แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00133.jpg



DSC00134.jpg



DSC00139.jpg



DSC00140.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00142.jpg



สภาพจำลองระบบการผันน้ำในล้านนา
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00128.jpg



ห้องที่ ๓ ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00136.jpg



ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา มีป้ายประวัติคำแปลเป็นภาษาไทย กล่าวว่า...


“นโมตสส ภควโต อันว่าพระเสลาจาฤก เจ้าท้าวสองแสนนาอันธรรมิการาช ผู้เป็นลูกรักแก่พระยาผายูเป็นหลานพระยาคำพูเป็นเหลน พญามังรายหลวงเจ้าท้าวนิรมิตร สุชะนะมาพิธีปีเดือนมาพอตนดั่งอั้น จึงได้เสวยราชไชยศรีมีบุญเดชะตะบะหนักหนา เป็นพระยาธรรมิกราช อาจบังเกิดในศาสนาศรัทธา พระศรีระตะนะตรัย แลจึ๋งให้ไปอารธนานิมนต์พระมหาเถระเป็นเจ้าผู้หนึ่ง ชื่อมหาครูสุมนเถระอันอยู่ในสุโขทัย คาบนั้นบ่มิได้มาและพลอยจึงให้ไปอารธนาหน่วงเหนี่ยวพระมหาเถระเป็นเจ้าด้วยความเคารพหนักหนา

คาบหนึ่งโสด คาบนั้นท่านเป็นเจ้าจึ่งลีลามาด้วยศิษย์ตนคนล้านผู้ดีย่อม อริยสงฆ์ทรงศิลาจาริย์อุกฤตนักหนา พระมหาเถระเจ้านั้นโสดประกอบด้วยอริยบทอันดี มีอินทรีย์ล้านทรงอรรถและธรรมทั้งหลาย รู้สั่งสอนคนเข้าในตรัยสรณคม และผู้ใดจะจำไปในจตุราบายนรกไซร์ท่านยกออกหนทางสวรรค์ ด้วยอันว่าในจำศีลภาวนากระทำเพียน เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้น ในปีระกาเดือนเจี่ยงวันศุกร์ วันตนเป็นเจ้าจักมาถึงนั้น ท่านพระยาธรรมิกราชปรินิพพานด้วยฝูงรายโยธามหาชนพลลูกขุนมาตรีทั้งหลายยายกันให้ถือจ่อธงข้าวตอกดอกไม้ เตียน ตีพาทย์ ตังพิณ ฆ้องสะระไนยไชยทะโกลาหลแตรสังข์พานกังสะดานมะระทงดงเดียดเสียงกลองทั้งคนร้องปรีดาสะท้านทั่วทั่งหริภุญไชย

แลจึ่งไปรับมหาเถระเป็นเจ้าอัญเชิญเข้ามา ในวิหารโอยทานเวนกุฏิสถานอาวาสนี้แก่มหาเถระเป็นเจ้า แล้วจึ่งบำเรอพระมหาเถระเจ้าและฝูงสงฆ์ทั้งหลาย ด้วยจตตุปัจจัยล้วนดี ฝูงชนอันอยู่ในเมืองหริภญไชยก็ดี ฝูงชนอันอยู่ภายในกุมกามมีเชียงใหม่พ้นก็ดี ฝูงคนทั้งหลายเขามีใจศรัทธาแก่พระมหาเถระเป็นเจ้าตนนั้น จึงบังเกิดศรัทธาบุญธรรมนักหนา พระมหาเถระเป็นเจ้ามาอยู่บมินานเท่าใดท่านจึงรำเพิงไปมาพิจารณา (ตอนนี้ศิลาชำรุดแตกออกไม่มีตัวอักษร) กับพระพุทธรูปอันสถิตย์อยู่ด้าน (ศิลาแตกชำรุดอีก แต่ยังมีส่วนต่อไปอีก ๒ –๓ บรรทัดยังฝังอยู่ในฐานที่ก่อหุ้ม)”



DSC00138.jpg



ศิลาจารึก วัดกานโถม พร้อมป้ายคำแปลภาษาไทย ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


คำแปลศิลาจารึก วัดกานโถม กล่าวว่า...


“พ.ศ.๒๐๓๒ เจ้าหมื่นจ่าบ้าน เข้าเฝ้ากษัตริย์เชียงใหม่ กษัตริย์ฯรับสั่งจัดคน ๔ หมู่บ้าน (เดิม ๗) ซึ่งเป็นข้าคนของอาจารย์กานโถมไว้เพื่อดูแลพระพุทธรูปที่วัดกานโถมพร้อมกันนี้ นางบุญยวงได้ถวายข้าคน ๑๒ คน และหมู่บ้าน ๔ หมู่บ้านแด่พระพุทธรูปด้วย พ.ศ. ๒๐๔๒ นางบุญยวงหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์น้ำหนักประมาณ ๑๕๐ กก. ประดิษฐาน ณ วัดกานโถม และทำพินัยกรรมว่า หลังจากเสียชีวิตแล้วสมบัติของนางมอบถวายแด่พระพุทธรูปองค์นี้”


DSC00130.jpg



DSC00131.jpg



DSC00132.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00119.jpg



พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00120.jpg



แผนผังห้องจัดแสดงต่างๆ เกี่ยวกับเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


รายละเอียด

ห้องที่ ๑    เป็นโถงต้อนรับ
ห้องที่ ๒    เป็นห้องประวัติพญามังราย
ห้องที่ ๓    เป็นห้องประวัติเวียงกุมกาม
ห้องที่ ๔    เป็นห้องโบราณสถาน
ห้องที่ ๕    เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา
ห้องที่ ๖    เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน


DSC00122.jpg


ห้องที่ ๒ ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00123.jpg



DSC00127.jpg



อนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00124.jpg



ป้ายข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายมังรายศาสตร์ ภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๕. พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม




DSC00113.jpg



DSC00114.jpg



จากถนนวงแหวนรอบกลาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เราจะเห็นป้ายชื่อ พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม อยู่ด้านซ้ายติดริมถนนเลยค่ะ


DSC00115.jpg



ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เดี๋ยวเราเข้าไปข้างในกันเลยนะคะ


DSC00116.jpg



ภายใน บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เดี๋ยวเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและถ่ายรูปโบราณวัตถุที่กรมศิลปกรขุดพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ แล้วนำมาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบางส่วนค่ะ


DSC00117.jpg



ร้านขายของ ภายใน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม แต่วันนี้ปิดเกือบทุกร้านดูเงียบมากๆ เลยค่ะ


DSC00118.jpg



สำนักงานศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เบอร์ติดต่อ ๐๕๓-๒๗๗๓๒๒ ค่ะ


รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการนำชม “เวียงกุมกาม”

๑. รถม้า  ๒๐๐ บาท
๒. รถราง ๑ – ๕ คน ๒๕๐ บาท / ๖ – ๑๐ คน ๓๐๐ บาท / ๑๑ – ๑๕ คน ๓๕๐ บาท / ๑๖ ขึ้นไป ๔๐๐ บาท



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00107.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


พระเจดีย์ วัดกู่ป้าด้อมเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน ที่มีลักษณะเขียงสี่เหลี่ยมรองรับชั้นหน้ากระดานแบบย่อเก็จ ๒ ชั้น จากรูปแบบการก่อสร้างในส่วนฐานเจดีย์ประธาน ที่ทำชั้นย่อเก็จ ๒ ชั้นของส่วนฐานปัทม์ตอนล่างนั้น พิจารณาว่าเป็นไปได้ทั้งรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงมณฑปในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา เช่นเดียวกับเศียรพระพุทธรูป (ชำรุด) ที่พบขณะขุดแต่งที่มีลักษณะแบบพระสิงห์รุ่นแรกและรุ่นหลังและพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง


DSC00108.jpg


แท่นบูชา วัดกู่ป้าด้อม ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระเจดีย์ เป็นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมผืนผ้าท้องไม้แบบมีชั้นลูกฟักคู่ค่ะ


DSC00109.jpg


กำแพงแก้วด้านหลังตอนเหนือ วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม พบหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนขาว ส่วนของกำแพงมีบังหลังเจียด (หลังเต่า) ตอนบน ส่วนโขงประตูทางเข้าออกด้านหน้า และแนวด้านหลังสร้างเว้นส่วนแท่นบูชาออกมา มีเครื่องยอดแต่พังทลายลงหมดแล้ว และมีร่องรอยของช่องสอดวงกบไม้ที่แสดงถึงว่าแต่เดิมเคยติดตั้งบานประะตูไม้ปิดเปิดได้ค่ะ


DSC00685.jpg



กลุ่มอาคารด้านทิศเหนือ ภายนอกกำแพง วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม อันเป็นกลุ่มอาคารที่สร้างในแกนเดียวกับแนวเจดีย์ประธาน-พระวิหาร โดยมีอาคารหลังหนึ่งด้านหลังก่อสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดำเนินงานขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๖

ด้านทิศเหนือใกล้กับแนวกำแพงแก้ว วัดกู่ป้าด้อม เป็นที่ตั้งของกลุ่ม(ฐาน) อาคาร ๓ หลัง วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออก อีกทั้งทางด้านหลังตอนขวาของวัดได้พบกลุ่มอาคารที่สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันยังคงมีแนวสิ่งก่อสร้างฝังตัวเข้าไปใต้ถนนที่ได้สร้างผ่านทับเขตวัดด้านตะวันตก

สิ่งที่น่าสนใจของวัดกู่ป้าด้อม นอกจากระดับความลึกของพื้นดินเดิมของวัดที่ลึกเฉลี่ยถึง ๒ เมตรแล้ว จำนวนโบราณสถานโดยเฉพาะอาคารวิหารใหญ่/เล็กต่างๆ มีจำนวนมากถึง ๖-๗ หลัง รวมถึงสภาพเดิมของกำแพงวัด และกำแพงแก้วที่ยังคงมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ (ปัจจุบันยังขุดแต่งไม่ครอบคลุมตลอดทั่วบริเวณวัด)

โบราณวัตถุสำคัญที่ถูกขุดพบวัดกู่ป้าด้อม
คือ พระพิมพ์แบบหริภุญไชย และเศียรพระพุทธรูปสำริดแบบสิงห์หนึ่ง ขุดแต่งพบที่วัดกู่ป้าด้อม ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ค่ะ



DSC00110.jpg


กลุ่มอาคาร / สิ่งก่อสร้างที่หันไปด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม มีร่องรอยการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย ข้างบนบันไดพบหลักฐานเทวดาปูนปั้น (ชำรุด) ลักษณะนั่งขัดสมาธินุ่งผ้ามีลายคล้ายกับเทวดาปูนปั้นบางองค์ของวัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) เมืองเชียงใหม่ ซึ่งตอนนี้กรมศิลปากรฝังเก็บไว้ใต้ดินที่เดิมที่ค้นพบแล้วค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8


DSC00683.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม อยู่ใกล้กับวิหารหลวงและพระเจดีย์ ตรงบันไดอาคารวิหารเล็กมีลายปูนปั้นแบบนูนต่ำลวง (นาคพื้นเมือง) ค่ะ


DSC00103.jpg



ลายปูนปั้นแบบนูนต่ำลวง (นาคพื้นเมือง) บันได อาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


DSC00111.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็กด้านทิศตะวันตก วัดกู่ป้าด้อม อยู่ด้านหลัง อาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือกำแพงแก้วที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตกค่ะ


DSC00684.jpg



ฐานวิหารหลวง
วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดกู่ป้าด้อม สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานในบริเวณวัดประกอบด้วย พระเจดีย์และวิหาร ซึ่งวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าพระเจดีย์ และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก


DSC00104.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้าตอนกลางทางเข้า วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม เป็นแบบมีราวและหัวบันไดตกแต่งรูปตัวหางวันค่ะ


DSC00105.jpg



ด้านข้าง วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม จะเห็นบันไดเล็กที่ช่องย่อเก็จตอนหลังทั้งสองข้างค่ะ


วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม ลักษณะฐานสร้างยกพื้นไม่สูงมากทำย่อเก็จลดทั้งด้านหน้าและหลัง พื้นตอนบนพบร่องรอยการปูอิฐ และฉาบปูนขาว


DSC00106.jpg


ส่วนฐานชุกชีพระประธาน (แท่นแก้ว) วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม สร้างเต็มพื้นที่ ในส่วนห้องด้านหลังเป็นแบบฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ย่อเก็จ และพบฐานปัทม์สี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ด้านหน้าตอนเหนือของแท่นฐานพระประธานอีกแห่งหนึ่งค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๔. วัดกู่ป้าด้อม




DSC00674.jpg



วัดกู่ป้าด้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม สามารถเดินทางมาจากวัดปู่เปี้ยหรือตามถนนทางแยกเข้าเวียงกุมกามด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) บริเวณวัดอยู่ในเขตที่ดินของคุณป้าด้อม ทำให้เรียกกันในหมู่ชาวบ้านว่า กู่ป้าด้อม (กู่ เป็นภาษาท้องถิ่นมีความหมายเดียวกับ เจดีย์) สภาพแวดล้อมบริเวณวัดเป็นเขตที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น และเขตสวนลำไย วัดกู่ป้าด้อมถือว่าเป็นซากโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดในเวียงกุมกามที่เหลืออยู่


DSC00677.jpg


ประวัติวัดกู่ป้าด้อม (ชื่อวัดกู่ป้าด้อม เรียกกันตามชื่อเดิมของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน) น่าจะก่อสร้างขึ้นแล้วในระยะแรกๆ ของการก่อตั้งเวียงกุมกามในสมัยพญามังราย และคงสภาพเป็นวัดมีการซ่อมสร้างอยู่เรื่อยตลอดมาในระยะเอกราชของล้านนา ระหว่างปีพ.ศ.๑๘๒๙-๒๑๐๑ จากหลักฐานการพบพระพิมพ์แบบหริภุญไชย (พระคงและพระอื่นๆ) รวมถึงบรรดาสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของวัด ที่มีระดับพื้นดินเดิมต่ำกว่าระดับผิวดินปัจจุบันเฉลี่ยถึง  ๒ เมตร โดยยังคงปรากฏร่องรอยการฉาบผิวนอกของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยปูนขาวมากที่สุดในบรรดาวัดร้างในเขตเวียงกุมกามค่ะ


DSC00678.jpg



กำแพง วัดกู่ป้าด้อม ที่คงสภาพเดิมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเวียงกุมกามค่ะ


กำแพง
วัดกู่ป้าด้อม พบเป็นกำแพงชั้นนอกถัดจากกำแพงแก้วที่สร้างล้อมรอบส่วนพระเจดีย์-วิหาร ปัจจุบันพบหลักฐานชัดเจนเฉพาะทางด้านทิศเหนือ


DSC00112.jpg



ร่องรอยของอาคาร ที่สร้างชิดด้านในกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


DSC00679.jpg



DSC00681.jpg



เดี๋ยวเรามาเดินสำรวจบริเวณรอบๆ วัดกู่ป้าด้อมกันเลยนะคะ


DSC00682.jpg



ฐานอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัดกู่ป้าด้อม มีบ่อน้ำอยู่ด้านหลัง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นห้องน้ำสำหรับพระสงฆ์ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Resize-of-DSC01292.jpg



อุโบสถ
วัดปู่เปี้ย ค่ะ


อุโบสถ ตั้งอยู่ใกล้วิหารด้านเหนือ  ด้านหน้าอุโบสถเยื้องไปทางทิศเหนือเล็กน้อยเป็นที่ตั้งของกู่ (เจดีย์ราย) ที่เหลือเฉพาะส่วนฐานทรง ๘ เหลี่ยม และแท่นบูชาที่ใช้วางขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน  สร้างก่ออิฐสอดินฉาบปูนขาว และมีหลักสีมาหินทรายสีแดงทรงแท่นกลมปักไว้โดยรอบ ตัวพระอุโบสถขนาดค่อนข้างเล็ก สร้างยกพื้นฐานเตี้ยย่อเก็จทางด้านหน้า ๒ ชั้น และด้านหลัง ๑ ชั้น



Resize-of-DSC01286.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ปรากฏทางด้านหน้าทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน ไม่ปรากฏโครงสร้างเสา ผนังก่ออิฐ ที่น่าจะใช้เป็นส่วนรับน้ำหนักของเครื่องหลังคาด้วยค่ะ


Resize-of-DSC01276.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชี) พระประธาน อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ที่อยู่ด้านหลังซึ่งไม่เหลือหลักฐานขององค์พระประธานแล้วค่ะ


Resize-of-DSC01271.jpg



กู่ (เจดีย์ราย-บรรจุกระดูก/อัฐิผู้อุปถัมภ์หรือพระสงฆ์รูปสำคัญ) และแท่นบูชา อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ค่ะ


สภาพหลังการขุดแต่งกู่ วัดปู่เปี้ย พบลักษณะร่องรอยถูกขุดเป็นหลุมตอนกลาง คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน แบบปัทม์ก่ออิฐดินสอรูปทรง ๘ เหลี่ยม มีส่วนกำแพงระเบียงเหนือขึ้นมาที่ตกแต่งลายช่องปรุเป็นรูปกากบาท ส่วนขององค์เจดีย์ (กู่) พังทลายไม่เหลือหลักฐาน และแท่นบูชา ลักษณะเป็นแบบฐานปัทม์สี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐสอดิน มีส่วนท้องไม้ประดับลกแก้วอกไก่เดี่ยว


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๓. วัดปู่เปี้ย





Resize-of-DSC01267.jpg



ประวัติวัดปู่เปี้ย ไม่ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารใดๆ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่สันนิษฐานว่าคงได้สร้างมาแล้ว ตั้งแต่ในสมัยที่เวียงกุมกามเป็นราชธานี (พ.ศ.๑๘๒๙-๑๘๒๘) และร่วมสมัยเอกราชของแคว้นล้านนา (พ.ศ.๑๘๓๙-๒๑๐๑) ในระยะหลังมาความสำคัญของวัดนี้ในปัจจุบันอยู่ที่รูปแบบผังการก่อสร้างวัด และรูปแบบพระเจดีย์ทรงมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ วิหารสร้างยกพื้นสูง และอุโบสถที่ปรากฏหลักฐานหลักสีมาหินทรายสีแดงทรงแท่งกลม

ส่วนชื่อวัดปู่เปี้ย เป็นชื่อที่เรียกกันในชั้นหลังจากการที่เวียงกุมกามได้ร้าง ภายหลังจากที่เวียงกุมกามร้างแล้วเกิดอุทกภัยใหญ่ที่น้ำได้พัดพาเอาตะกอนดินและกรวดทรายมาทับถม อันมีผลทำให้แนวแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางการไหลในเวลาต่อมา จนเมื่อได้มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนในเขตนี้ระยะหลัง ขณะที่วัดได้ร้างลงไปหมดแล้ว ที่บริเวณวัดนี้แต่เดิมคงมีบ้านของชายชราร่างเล็ก (ที่คำในภาษาท้องถิ่นเรียกว่าปู่เปี้ย) หรือในละแวกวัดนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านชื่อ เปี้ย จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อคนสืบต่อกันมา


Resize-of-DSC01272.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดปู่เปี้ย ตัววัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติดั้งเดิม โดยมีสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็นโบราณสถานของวัดประกอบด้วย พระเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ส่วนวิหาร วัดปู่เปี้ย สร้างยกพื้นแบบเขียงสี่เหลี่ยมสูง ปรากฏร่องรอยหลักฐานการสร้างทับซ้อนกันสองสมัย กล่าวคือ ในระยะสมัยแรก เป็นวิหารขนาดเล็กที่เป็นแนวการก่ออิฐและโครงสร้างของเสาที่อยู่ภายใน สมัยที่สอง เป็นการขยายขนาดวิหารให้กว้างและยาวออกไปทางตอนหน้าค่ะ


Resize-of-DSC01274.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้าวิหาร วัดปู่เปี้ย ปรากฏเฉพาะทางด้านหน้าตอนกลาง ที่ตัวราวบันไดเป็นรูปหางวันค่ะ


Resize-of-DSC01285.jpg



โครงสร้างเสาวิหาร วัดปู่เปี้ย เป็นแบบ ๒ คู่ คือคู่กลางที่รองรับส่วนแนวในส่วนหน้าจั่ว และคู่ริมที่รองรับส่วนชายคาปีกนกทั้ง ๒ ข้าง แสดงถึงการสร้างทับซ้อนกันสองสมัยค่ะ



Resize-of-DSC01278.jpg



Resize-of-DSC01282.jpg



พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย ค่ะ


ส่วนฐานล่าง พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยม ชั้นหน้ากระดาน และชั้นปัทม์ย่อเก็จ ๒ ตอน ๒ ชั้น ส่วนของห้องมณฑปทำย่อเก็จล้อจากตอนล่างขึ้นไป

ส่วนตอนกลาง พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นแบบทรงระฆังบนชั้นมาลัยเถาสูงแบบปัทม์ท้องไม้ ๘ เหลี่ยม

ส่วนเหนือขึ้นไป พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย ที่เป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอดนั้นชำรุดและหมดสภาพไม่เหลือหลักฐานแล้ว


Resize-of-DSC01279.jpg



การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุสมัยวัดปู่เปี้ย พิจารณาว่าระยะแรกน่าจะอยู่ในสมัยแรกสร้างเวียงกุมกาม แล้วในสมัยล้านนาระยะหลังมาคงได้ซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา ดังปรากฏหลักฐานการสร้างทับซ้อนกัน ๒ สมัยในส่วนวิหาร ในส่วนของพระเจดีย์ จากรูปแบบระเบียบการก่อสร้างในส่วนต่างๆ พิจารณาได้ว่าเป็นเจดีย์ทรงมณฑปแบบล้านนาแท้ที่นิยมก่อสร้างกันในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เปรียบเทียบได้กับเจดีย์วัดหัวหนอง ๗ ลิน (ร้าง)-เมืองเชียงใหม่ แต่ว่าเจดีย์วัดปู่เปี้ยดูเหมือนว่ามีทรวดทรงที่ดูสมส่วนมากกว่า

ลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นรูปทรงมณฑป สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาวโครงสร้างขององค์เจดีย์ก่ออิฐตันเต็มพื้นที่ (ยกเว้นส่วนห้องกรุ) โดยส่วนองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานลานปทักษิณ มีทางขึ้นที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้หลังวิหาร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Resize-of-DSC01330.jpg



แนวฐานของกำแพงวัดผ่านใต้ฐานมณฑป วัดหนานช้าง และพบหลักฐานร่องรอยก่ออิฐของกำแพงวัดด้านข้างขาวตอนหลัง (หรืออาจจะขยายออกไปในส่วนที่ขุดแต่งไม่ถึง) ส่วนกำแพงวัดด้านหลังพบร่องรอยหลักฐานชัดเจนเฉพาะที่มุมหลังวัดตอนซ้าย
ค่ะ



Resize-of-DSC01331.jpg


ส่วนแนวกำแพงวัด วัดหนานช้าง จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบการขยายพื้นที่วัดด้านหลัง และด้านข้างตอนขวาออกมาค่ะ


Resize-of-DSC01336.jpg



Resize-of-DSC01337.jpg



ฐานอาคารแนวยาวตอนขวา วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01338.jpg



ซากโบราสถานส่วนห้องน้ำ วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01339.jpg



ซากโบราณสถานด้านหลังตอนขวา
วัดหนานช้าง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-17 15:31 , Processed in 0.049367 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.