แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

๒๔. วัดโบสถ์ (อุโบสถ)




DSC00390.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ในเขตบ้านป่าเปอะ ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ด้านทิศตะวันตก ห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมือง ประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดโบสถ์มีเนื้อที่ ๘๕ ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่บางส่วนอยู่ในที่ดินของประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว


DSC00391.jpg


ทางเข้า/ออก
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00392.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) แต่เดิมพื้นที่วัดนี้เป็นโบราณสถาน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นโบสถ์ของวัดร้าง ชาวบ้านจึงเรียกกันเนื่องจากเป็นเนินลักษณะคล้ายอุโบสถ และเคยมีการขุดพบพระพิมพ์จำนวนมาก ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นอุโบสถของวัดร้าง โบราณสถานแห่งนี้อยู่ลึกลงไปจากพื้นดินปัจจุบันมาก จึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง ภายหลังการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔ จึงได้นำทรายมากลบปิดโบราณสถานบางส่วนไว้ เพื่อให้คงสภาพอยู่ต่อไปได้ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๓ พบโบราณสถานประกอบด้วย วิหาร และเจดีย์ ค่ะ


DSC00395.jpg


ฐานวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คงเหลือเพียงฐานหน้ากระดานบัวคว่ำ และท้องไม้บางส่วน พื้นวิหารปูด้วยอิฐและฉาบปูนขาว พบร่องรอยฐานเสาทำจากศิลาค่ะ


DSC00399.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนตอนหลังวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) วางตัวตามแนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ค่ะ


DSC00402.jpg


ฐานพระเจดีย์
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เหลือหลักฐานเพียงชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมชั้นล่าง ลักษณะเป็นเจดีย์สมัยล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ซึ่งคล้ายวัดกู่ป้าด้อม มีแท่นบูชาตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก

จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น ยอดเจดีย์ทำจากสำริด ปะติมากรรมปูนปั้น รูปเศียรเทวดา พระพิมพ์ดินเผาชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้น สำริดดินเผาและหินทราย นอกจากนี้ยังพบแผ่นอิฐจารึกอักษาฝักขาม จำนวน ๑๐ แผ่น ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00634.jpg



ฐานซากโบราณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วัดบ่อน้ำทิพย์ อยู่ด้านข้าง ศาลา ค่ะ


DSC00629.jpg


ฐานอาคาร วัดบ่อน้ำทิพย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ด้านหลัง ศาลา ค่ะ


DSC00623.jpg



DSC00626.jpg


วิหาร
วัดบ่อน้ำทิพย์ เหลือแต่เฉพาะส่วนฐานค่ะ


DSC00632.jpg


บ่อน้ำทิพย์ วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ


ประวัติวัดบ่อน้ำทิพย์


ในระหว่างที่พญามังรายสร้างเวียงกุมกามอยู่นั้น ได้ประทับชั่วคราวอยู่ที่บริเวณวัดบ่อน้ำทิพย์ พญามังรายนั้นเชี่ยวชาญทุกด้าน และด้านที่ไม่มีหนังสือเล่มใดกล่าวถึงคือด้านการแพทย์ โดยการใช้ว่านทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เมื่อประชาชนขอรักษามากขึ้นเรื่อยๆ กองแพทย์ของพญามังรายจึงรักษาไม่ไหว จึงได้ปรึกษาพญามังราย พญามังรายจึงบรรชาให้ขุดย่อย่ำขึ้น ๓ บ่อ ในแนวตะวันออก ตะวันตก และทำยาสมุนไพรซึ่งเป็นว่านต่างๆ ปั้นเป็นรูปพระพุทธรูปวางประดิษฐานไว้ในบ่อน้ำทั้ง ๓ บ่อ

บ่อที่ ๑ อยู่ในแนวตะวันตกสุดเป็นบ่อขนาดเล็ก ขอบบ่อกว้างแค่ประมาณ ๑ เมตร เป็นบ่อน้ำทิพย์ที่ใช้รักษาเฉพาะราชวงศ์ มีผู้พบเห็นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีข่าวลือว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ปัจจุบันหายสาบสูญไป ผู้พบเห็นปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่หลายคน


บ่อที่ ๒ คืออยู่ที่วัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ เป็นบ่อที่อยู่ตรงกลาง ปัจจุบันขุดพบเพียงบ่อเดียว เป็นบ่อที่พญามังรายสร้างไว้สำหรับทหารข้าศึกแม่ทัพนายกอง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ


บ่อที่ ๓ อยู่ในทิศตะวันออกสุด เป็นบ่อที่ใช้รักษาโรคของประชาชนทั่วไป ปัจจุบันคาดว่าจะอยู่ในแนวถนนวงแหวนรอบกลาง

หลังจากพญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและเชียงใหม่เสร็จแล้ว เชื่อว่ายังคงมีการนำน้ำทิพย์จากบ่อน้ำทั้ง ๓ แห่งนี้ ไปใช้รักษาโรค หรือใช้ในการทำพิธีศาสนาสำคัญ รวมทั้งในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับออกศึกสงครามหลายชั่วชีวิตคน และในสมัยพม่าปกครองล้านนา พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ ประชาชนได้หลบหนีภัยสงครามเข้าไปอยู่ในป่าเขาประกอบกับลำน้ำปิงเปลี่ยนเส้นทาง ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ได้ลดความสำคัญลงไปและร้างไปในที่สุด

ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ คงเริ่มมีบ้านเรือนผู้คนอาศัยอยู่หลังจากพระยากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกหลายสิบปีเนื่องจากสมัยนั้นผู้คนมีน้อยมีการอพยพประชาชนจากเมืองต่างๆ ทางทิศเหนือของประเทศปัจจุบันมาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ที่เรียกว่า เทครัว ด้านทิศเหนือของชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์เรียกว่า บ้านเขิน ซึ่งเป็นการอพยพประชาชนจากเมืองเขิน ประเทศพม่าในปัจจุบัน

สำหรับปัจจุบันชุมชนบ่อน้ำทิพย์ เป็นที่รวมตัวกันอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้หวังว่าวัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้จะเป็นที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายเหมือนในสมัยพญามังรายยังคงมีชีวิตอยู่ เพียงแต่เห็นว่าเป็นสถานที่ที่ร่มรื่นสวยงาม เป็นปอดของชุมชนในภาวะอากาศเป็นพิษเหมาะสมต่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชนของหมู่บ้านในอนาคต รวมทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของพญามังรายผู้สร้างเวียงกุมกามและนครเชียงใหม่



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๓. วัดบ่อน้ำทิพย์




DSC00606.jpg


วัดบ่อน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในส่วนของเวียงกุมกามชั้นนอก เป็นวัดโบราณในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตั้งอยู่ริมน้ำปิง (ห่าง) ท่าน้ำปิงที่ใช้ขึ้นสู่หมู่บ้านแถบนี้ชื่อท่าป่ากล้วยและท่าม่วงเขียว ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของท่าป่ากล้วย ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน สายเดิม ซึ่งแต่เดิมเป็นพนังกั้นน้ำของลำน้ำปิง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินทัพและเส้นทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยขุนหลวงวิลังคะ แม่ทัพของกองทัพชาวลัวะ ซึ่งอยู่ทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน ยกทัพตีเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ของพระแม่เจ้าจามเทวีและพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระแม่เจ้าจามเทวีในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นพระยามังรายก็ใช้เส้นทางนี้ตีนครหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ ในปีที่พระยามังรายตีเมืองลำพูนจากพระยายีบาได้ จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งเขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ ระบุว่าตีได้เมื่อจุลศักราช ๖๕๔ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๑๘๓๕ หลังจากนั้นก็สร้างเมืองแซ่วซึ่งต่อมาถูกน้ำท่วม จากนั้นมาสร้างเวียงกุมกามใน พ.ศ.๑๘๓๗ และเวียงเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ ในเวลาต่อมาค่ะ


DSC00616.jpg


ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ



DSC00609.jpg


DSC00610.jpg



DSC00611.jpg



พระพุทธรูป
ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๒. วัดกอมะม่วงเขียว




DSC00380.jpg


DSC00381.jpg


วัดกอมะม่วงเขียว ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร เนื่องจากมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณวัด ประชาชนในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดร้างว่า “วัดกอมะม่วงเขียว” หรือ “กอมะม่วงเขียว” ตามภาษาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามยังไม่พบความเป็นมาในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกอมะม่วงเขียว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๗ ค่ะ


DSC00383.jpg


DSC00386.jpg



ฐานวิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จด้านหน้า ๒ ช่วง ตามประวัติทางวัดบอกว่ามีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ทางด้านทิศใต้ของวิหาร แต่เดินสำรวจไม่พบซากโบราณสถานดังกล่าว สันนิษฐานว่ามีโบราณสถานอื่นๆ อีก แต่อาจถูกฝังใต้ดิน หรือถูกทำลายไปแล้ว


จากรูปแบบสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษภาชนะเครื่องเคลือบแหล่งเตาภาคเหนือ และเครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


DSC00388.jpg



DSC00382.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน อยู่ส่วนตอนหลัง วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


DSC00384.jpg


กำแพงแก้ว วัดกอมะม่วงเขียว พบอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดกอมะม่วงเขียวค่ะ


DSC00385.jpg


ศาลเจ้าพ่อคำตัน วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๑. วัดกู่อ้ายสี




DSC01143.jpg


วัดกู่อ้ายสี ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ภายในเขตเวียงกุมกาม ห่างจากวัดช้างค้ำไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดกู่อ้ายสีเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันตามชื่อของนายสีเจ้าของที่ดินค่ะ


DSC01144.jpg


DSC01152.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่อ้ายสี ค่ะ


DSC01151.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน วิหาร วัดกู่อ้ายสี อยู่ตอนหลังวิหาร ค่ะ


DSC01154.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่อ้ายสี อยู่ด้านหลังวิหาร มีหญ้าปกคลุมเต็มไปหมดแถบจะไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๐. วัดกู่ริดไม้




DSC00180.jpg


DSC00175.jpg



วัดกู่ริดไม้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกามห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมืองประมาณ ๑๕๐ เมตร วัดกู่ริดไม้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นริดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัดและวัดน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับวัดปู่เปี้ย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วค่ะ


DSC00178.jpg


ฐานวิหาร วัดกู่ริดไม้ เราจะเห็นส่วนของฐานชุกชีพระประธานด้วยค่ะ


DSC00182.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ มีลักษณะการวางตัวของเจดีย์แตกต่างจากลักษณะเจดีย์อื่นๆ ฐานเจดีย์ค่อนข้างเล็กและตอนนี้ถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าจนแถบมองไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ


DSC00177.jpg


ศาลผีเสื้อ วัดกู่ริดไม้ ลักษณะเป็นอาคารแปดเหลี่ยม อยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์อยู่ชิดกับกำแพงแก้วค่ะ


DSC00176.jpg


ซุ้มประตูโขง (ภาพด้านซ้าย) วัดกู่ริดไม้ อยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด ส่วนภาพตรงกลางคือ ส่วนฐานชุกชีพระประธานของวิหาร และภาพด้านขวาคือ ศาลผีเสื้อ อยู่บริเวณใกล้ๆ กันค่ะ


DSC00183.jpg


กำแพงแก้ว วัดกู่ริดไม้ ปรากฏให้เห็นเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของวัดค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01140.jpg



DSC01135.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง หันหน้าค่อนไปทางตะวันตก สร้างก่ออิฐดินฉาบผิวด้วยปูนขาว มีส่วนฐานเป็นแบบปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ ทำย่อเก็จลดตอนหน้า ๑ ครั้ง และมีบันไดทางขึ้น/ลงหลักอยู่ทางด้านหน้า โดยมีทางเดินยกพื้นก่ออิฐเชื่อมต่อไปถึงส่วนโขงประตูกำแพงแก้ว ลักษณะวิหารเป็นแบบโถงและพื้นปูอิฐ


DSC01130.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ด้านบน วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01134.jpg


โขงประตูกำแพงแก้ว ด้านหน้า วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01136.jpg


แนวกำแพงแก้วด้านหน้าด้านตะวันออก วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01133.jpg


เจดีย์รายหรือกู่บรรจุกระดูกผู้อุปถัมภ์ หรือเจ้าอาวาสของวัดเดิม วัดกู่ไม้ซ้ง ลักษณะเป็นฐานทรง ๘ เหลี่ยม สภาพปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐาน ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางด้านหน้าตอนขวา (ทิศตะวันออก) วิหาร ค่ะ


DSC01128.jpg


สภาพปัจจุบันวัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำ อันทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี แม้ว่าในปัจจุบันได้ทำการบูรณะโบราณสถานของวัดไว้ทั้งหมดแล้ว แต่หากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่ดังเช่นในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้งานของวัสดุก่อสร้างต่างๆ คงอยู่ไปได้อีกไม่นาน ควรที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังวัดนี้กันต่อไป เช่นเดียวกับวัดกู่มะริดไม้(ร้าง) ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านตะวันตก ที่ภายหลังการขุดแต่ง-บูรณะแล้ว ก็ควรดูแลถากถางทำความสะอาดเป็นประจำ ไม่ปล่อยวัชพืชให้ขึ้นปกคลุมมิดเป็นป่ารกจนไม่เห็นวัดดังเช่นในปัจจุบันค่ะ


DSC01121.jpg



ศาลาพักร้อน บริเวณ ทางเข้า/ออก วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๙. วัดกู่ไม้ซ้ง




DSC01125.jpg



วัดกู่ไม้ซ้ง
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเวียงกุมกาม เดินทางเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทางถนนผ่านมาทางวัดกุมกามทีปรามและวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อย ๓ ต้น) หรือใช้เส้นทางในหมู่บ้านช้างค้ำผ่านเข้ามาทางทิศตะวันตก วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงคือวัดกู่มะริดไม้ ห่างออกมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะประมาณ ๑๕๐ เมตร และตั้งอยู่ใกล้ถนนสายวงแหวนรอบกลางทางด้านใต้ในระยะที่มองเห็นได้ค่ะ


DSC01124.jpg



ประวัติวัดกู่ไม้ซ้ง วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ แม้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง จากหลักฐานทางด้านบันทึกเอกสารหรือตำนานบอกเล่าในท้องถิ่น แต่หากได้พิจารณาจากทิศทางการหันหน้าวัดที่หันเข้าสู่สายน้ำแม่น้ำปิง (เก่า) หรือในทิศเหนือ ประกอบกับด้านรูปแบบแผนผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด รวมไปถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ล้านนาโดยรวมแล้ว

วัดนี้น่าจะก่อสร้างขึ้นแล้วในระยะล้านนารุ่งเรือง หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นอย่างน้อย ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดี จากการดำเนินงานขุดแต่ง-บูรณะ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ ในระยะที่ผ่านมา ที่เป็นพระพิมพ์ศิลปะแบบปาละ-พุกาม (รุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙) น้ำต้น (คนโฑ) ดินเผาแบบหริภุญไชย จารึกอักษร/ภาษาล้านนาบนแผ่นอิฐ และลวดลายปูนปั้นจำนวนหนึ่ง

สภาพพื้นที่วัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในหน้าฝนจะมีน้ำขังมากและเป็นที่เจริญเติบโตของผักบุ้งที่ขึ้นเป็นเถาเครือเขียวชะอุ่มคลุมพื้นที่ตอนในกำแพงแก้วในส่วนของพระเจดีย์ค่ะ


DSC01138.jpg


DSC01127.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง มีขอบเขตกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง องค์เจดีย์เหลือหลักฐานก่ออิฐเฉพาะในส่วนฐาน ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมสูงตอนล่าง และส่วนของฐานปัทม์ย่อมุม ๒๐ ตอนบน ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปของเจดีย์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปแบบของเจดีย์ทรงมณฑป ที่จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประเภทลายประดับกรอบซุ้มประเภทลายพรรณพฤกษาค่ะ


DSC01139.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบน พระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01114.jpg


ฐานพระเจดีย์  วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ



พระเจดีย์ สร้างก่ออิฐฉาบปูนมีลักษณะระเบียบการก่อสร้างเป็นทรงมณฑป พบร่องรอยการทำซุ้มทางด้านทิศเหนือ ซึ่งเอกลักษณ์ของวัดนี้คือการทำพระเจดีย์ประธานขนาดเล็ก ตกแต่งเสาหลอกในส่วนของย่อเก็จย่อมุมต่างๆ ด้านผังรูปแบบการก่อสร้างนั้น วัดนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าสู่สายน้ำแม่ปิง (ห่าง) สภาพปัจจุบันได้รับการขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๕


DSC01116.jpg


DSC01115.jpg



พระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ บางส่วนเหลือหลักฐานและบางส่วนเสียหาย สันนิษฐานเป็นเจดีย์ทรงบัว  หลักฐานการก่อสร้างตอนบนเจดีย์พังทลาย แต่คงเหลือรูปแบบเดิมในส่วนฐานปัทม์ลักษณะย่อเก็จตื้น แบบที่มีการทำเสาหลอกตามมุมย่อเก็จต่างๆ ค่ะ


DSC01106.jpg


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารค่ะ


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ พบร่องรอยการก่อสร้างมาถึงส่วนหักมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งแนวกำแพงและโขงประตูวัดด้านหน้าฝังตัวอยู่ในพื้นดินใต้ระดับผิวถนน ดังนั้นการขุดแต่งหาร่องรอยการก่อสร้างของวัดนี้ทั้งหมด จึงยังขุดแต่งได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์


DSC01104.jpg


ร่องรอยหลักฐานโขงประตู กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารใหญ่ค่ะ


DSC01109.jpg


DSC01111.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็ก วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านตะวันตกกลุ่มเจดีย์-วิหาร พบฐานบัวคว่ำขนาดใหญ่ และยังมีบางส่วนตอนหลังที่มีแนวเข้าไปในพื้นที่เอกชนเขตติดกันใกล้เคียงค่ะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๘. วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑

(วัดข่อยสามต้น)





DSC01100.jpg


วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น) ตั้งอยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ใกล้กับปากทางเข้าวัดกุมกามทีปราม (ร้าง) เดินทางเข้าถึงได้จากแยกถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) เข้าสู่เวียงกุมกามโดยใช้เส้นทางถนนเลียบเวียงในแนวทางด้านตะวันออก วัดอยู่ตรงสี่แยกทางไปวัดต้นโพธิ์ (ร้าง) สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นเรือกสวนไร่นา และที่อยู่อาศัยของชุมชนค่ะ


DSC01110.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น)

ชื่อวัดข่อยสามต้น เป็นชื่อใหม่ที่คณะอบรมอาสาสมัครนำชมเวียงกุมกามรุ่นที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ตั้งขึ้นตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน ๓ ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด ความสำคัญของวัดนี้นอกจากเป็นวัดร้างร่วมสมัยกับกลุ่มวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกามแล้ว ด้านการวางผังการก่อสร้างวัด ที่พบหลักฐานทั้งพระเจดีย์-วิหาร อาคารวิหารเล็ก และกำแพงวัดพร้อมโขงประตู ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เดิมถูกฝังใต้ดิน ๑ เมตร  กรมศิลปากรขุดแต่งบูรณะ ๒๕๑๕-๒๕๑๖

จากรูปแบบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ๓ ชิ้น เม็ดพระศก พระเก่าเปลวรัศมี อย่างไรก็ตามเชื่อได้ว่าน่าจะมีสถาปัตยกรรมและอาคารอีกในบริเวณนี้ แต่อาจถูกทำลายและฝังดิน


DSC01107.jpg


ฐานวิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะสร้างฐานยกพื้นไม่สูงมากนักโดยก่ออิฐเป็นฐานบัวหรือฐานปัทม์ พื้นตอนบนปูอิฐและฉาบปูน ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งทางตอนหน้าและตอนหลัง มีบันไดหลักขึ้น/ลงทางด้านตอนกลาง ลักษณะเป็นขั้นบันไดเรียบๆ ไม่มีการตกแต่งบันไดอย่างชัดเจน และอิฐปูยกพื้นทางเดิน โครงสร้างเสาเดิมน่าจะเป็นเสาไม้ เพราะไม่พบหลักฐานของอิฐทรงโค้งแบบหน้าวัว ที่มักใช้ก่อเป็นเสากลมดังเช่นที่พบในวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกาม เดิมเป็นวิหารโถงแบบมีผนังเตี้ยๆ บนส่วนฐาน เพราะเหตุที่ขุดแต่งพบหลักฐานที่ด้านข้างขวาตอนหน้า


DSC01103.jpg


DSC01102.jpg



พระประธาน วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ประดิษฐานบนแท่นแก้วชุกชีแบบย่อเก็จออกมา เพราะทางด้านหน้าขนาดเล็กพอเหมาะสำหรับประดิษฐานพระประธานองค์เดียวที่ได้พังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ


DSC01113.jpg


ฐานวิหาร และฐานพระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-17 15:09 , Processed in 0.051124 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.