แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00075.jpg



ธัมศาลา พุทธานุภาพ ชุมนุมเทพสถิตย์ พ.ศ. ๒๕๒๓-๔๖ วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00932.jpg



หอระฆัง  วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00946.jpg



บาตรใส่ความชั่ว วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00930.jpg


อาคารเรียนปริยัติศึกษาโรงเรียน วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC00920.jpg


DSC01569.jpg



DSC01567.jpg



DSC00922.jpg



DSC01580.jpg



พระเจดีย์ ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


พระเจดีย์และวิหาร วัดศรีบุญเรือง สร้างเป็นแนวต่อเนื่องกันโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการก่อสร้างเดิม พระเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดระฆัง ก่ออิฐถือปูน ที่ผิวภายนอกประดับกระจกสีเหลืองอร่ามตลอดองค์


Rank: 8Rank: 8

DSC00936.jpg


รูปพระอุปคุตมหาเถระ พระอรหันต์ ผู้ปราบพญามารให้ลาภแก่คน ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00939.jpg


DSC00945.jpg



ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00940.jpg


รูปภาพของสมเด็จพระบรมครู หลวงพ่อกบเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และจิตรกรรมฝาผนังภาพครูบาเจ้าศรีวิชัย ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00941.jpg


พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และจิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00942.jpg


รูปภาพของครูบาเจ้าศรีวิชัย และพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ (เรียงจากซ้าย – ขวา) ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01576.jpg



DSC01584.jpg



วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


วิหาร วัดศรีบุญเรือง เป็นอาคารหลังคาหน้าจั่วมีส่วนปีกนก ๒ ข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูง ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดทางขึ้นลงหลักมี ๒ แห่ง คือทางตอนกลางในส่วนใต้จั่วหลังคาด้านหน้า และบันไดด้านข้างตอนกลางทิศเหนือที่ทำมุขมีหลังคายื่นออกมาเล็กน้อย

บันไดทั้ง ๒ สองแห่งตกแต่งตัวบันได ๒ ข้างเป็นรูปพญานาคปูนปั้นทาสี และประดับกระจกรวมถึงดินเผาเคลือบสีต่างๆ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ตกแต่งแผ่นปูนปั้นแบบรูปพญานาคในส่วนปั้นลมและหางหงส์

ในส่วนหน้าบันที่อื่นๆ ตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพรรณพฤกษาก้านขด-ดอกลาย มีทั้งแวดล้อมองค์พระพุทธรูป และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รวมถึงการทาสีและประดับกระจกอย่างสวยงาม เช่นเดียวกับการตกแต่งโขงประตูและโขงหน้าต่างทั้งหมด



DSC01600.jpg


DSC01589.jpg



DSC00935.jpg



พระพุทธรูปประธาน และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


พระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัด เปิดเผยว่า สาเหตุที่นำพระพุทธรูปจำนวน ๖ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุนับร้อยปีขึ้นแขวนในวิหาร ก็เพื่อป้องกันถูกคนร้ายขโมย ตอนแรกท่านคิดจะทำกรงหรือห้องในวิหารแล้วนำพระพุทธรูปไปเก็บไว้ แต่มาคิดว่าพระพุทธรูปท่านผิดอะไร ทำไมจะต้องทำกรงขัง ต่อมาจึงคิดออกว่าน่าจะนำไปแขวนไว้ข้างบนวิหารเสียเลย โดยใช้เชือกสลิงที่รับน้ำหนักได้มากมารั้ง มีพระหลายขนาด เป็นพระพุทธรูปสิงห์ ๑ เนื้อสำริดอายุนับร้อยปีหายาก ๕ องค์ และพระพุทธรูปแบบยืนปางลีลาอีก ๑ องค์

ซึ่งที่วัดศรีบุญเรืองแห่งนี้เคยถูกแก๊งโจรกรรมพระพุทธรูปเข้ามาโจรกรรมพระไปแล้วหลายครั้ง แต่เป็นพระพุทธรูปใหม่ ส่วนพระพุทธรูปสิงห์ ๑ ไม่ได้ถูกขโมยไป ทางวัดจึงตัดสินใจนำขึ้นแขวนไว้กับเพดานวิหาร ซึ่งหากคนร้ายคิดจะมาโจรกรรมก็จะทำได้ยาก สำหรับพระพุทธรูปดังกล่าวเหลืออยู่ที่วัดศรีบุญเรืองและอีก ๔-๕ วัดเท่านั้น ส่วนวัดอื่นที่เคยมีถูกขโมยไปหมดแล้วค่ะ



DSC00943.jpg



DSC00934.jpg


รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01573.jpg



พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี วัดศรีบุญเรือง ภิกษุศรัทธาวัดศรีบุญเรืองร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวาระครบ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ค่ะ


DSC00076.jpg


วิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ วัดศรีบุญเรือง อยู่ด้านหน้าวิหารหลวงค่อนมาทางใต้ค่ะ


DSC00947.jpg


หอพระไตรปิฏก (หอธรรม) วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวิหารค่อนมาทางทิศเหนือ ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนมีระเบียงโดยรอบ หลังคาทรงหน้าจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผาตอนบน และมีหลังคาคลุมส่วนระเบียงรอบทั้งสี่ด้านค่ะ


DSC00931.jpg


ผาสุกวิหารครูบาศรีวิชัย วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00074.jpg


DSC01585.jpg



วิหารพ่อขุนมังรายมหาราช วัดศรีบุญเรือง สร้างถวายพระราชมารดา คือพระนางเทพคำขยาย ในปี ๑๘๕๐ แล้วพระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่านทรงมาบูรณะใหม่ อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๒. วัดศรีบุญเรือง




DSC00902.jpg


DSC00954.jpg



วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ในเขต ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เส้นทางสะดวกที่เดินทางเข้าวัด คือตามเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนสายเกาะกลาง กับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (๑๐๖) โดยวัดอยู่ใกล้ปากทางเชื่อมถนนสายเกาะกลางฝั่งทิศใต้ สภาพพื้นที่แวดล้อมโดยทั่วไปภายในบริเวณวัดเป็นสิ่งก่อสร้างพุทธศาสนาต่างๆ โดยรอบวัดเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนของชุมชน

บริเวณวัดนี้เรียงตัวอยู่ตลอดชายแนวตลิ่งน้ำแม่ปิงสายเดิม (ปิงห่าง) อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ จากข้อมูลของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (๒๕๔๙) ท่านพระครูสุเทพสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะตำบลหนองหอย ได้ทราบว่ากลุ่มพระเจดีย์และวิหารของวัดสร้างอยู่ในจุดที่ตั้งของพระเจดีย์และวิหารของวัดร้างมาแต่เดิม ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งฟากแม่น้ำปิง (ห่าง) กับเขตตัวเวียงกุมกาม ถือเป็นวัดเขตนอกเมืองด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามค่ะ


DSC00929.jpg


ประตูทางเข้า/ออก วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00905.jpg


พระเจ้าทันใจ วัดศรีบุญเรือง ค่ะ  


DSC00911.jpg



DSC01603.jpg



DSC01602.jpg



ศาลาเก๋งจีน วัดศรีบุญเรือง ภายในประดิษฐานรูปพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00711.jpg


DSC00712.jpg



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00710.jpg


หอธรรม วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00715.jpg



อาคารอเนกประสงค์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00709.jpg



ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสาหิน ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00708.jpg



วิหารใหม่ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00702.jpg


อุโบสถ วัดเสาหิน สร้างหันหน้าขวางแนวทิศหน้าวัด คือทิศตะวันตก (เฉียงเหนือ) ค่ะ


ประวัติอุโบสถ วัดเสาหิน ในสมัยพญาสามฝั่งแกน (กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๘) ที่ได้โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นที่วัดหนึ่งทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าวัดทางด้านเหนือที่กล่าวถึงนั้นจะเป็นวัดในเขตตัวเวียงกุมกาม หากว่าเป็นวัดนอกเขตเวียงกุมกาม (คนละฝั่งแม่น้ำปิงห่าง) ก็มีอยู่หลายวัด คือวัดศรีบุญเรือง วัดกู่ขาว วัดพันเลา หรือวัดสันป่าเลียง ล้วนอยู่ด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามทั้งสิ้น และที่มีการตีความกันในแผ่นป้ายประวัติวัดว่า เสาหิน คือหลักสีมาของอุโบสถนั้นเอง



DSC00704.jpg



DSC00706.jpg



DSC00707.jpg



ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน ค่ะ


ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูนทรงจตุรมุขประยุค ยกพื้นสูง ๑ เมตร ขนาดความกว้างของตัวอาคาร ๘ คูณ ๘ เมตร ความกว้างของฐานด้านนอก ๘๐๘ เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงยอดฉัตรประมาณ ๑๕ เมตร ประดับช่อฟ้าใบระกา ดอกปูนปั้นประดับกระจกสี

เสาหินจำลอง รูปทรงแปดเหลี่ยมขนาด ๑๒ นิ้ว สูง ๑.๙๙ เมตร ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๓ เวลา ๑๓.๐๙ น. โดยมีพระญาณสมโพธิเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประธานฝ่ายสงฆ์ และได้ทำบุญฉลองสมโภชถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ ก.พ. ๒๕๔๗

มีความสำคัญเกี่ยวกับเวียงกุมกามที่พญามังรายได้ก่อสร้างขึ้นก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงใหม่ที่อยู่ทิศเหนือของเวียงกุมกาม ตามตำนานเล่าขานของคนโบราณท่านว่า เมื่อเวียงกุมกามล่มสลายไปแล้ว ที่ใดก็ตามถ้ามีเสาหินปรากฏขึ้นในบริเวณอาณาเขตเวียงกุมกาม และมีคนเคารพกราบไหว้บูชา เวียงกุมกามที่ล่มสลายไปแล้วจะฟื้นกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง


Rank: 8Rank: 8

DSC00697.jpg


DSC00698.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำ พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00694.jpg



กู่อัฐิ อยู่ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00699.jpg



DSC00696.jpg



วิหาร วัดเสาหิน เป็นอาคารขนาดค่อนข้างเล็ก ยกพื้นส่วนฐานทำสูงขึ้นมามาก เป็นการป้องกันน้ำท่วม ตัวหัวบันไดเป็นรูปนกการเวกและตัวนรสิงห์ด้านหลัง อิทธิพลศิลปะพม่า ที่เข้าใจว่าซ่อมใหม่ในสมัยเดียวกับพระเจดีย์ประธาน ด้านหน้าวิหาร หันไปทางทิศเหนือค่อนมาทางตะวันออก ไม่ได้หันไปทางทิศตะวันออกตามคติก่อสร้างวัดดั้งเดิม อีกทั้งไม่ได้หันเข้าสู่แม่น้ำปิงห่าง (ทิศใต้ของวัด)

การประดับตกแต่งในส่วนต่างๆ ของวิหาร กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของล้านนาดั้งเดิม กล่าวคือทรงหลังคาทำลดหน้าและหลัง โครงสร้างหน้าแหนบหรือหน้าจั่วแบบม้าต่างไหม มุงกระเบื้องดินขอ ปากนกแก้วหรือปากแล ตกแต่งส่วนปิดส่วนคอสองด้านหน้า ส่วนหน้าแหนบหรือหน้าบันตกแต่งลายไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกแก้ว (แก้วอังวะ) เป็นรูปดอกประจำยาม รวมถึงในส่วนของปีกนกทั้งสองข้าง โก่งคิ้ว หูข้าง ฯลฯ


ปัจจุบันผนังด้านหลังวิหาร มีรอยผุกร่อนแตกร้าว ควรหางบประมาณมาซ่อมบูรณะโดยด่วนต่อไป เนื่องจากผนังด้านหลังวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยล้านนาที่สวยงามมาก ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรภาพจิตรกรรม และที่ผ่านมากรมศิลปากรก็ได้เข้ามาซ่อมและอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมวัดเสาหินนี้ไว้แล้ว แต่ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวกันมากนักค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๑. วัดเสาหิน




DSC00686.jpg


วัดเสาหิน ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ของตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อกับเขตตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี อันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียงกุมกามทางด้านทิศใต้ บริเวณวัดตั้งอยู่บนเนินที่มีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านทิศเหนือ และสองข้างด้านตะวันตกและตะวันออก ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรอยู่แวดล้อมยกเว้นแนวทางด้านทิศใต้ ด้านหลังวัดห่างออกไปที่เป็นบริเวณที่สูง และเป็นแนวตลิ่งของสายน้ำแม่ปิงแต่เดิมที่เคยไหลผ่านทางด้านแนวทิศเหนือของเวียงกุมกาม

ผังรูปแบบการสร้างวัดเสาหิน วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจดีย์และวิหาร เป็นกลุ่มโบราณสถานที่เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมภายในวัด แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงการก่อตั้งวัดนี้ในอดีต


DSC00687.jpg



ประตูทางเข้า/ออกด้านหลัง วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00689.jpg



DSC00688.jpg


ศาลาพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดเสาหิน ค่ะ



DSC00691.jpg



DSC00693.jpg



พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


พระเจดีย์ วัดเสาหิน มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะแบบพม่า โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๕ ที่คนพม่าได้เข้ามารับจ้างสัมปทานตัดไม้ในเขตภาคเหนือ จากความเชื่อว่าเรื่องเทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตกับต้นไม้ ประกอบกับความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าอยู่แล้ว ก็ได้มาซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพทรุดโทรม ทั้งในเขตเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองสำคัญอื่นๆ ในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา

ต่อมาในระยะหลังประมาณหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ในระยะต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เดินทางเข้ามาครองเมืองเชียงใหม่หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ร้างไปแล้วรวม ๒๐ ปี แต่รูปทรงการประดับตกแต่งในรุ่นก่อนหน้าขึ้นไป จึงไม่อาจทราบหรือสันนิษฐานกันได้ เพราะว่าได้สร้างหรือซ่อมทับเอาของเดิมไว้ภายใน โดยอาจจะขยายขนาด หรือก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมในรุ่นหลังมาก็ได้ ดังนั้นการพิจารณารูปทรงโครงสร้าง และลักษณะทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏในปัจจุบันล้วนเป็นผลงานการซ่อมเสริมในระยะหลังมาทั้งสิ้น


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-17 14:15 , Processed in 0.053661 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.