกแห่งในเวียงกุมกาม
(๕) ประวัติเมืองเชียงใหม่. ท่านพระครูอดุลลีลกิตต์ (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุคำ)
(๖) ไกรสิน อุ่นใจจินต์. เวียงกุมกาม : ราชธานีแรกเริ่มของล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ ๒. จรัสธุรกิจการพิมพ์: เชียงใหม่, ๒๕๔๘.
(๗) นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.

สื่ออินเตอร์เน็ต
(๑) http://www.thai-tour.com/thai-to ...ic_vieng-kumkam.htm
(๒) www.geocities.com/wiangkoomkam/index1.html


หมายเหตุ
ถ้าหากว่างานชิ้นนี้มีความผิดพลาดบกพร่องประการใดขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และขออภัยในความบกพร่องต่างๆในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปหวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย



ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม...ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ มาจนถึงตอนสุดท้าย ข้าพเจ้าก็ขอสิ้นสุดการเดินทางเพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00457.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็ก
วัดธาตุขาว ค่ะ



DSC00460.jpg


โขงพระเจ้า ตรงกลางอาคารวิหารเล็ก อาคารวิหารเล็ก วัดธาตุขาว ค่ะ



DSC00463.jpg


ชิ้นส่วนปูนปั้นลายพรรณพฤกษา ส่วนด้านหลัง อาคารวิหารเล็ก วัดธาตุขาว ค่ะ


DSC00462.jpg


DSC00461.jpg



พระพุทธรูปปูนปั้น (พระประธาน) วัดธาตุขาว ค่ะ   


ประวัติพระพุทธรูปปูนปั้น วัดธาตุขาว

จากการขุดแต่งวัดนี้เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ ได้พบองค์พระพุทธรูปปูนปั้นที่แต่เดิมเคยตั้งประดิษฐานบนอาคารวิหารเล็ก แต่ได้ล้มตกหงายพระองค์ลงมาที่ขอบฐานล่าง ที่ส่วนขององค์ค่อนข้างสมบูรณ์แต่พระเศียรชำรุด ระยะต่อมาชาวบ้านได้หาช่างมาปั้นแต่งเสริมใหม่ให้มีลักษณะพื้นเมือง และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ที่สะดือของพระพุทธรูปดังเช่นปัจจุบัน

ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ได้มีผู้พบพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กรูปแบบศิลปะอินเดียที่มีร่องรอยเดือยแกนด้านหลังสำหรับติดกับวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย แบบมีวงโค้งประภามณฑล ด้านหลังมีจารึกรูปแบบอักษรอินเดีย เป็นข้อความคาถาหัวใจพุทธศาสนา (เย ธัมมา)


DSC00464.jpg



ฐานอุโบสถ วัดธาตุขาว  สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกใกล้กับพระเจดีย์ทางด้านใต้ ปรากฏหลักฐานเพียงส่วนกรอบฐานก่ออิฐในผังสี่เหลี่ยมสร้างยกพื้นเตี้ย โดยรอยพบก้อนหินธรรมชาติตั้งวางไว้แสดงขอบเขตพัทธสีมาค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๘. วัดธาตุขาว




DSC00451.jpg


วัดธาตุขาว ตั้งอยู่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่  ทางทิศใต้วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ในเส้นทางผ่าทางเข้าวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำมาทางใต้ ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพปัจจุบันเป็นวัดร้าง และขึ้นบัญชีเป็นวัดของกรมศาสนา สภาพแวดล้อมทั่วไปแวดล้อมด้วยสวนลำไยของเอกชน มีถนนบุญรักษ์สายใหม่ตัดผ่านด้านหน้าวัดค่ะ


DSC00453.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม วัดธาตุขาว ค่ะ

วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากหลักฐานด้านเอกสารไม่ปรากฏการกล่าวอ้างอิงถึงถึงประวัติของวัดนี้ว่าการก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เข้าใจว่าสภาพความเป็นวัดคงเกิดขึ้นแล้วในสมัยเวียงกุมกาม และดำรงอยู่ร่วมสมัยล้านนาเรื่อยมา ที่เรียกกันว่า วัดธาตุขาว ก็เนื่องมาจากแต่เดิมเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาว (ธาตุ หรือ กู่ เป็นคำเรียกขานในท้องถิ่นล้านนา หมายถึง เจดีย์) ลักษณะพิเศษทางด้านการก่อสร้างพบการทำ (ฐาน) มณฑปหรือแท่นแก้วชุกชี ที่สร้างอยู่ตรงกลางอาคารใกล้เคียงทางด้านใต้พระเจดีย์


DSC00455.jpg


ฐานวิหาร วัดธาตุขาว ค่ะ


วิหาร วัดธาตุขาว สภาพคงเหลือหลักฐานเพียงส่วนฐานก่ออิฐสอดินเช่นเดียวกัน ลักษณะเดิมเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งและร่องรอยโครงสร้างเสาแล้ว เป็นวิหารที่มีหลังคาทรงหน้าจั่วเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และเนื่องจากการขุดแต่งไม่พบหลักฐานการก่อเรียงอิฐในส่วนผนัง ทำให้เข้าใจว่าเป็นวิหารแบบโถง องค์พระประธานพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้ว


DSC00456.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนด้านหลัง วิหาร วัดธาตุขาว ที่คงเหลือร่องรอยเฉพาะค่ะ


DSC00458.jpg


DSC00465.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดธาตุขาว สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว จากรูปแบบสภาพปัจจุบันที่คงเหลือเฉพาะส่วนฐานเขียงเตี้ยตอนล่าง และชั้นปัทม์ย่อเก็จ ๒ ฐานซ้อนกัน พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆังค่ะ


DSC00466.jpg


แท่นบูชา อยู่ด้านหน้า พระเจดีย์ วัดธาตุขาว ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00439.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ทำฐานพระเจดีย์เป็นแบบย่อมุม ๒๐ ย่อเก็จในส่วนฐาน รูปทรงเดิมพระเจดีย์น่าจะเป็นทรงระฆัง เพราะไม่การทำฐานย่อเก็จแบบเจดีย์ทรงมณฑป ซึ่งไม่เหมือนกับวัดแห่งอื่นๆ ในเขตเวียงกุมกาม นอกจากการมีฐานย่อมุม ๒๐ ดังกล่าวแล้ว พิจารณาว่าน่าจะก่อสร้างร่วมสมัยกับอยุธยา โดยเฉพาะระยะหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อีกทั้งการทำแท่นบูชาไว้ตอนบนส่วนฐานเขียงตอนล่างนั้น ไม่ค่อยพบในเจดีย์ที่อื่นๆ เพราะโดยทั่วไปที่พบเห็นมักจะทำไว้นอกส่วนของฐานเจดีย์ ด้านโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ก็พบคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดพญามังราย

ดังนั้นการกำหนดอายุสมัยของวัดนี้ โดยเฉพาะจากรูปแบบเจดีย์ประธาน ที่มีการทำย่อมุมคล้ายกับเจดีย์แบบอยุธยา จึงพิจารณาว่าการก่อสร้าง (หรือซ่อมบูรณะ) ในระยะหลังกว่าพระเจดีย์วัดพญามังราย แต่จากรูปแบบการทำหัวบันไดปูนปั้นแบบขดก้นหอย พิจารณาได้ว่าน่าจะสร้างระยะใกล้เคียงกับฐานลานปทักษิณพระเจดีย์วัดอีค่างในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC00448.jpg


ฐานอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) และพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00443.jpg


ฐานอาคารแห่งแรก ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00445.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สอง ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00446.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สาม ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๗. วัดพระเจ้าองค์ดำ




DSC00421.jpg


DSC00426.jpg



วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ในเขตที่ดินเอกชน บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเวียงกุมกาม กลางทางระหว่างวัดเจดีย์เหลี่ยม และวัดธาตุขาว (ร้าง) แต่เดิมน่าจะเป็นอาคารพุทธศาสนสถานกลุ่มเดียวกับวัดพญามังราย ที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือในเขตใกล้เคียงกัน พื้นที่โดยรอบเป็นเขตสวนลำไย ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ใกล้กับเขตวัดศรีบุญเรือง ด้านทิศใต้ใกล้เคียงกับวัดหนานช้าง (ร้างและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่าวัดพระเจ้าองค์ดำ อันเนื่องมาจากการที่เคยมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปองค์สีดำ ณ วัดนี้

โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง-บูรณะวัดพระเจ้าองค์ดำ ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กศิลปะแบบล้านนาหลายองค์ พระพุทธรูปสำริดนาคปรกทรงเครื่องแบบศิลปะเขมร-ลพบุรี พระพิมพ์แบบหริภุญไชย (พระสิบสอง) ลวดลายปูนปั้นตกแต่งประดับต่างๆ และ (เศษ) ภาชนะดินเผา ผลิตภัณฑ์ของเตาสมัยล้านนาในหลายรูปแบบค่ะ


DSC00441.jpg


กลุ่มพระเจดีย์-วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


ประวัติวัดพระเจ้าองค์ดำ แต่เดิมมีบริเวณวัดที่กว้างขวาง สิ่งก่อสร้างพบ ๒ กลุ่ม ที่เป็นกลุ่มเจดีย์-วิหาร และอาคารประเภทวิหารทางด้านทิศใต้ เดิมวัดนี้คงเป็นวัดที่สำคัญของเวียงกุมกามอีกวัดหนึ่ง เพราะได้พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง อีกทั้งรูปแบบของอาคารแต่ละแห่งนั้นมีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะการทำย่อมุมในส่วนฐานเจดีย์ประธาน รวมถึงฐานพระพุทธรูปต่างๆ

ผังรูปแบบการก่อสร้าง วัดพระเจ้าองค์ดำ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่สายแม่น้ำปิง (ห่าง) ในแนวแกนทิศเดียวกันกับวัดพญามังราย การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุสมัยวัดพระเจ้าองค์ดำ กล่าวได้ว่า บรรดาสิ่งก่อสร้างของทั้งวัดพระเจ้าองค์ดำและวัดพญามังราย แต่เดิมน่าจะเป็นกลุ่มวัดเดียวกัน เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันมาก อีกทั้งยังสร้างพระเจดีย์-วิหารหันหน้าไปในแนวเดียวกัน ซึ่งจากทำงานขุดแต่ง-บูรณะของกรมศิลปากรแต่เดิมในปีพ.ศ.๒๕๓๐ นั้นก็เรียกชื่อรวมเป็นวัดเดียวกันว่า กลุ่มวัดพระเจ้าองค์ดำ จนมาในระยะหลังได้มีการแยกออกเป็น ๒ วัด ดังเช่นในปัจจุบันนี้


DSC00440.jpg


ฐานวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ส่วนฐานก่อสร้างด้วยอิฐสอดินฉาบผิวนอกด้วยปูนขาว โดยทำมุขด้านหน้าลดระดับกับส่วนท้องใหญ่ของวิหารอย่างชัดเจนค่ะ


DSC00444.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00442.jpg


รูปปั้นตัวหัวบันไดแบบขดก้นหอย วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ เป็นรูปขดก้นหอยปูนปั้นลักษณะเดียวกับหัวบันไดขึ้นลานปทักษิณฝั่งตะวันออกของเจดีย์ประธานวัดอีค่างค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00435.jpg



DSC00427.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดพญามังราย ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพญามังราย ก่ออิฐสอดินฉาบปูน ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานเฉพาะในส่วนฐาน จากระเบียบการก่อสร้างในส่วนฐานนี้ พิจารณาว่าเป็นเจดีย์ทรงมณฑปโดยเฉพาะการทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จท้องไม้ลูกแก้วอกไก่สูง ๒ ชั้น พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับส่วนซุ้มพระพุทธรูปจากการขุดแต่ง และมีร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้ ลักษณะคล้ายคลึงกับที่เจดีย์วัดป่าสัก-เชียงแสน ทำให้พิจารณาได้ว่าวัดนี้อาจจะมีอายุเก่าแก่ไปถึงประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ค่ะ


DSC00428.jpg


ฐานอาคารโบราณสถาน และมีบันไดทางขึ้น/ลงด้านข้างสองแห่ง วัดพญามังราย อยู่ด้านหลังวิหารและด้านหน้าพระเจดีย์ค่ะ


DSC00434.jpg


อาคารจัตุรมุข วัดพญามังราย ลักษณะผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำย่อเก็จเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง ๔ ด้าน เดิมคงจะประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ มีโครงสร้างและเครื่องยอดหลังคาที่งดงามค่ะ


DSC00429.jpg


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า วัดพญามังราย ปัจจุบันยังขุดแต่ง-บูรณะเพียงเฉพาะด้านหน้าโดยที่ส่วนของกำแพงแก้วเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนตอนล่าง ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบันยังขุดแต่งขอบเขตกำแพงแก้วไม่ครบทุกด้าน ส่วนประตูโขงทำย่อเก็จในส่วนฐาน อันแสดงถึงว่าแต่เดิมเคยมีส่วนของเสาและสิ่งก่อสร้างในส่วนเครื่องหลังคา


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า
วัดพญามังราย เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ของวัดในเขตล้านนาโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะมีการสร้างเสริมขึ้นมาในระยะหลังก็ได้ ซึ่งการทำประตูโขงกำแพงแก้วที่สร้างล้อมรอบเขตพุทธาวาสของวัดนี้ พบหลักฐานการอ้างอิงถึงในเอกสารโบราณอย่างน้อยอยู่ในสมัยยุคทองของล้านนา-สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑) เป็นต้นมา ดังเช่นที่ได้กล่าวการสร้างกำแพงแก้วไว้ในประวัติวัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) อันเป็นสถานที่กระทำมหาสังคายนพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘ ของโลก ในวาระพุทธศาสนายังมีอายุครบ ๒,๐๐๐ปี ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๖. วัดพญามังราย




DSC00421.jpg



วัดพญามังราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเดินทางเข้าถึงจากสามแยกถนนสายเกาะกลางด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม เลาะเสียบถนนในหมู่บ้านตามแนวลำเหมืองก็ถึงบริเวณวัด ปัจจุบันวัดอยู่ในเขตที่ดินสวนลำไยของเอกชน แปลงเดียวกันกับวัดพระเจ้าองค์ดำ วัดหนานช้างและวัดปู่เปี้ย ที่ตั้งอยู่ห่างออกมาทางทิศใต้ตามลำดับ


DSC00432.jpg


ประวัติวัดพญามังราย วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (๔๕ องศา) เข้าหาลำแม่น้ำปิงสายเก่า (ปิงห่าง) ชื่อวัดพญามังราย เป็นชื่อเรียกที่ตั้งกันขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งที่อยู่ใกล้วัดกู่คำ-เจดีย์เหลี่ยม มีบริเวณแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดกับวัดพระเจ้าองค์ดำมากดังกล่าว จนดูเหมือนว่าเดิมเป็นวัดเดียวกัน ที่ผู้อุปถัมภ์วัดน่าจะมีสถานภาพทางสังคมในระดับสูง อาจจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายที่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงสามารถสร้างวัดที่มีสิ่งก่อสร้างหลายๆ แห่งในบริเวณเดียวกัน โดยก่อสร้างกันในระหว่างหมู่เครือญาติ หรือสร้างประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ประการสำคัญค่ะ


DSC00430.jpg


ฐานวิหาร วัดพญามังราย ค่ะ


วิหาร วัดพญามังราย ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐสอดินฉาบปูน มียกพื้นฐานสูงทำย่อเก็จลดทางด้านหน้า (เฉพาะข้างขวา-ข้างซ้ายเป็นบันได) ๒ ช่วง ส่วนบนวิหาร พื้นปูอิฐเดิม ปรากฏร่องรอยของฐานเสาแบบใช้ก้อนหินธรรมชาติรองรับ การที่วัดนี้มีวิหารมากหลังย่อมแสดงถึงคนหลายกลุ่มของสายตระกูลผู้อุปถัมภ์เดียวกัน ที่ได้เข้ามาทำกิจกรรมทำบุญฟังเทศนาธรรมกันมาก จึงได้สร้างวิหารไว้หลายหลัง วัดนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การสร้างวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้านหน้า แต่สร้างไว้ที่ด้านข้างซ้าย (เมื่อหันหน้าไปทางหน้าวัด) ตอนหน้า


DSC00431.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลัก อยู่ด้านข้างซ้ายทิศเหนือตอนหน้า วิหาร วักพญามังราย ค่ะ



DSC00433.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพญามังราย เป็นที่ทำย่อเก็จยื่นออกมาข้างหน้า เพื่อประดิษฐานพระประธาน ซึ่งปัจจุบันพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00414.jpg



DSC00419.jpg



พระเจดีย์
วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00418.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00416.jpg


DSC00417.jpg



รูปพระสังกัจจายน์จีน ประดิษฐานภายใน ซุ้ม ฐานองค์พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๕. วัดป่าเปอะ




DSC00404.jpg


วัดป่าเปอะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับวัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00403.jpg


ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00405.jpg


วิหารหลังใหญ่ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00408.jpg


วิหารหลังเล็ก วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00412.jpg


DSC00413.jpg



บรรยากาศภายใน วัดป่าเปอะ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-3 00:11 , Processed in 0.269799 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.