แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

๖. วัดกู่มะเกลือ




DSC00078.jpg


วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่บ้านเสาหิน ตำบลบ้านหนองผึ้ง อยู่ในเขตกำแพงเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก ห่างจากคูเมืองไปทางตะวันตก ประมาณ ๕๐ เมตร วัดกู่มะเกลือเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกตามต้นมะเกลือใหญ่อยู่บนเนินวัดค่ะ


DSC00081.jpg


ศาลพระภูมิ วัดกู่มะเกลือ ค่ะ


DSC00079.jpg



DSC00082.jpg



ฐานวิหาร วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้ายกเก็จ ๓ ชั้น และด้านหลังวิหารยกเก็จ ๒ ชั้น มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน ๒ สมัย

โบราณวัตถุสำคัญที่ขุดพบที่วัดกู่มะเกลือ คือพระพุทธรูปปูนปั้น และชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด ลักษณะคล้ายวัดปู่เปี้ย วัดอีค่าง และวัดกู่ไม้ซ้ง มีอายุก่อสร้างสมัยล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ค่ะ


DSC00088.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดกู่มะเกลือ มีการปูอิฐเป็นรูปครึ่งวงกลมค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๕. วัดกู่ต้นโพธิ์




DSC00089.jpg


วัดกู่ต้นโพธิ์ ชื่อวัดชาวบ้านสมัยก่อนเรียกเนื่องจากบริเวณนี้เป็นวัดที่มีต้นโพธิ์ขึ้น แต่ปัจจุบันต้นโพธิ์ตายลงไปแล้ว และมีการปรับไถที่ดินบริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์เป็นที่ดินของชาวบ้านแถวนี้ ชาวบ้านก็สร้างบ้านทับที่ดินบริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์ ซากโบราณสถานของวัดกู่ต้นโพธิ์เลยสูญหายไปเหลือแต่ซากอิฐเล็กๆ ที่พอจะให้เห็นบ้างค่ะ



DSC00096.jpg



คุณลุงเจ้าของบ้าน ที่อยู่ติดกับเสาป้ายชื่อวัดกู่ต้นโพธิ์ ท่านเล่าว่าเดิมประมาณ ๑๐ กว่าปีมาแล้วที่บริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์ถูกไถปรับถมที่ดินเพื่อเป็นที่ดินของชาวบ้านค่ะ  


DSC00092.jpg



DSC00095.jpg


บริเวณที่ต้นโพธิ์ถูกปลูกไว้ อยู่ภายในบ้านคุณลุง ซึ่งก็คือวัดกู่ต้นโพธิ์ค่ะ


DSC00093.jpg


DSC00094.jpg



ร่องรอยซากอิฐ วัดกู่ต้นโพธิ์ ซึ่งถูกทับถมบนพื้นถนนบริเวณหน้าบ้านคุณลุงค่ะ


Rank: 8Rank: 8


DSC01052.jpg


ฐานอาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก และอุโบสถ ด้านทิศเหนือของวิหาร วัดหัวหนอง บริเวณนี้ได้พบชิ้นส่วนของศิลาจารึกฝักมะขาม นับว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและศิลปะอื่นอีกในบริเวณนี้ แต่อาจถูกทำลายไปแล้วค่ะ


DSC01050.jpg


ฐานอาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก  วัดหัวหนอง เข้าใจว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างเสริมเพิ่มเติมกันมาหลายสมัยค่ะ



DSC01056.jpg



ด้านบน อาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง  มีร่องรอยประตูโขงของอาคารเหลืออยู่ค่ะ


DSC01051.jpg


ฐานอุโบสถ วัดหัวหนอง อยู่ด้านทิศเหนือของวิหารด้านตะวันออกค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01031.jpg


เดี๋ยวเราจะมาเดินสำรวจโบราณสถานกลุ่มที่ห้า วัดหัวหนอง ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของกลุ่มที่สี่ เดินตรงมาเรื่อยๆ เลยนะคะ


DSC01033.jpg



พื้นที่ทางตะวันออกติดกับกำแพงวัด วัดหัวหนอง พบซากคูหามากมายและบ่อน้ำ สันนิษฐานว่าเป็นหมู่กุฏิสงฆ์ ในเขตสังฆาวาส ใกล้กันนั้นเป็นเขตพุทธาวาสค่ะ


DSC01035.jpg


ฐานพระเจดีย์ และฐานวิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดเชื่อมต่อวิหาร ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการเสริมพื้นวิหารให้สูงขึ้นและขยายขนาดวิหารค่ะ


DSC01045.jpg


ฐานพระเจดีย์ด้านตะวันออก วัดหัวหนอง อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ


DSC01047.jpg



ร่องรอยฐานชุกชีพระประธานเดิม วิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01048.jpg


ด้านบน วิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ยังคงเหลือร่องรอยเสาหินของวิหารอยู่ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01021.jpg


พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ด้านหลัง วิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวัด มีแท่นบูชาอยู่ด้านหน้า-หลังของพระเจดีย์ช้างล้อมด้วยค่ะ  


DSC01014.jpg



พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง เป็นลักษณะร่วมกันกับศิลปะสถาปัตยกรรมลังกา ที่รับผ่านเข้ามาทางแคว้นสุโขทัยในระยะต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งการพบหลักฐานเจดีย์สร้างครอบทับซ้อนกัน เช่นเจดีย์ช้างล้อมองค์นี้ น่าจะทำในสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๔๕ - ๑๙๘๕) เป็นต้นมา เพราะล้านนามีสำนักสงฆ์กลุ่มใหม่ (สายวัดป่าแดง) ที่ขัดแย้งกับสำนักสงฆ์กลุ่มเดิม (สายวัดสวนดอก) ค่ะ


DSC01016.jpg


ฐานพระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง เป็นเจดีย์ลักษณะทรงปราสาทจีน อยู่บนฐานปัทม์ลูกแก้วอกเก้า  มีประติมากรรมรูปช้างมอบในท่าคู้ขาหน้าอยู่ที่ฐาน ถูกซ่อมแซมมาแล้วอย่างน้อยหลายครั้ง จึงทำให้ช้างถูกปิดทับไว้ ปัจจุบันเปิดให้เห็นเฉพาะด้านทิศใต้ค่ะ


DSC01017.jpg



รูปปั้นช้างล้อม พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01028.jpg



ฐานเจดีย์เล็ก อยู่ด้านทิศใต้ วิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01005.jpg


DSC01007.jpg



ศาลพระภูมิ อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01008.jpg



ทางเดินไปยังกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่หนึ่ง วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ในเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ของวัดค่ะ


DSC01009.jpg


ฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง เป็นกลุ่มอาคารประธานซึ่งพังทลายหมดแล้ว วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกค่ะ


DSC01011.jpg



DSC01010.jpg



ด้านบน ฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง เราจะเห็นซากฐานซุ้มประตูและส่วนฐานชุกชีพระประธานที่เหลืออยู่ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01040.jpg


ซากฐานอาคาร วัดหัวหนอง อยู่ด้านหลัง ซุ้มประตูโขงด้านทิศเหนือค่ะ


DSC01038.jpg


ซากฐานอาคาร โบราณสถานกลุ่มที่สี่ วัดหัวหนอง อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มโบราณสถานกลุ่มที่สองค่ะ


DSC01037.jpg


ฐานซุ้มประตู อยู่ติดกับแนวกำแพงแก้วซากฐานอาคาร โบราณสถานกลุ่มที่สี่ วัดหัวหนอง

เดี๋ยวเราจะไปสำรวจกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่สอง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างโบราณสถานกลุ่มแรกกับแนวแม่น้ำปิงต่อนะคะ


DSC00997.jpg


DSC01000.jpg



กลุ่มฐานอาคารด้านตะวันตก วัดหัวหนอง เป็นฐานวิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือมีทางเดินเชื่อมมณฑปฐานปัทม์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จค่ะ


DSC01011.jpg


ด้านบน วิหารด้านตะวันตก วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01002.jpg



ทางเดินเชื่อมวิหารกับมณฑปฐานปัทม์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จ ด้านหลัง วิหารด้านตะวันตก วัดหัวหนองนี้ยังมีอาคารเพิ่มต่ออย่างซับซ้อนค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๔. วัดหัวหนอง




DSC00991.jpg


วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม ชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิประเทศของหนองน้ำ ซึ่งใกล้กับลำน้ำแม่ปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ที่เคยไหลผ่านทางด้านเหนือของวัด สภาพทั่วไปแวดล้อมสวนลำไย ที่นา และบ้านจัดสรร ในปัจจุบันได้รับการขุดแต่ง-บูรณะแล้ว เนื้อที่ของวัดมีจำนวนกว่า ๔ ไร่


DSC00994.jpg


สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานในเขตวัดหัวหนอง มีกลุ่มโบราณสถานกระจายตัวถึง ๕ กลุ่ม ที่แต่ละกลุ่มมีสิ่งก่อสร้างที่แตกต่างกัน กล่าวคือ


กลุ่มที่หนึ่ง   ตั้งอยู่ในเขตทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของวัด
กลุ่มที่สอง   ตั้งอยู่ระหว่าง โบราณสถานกลุ่มแรกกับแนวแม่น้ำปิง
กลุ่มที่สาม   อยู่ด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ใกล้ชิดลำน้ำแม่ปิงสายเดิม
กลุ่มที่สี่       อยู่ด้านหลังทิศใต้โขงประตูวัด
กลุ่มที่ห้า     อยู่ทางด้านตะวันออกของกลุ่มที่สี่ จัดเป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างมากแห่งที่สุดในเขตเวียงกุมกาม


หลักฐานโบราณวัตถุที่พบวัดหัวหนอง คือเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่เป็นศิลปะล้านนา-พะเยา, เศียรพระพุทธรูปสำริดอิทธิพลศิลปะสุโขทัย, เศียรพระพุทธรูปสำริดอิทธิพลศิลปะเชียงแสน, เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น, และชิ้นส่วนพระพุทธรูปอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงภาชนะดินเผาประเภทน้ำต้น (คนโฑ) แบบหริภุญไชย, เครื่องถ้วยลายครามของจีน และจารึกอักษรล้านนา (ตั๋วเมือง) บนแผ่นอิฐ ฯลฯ


อนุมานจากหลักฐานสิ่งก่อสร้างต่างๆ วัดหัวหนอง ที่มีจำนวนมากแห่ง และมีรูปแบบแผนผังการก่อสร้างที่สลับซับซ้อนหลายกลุ่มดังกล่าว จึงอาจสมมติฐานได้ว่าวัดหัวหนองน่าจะเป็นวัดหลวงประจำวัง เพราะมีสิ่งก่อสร้างมากแห่งกระจายตัวในกลุ่มใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันยังขุดแต่งไม่หมด โดยเฉพาะการตามหาแนวขอบเขตกำแพงวัดต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความสำคัญในอดีตของวัดหัวหนองได้โดยแท้

เรามาเดินสำรวจกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่สาม อยู่ด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ใกล้ชิดลำน้ำแม่ปิงสายเดิมก่อนนะคะ



DSC00988.jpg


DSC00995.jpg



ซุ้มประตูโขง และแนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง ค่ะ


แนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง เป็นช่องทางเข้า/ออกวัด สร้างก่ออิฐถือฉาบปูน มีส่วนฐานและห้องลักษณะร่วมกับวัดล้านนาหลายๆ แห่ง ซึ่งสามารถกำหนดอายุได้ในช่วงเวลาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ซุ้มประตูโขง วัดหัวหนอง อยู่ที่กำแพงด้านทิศเหนือ บริเวณท่าน้ำแม่ปิง ที่ฐานประตูประดับลวดลายปูนปั้นอย่างสวยงามมีรูปหงส์  กิเลน ลายดอกไม้ ใบไม้ และลายประจำยามตามชั้นในส่วนย่อเก็จย่อมุมต่างๆ และมีร่องรอยการก่อสร้างทับซ้อนกันค่ะ


DSC00102.jpg



ลายรูปสัตว์หิมพานต์ และประจำยามก้ามปู ซุ้มประตูโขงด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC00996.jpg


เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูโขง จะมีทางเดินปูอิฐสู่บริเวณภายในซากโบราณสถานกลุ่มที่สี่ อยู่ด้านหลัง ทิศใต้โขงประตู วัดหัวหนอง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00965.jpg


ปล้องไฉนเจดีย์ วัดพันเลา ลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ค่ะ


DSC00976.jpg


ซากแนวกำแพงแก้ว วัดพันเลา ค่ะ


DSC01557.jpg


เดินตามทางอิฐส่วนซากกำแพงที่เหลืออยู่จะพบบ่อน้ำก่ออิฐรูปโดม ด้านเหนือตอนหน้า วัดพันเลา อยู่ด้านซ้ายติดกับกำแพง เมื่อก่อนจะเป็นสิ่งก่อสร้างก่ออิฐทรงกลมกลวงใน แต่ตอนนี้มีดินและเศษหญ้าอยู่ภายในค่ะ



DSC01553.jpg


DSC01563.jpg



ฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตอนหลัง วัดพันเลา ที่เหลืออยู่กระจัดกระจายภายหลังการบูรณะ พ.ศ.๒๕๔๖ (ฐานอาคารยังจมอยู่ในชั้นทรายแม่น้ำปิงพัดพา) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

๓. วัดพันเลา




DSC01550.jpg



วัดพันเลา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ฝั่งด้านใต้ติดถนนเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนเชียงใหม่-ลำพูน (๑๐๖) กับถนนสายเกาะกลาง ตรงกันข้ามกับสำนักงานทนายความ ขึ้นบัญชีเป็นวัดร้างกรมศาสนา กรมศิลปากรจ้างเหมาเอกชนเข้าไปขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๔๖ สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชุมชน โดยทางด้านทิศใต้ใกล้เคียงกับวัด เป็นแนวเส้นทางแม่น้ำปิงสายเก่า (ปิงห่าง) อยู่นอกเขตเวียงกุมกามไปทางทิศเหนือของแม่น้ำปิง ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่นอน


DSC01555.jpg


ประวัติวัดพันเลา เป็นวัดร้างชื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา วิเคราะห์จากชื่อวัดที่มีคำว่า พัน นำหน้านั้น น่าจะหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง ที่เดิมวันนี้อาจจะเป็นวัดในอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ เลา วัดนี้ไม่พบหลักฐานการก่อสร้างด้านบันทึกเอกสาร แต่จากรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่จากการขุดแต่งนั้น ไม่พบพระเจดีย์ วิหาร อันเป็นตัวแทนของสิ่งก่อสร้างประเภทวัดอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลในพื้นที่ ระบุว่าส่วนองค์เจดีย์นั้นอยู่ในเขตพื้นที่ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่ติดกันทางด้านตะวันตก ซึ่งผลของการขุดแต่งในปัจจุบันยังพบส่วนฐานของอาคาร ที่ยังไม่ได้ขุดแต่งต่อเนื่องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

จากการจ้างเหมาขุดแต่งวัดพันเลาของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ นั้น ได้พบซากเหลือของฐานอาคารกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณวัด นับจำนวนอาคารได้ ๑๑ หลัง ที่มีทั้งอยู่ภายในและสร้างติดกับส่วนกำแพง หลักฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เหล่านี้ยากต่อการสันนิษฐานรูปแบบการก่อสร้างได้อย่างชัดเจน เพราะมีสภาพพังทลายจากการไถปรับพื้นที่

วัดพันเลา มีกลุ่มศาสนสถานแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือพื้นที่ส่วนแรก เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก-ตะวันตก และพื้นที่ส่วนที่สอง เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ กล่าวได้ว่ามีการบูรณะต่อเติมอย่างต่อเนื่อง นับเป็นวัดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไว้

โบราณวัตถุที่สำคัญที่ขุดพบที่วัดพันเลา ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ คือเศียรพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง สูง ๖๗.๓ เซนติเมตร ศิลปแบบเชียงแสน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ค่ะ



DSC01559.jpg


DSC01564.jpg



DSC01565.jpg



DSC00963.jpg



ฐานอาคารด้านเหนือตอนหน้า พื้นที่ส่วนแรก วัดพันเลา ค่ะ


ฐานอาคารด้านเหนือตอนหน้า พื้นที่ส่วนแรก วัดพันเลา เป็นฐานอาคารที่ซับซ้อนอยู่ต่ำลงพื้นดินปัจจุบันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร บริเวณวัดได้รับความเสียหายโดยทั่วไป เนื่องจากการไถปรับพื้นที่ ปัจจุบันซากโบราณสถานสภาพส่วนหนึ่งอยู่ใต้ถนน อีกส่วนหนึ่งยังอยู่ใต้ดินของบ้านราษฏร ทำให้ไม่สามารถศึกษารูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 18:29 , Processed in 0.162319 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.