แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC01075.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน
วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม อยู่ด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลังของวิหารใหญ่ค่ะ


DSC01094.jpg


DSC01089.jpg



วิหารเล็ก วัดกุมกามทีปราม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานรากอยู่ต่ำกว่าวิหารใหญ่ ประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตรค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๗. วัดกุมกามทีปราม   




DSC01064.jpg


วัดกุมกามทีปราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดชียงใหม่ ในเขตเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตพื้นที่ดินสวนลำไยของเอกชน สามารถเดินทางเข้าถึงโดยใช้เส้นทางใหม่ ที่สร้างเวียงกุมกามทางด้านตะวันออก โดยเริ่มจากวัดกู่ขาว (ร้าง) ที่อยู่คนละฝั่งของสายน้ำปิงเก่าทางด้านเหนือผ่านเข้ามาทางป่าช้าหนองผึ้งแล้วเลี้ยวขวาข้ามลำน้ำปิงห่าง วัดตั้งอยู่ในเขตที่ดินของเอกชนด้านซ้ายก่อนถึงวัดข่อยสามต้นหรือวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


DSC01063.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปราม
ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดนี้ว่า ในสมัยล้านนามีกษัตริย์ได้เข้ามาทำบุญรับศีลและฟังเทศนาธรรมที่วัดแห่งนี้ ซึ่งชื่อของวัดนี้ยังวิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจนว่าเป็นวัดเดียวกันกับวัดที่กล่าวถึงในเอกสารหรือไม่ แต่จากรูปแบบผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด อนุมานได้ว่าวัดกุมกามทีปรามแห่งนี้เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม จึงเรียกชื่อโบราณสถานตามชื่อเวียงกุมกาม หมายถึงอารามของเวียงกุมกาม ในปี ๒๕๑๒-๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งบูรณะ


DSC01088.jpg


วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

วัดกุมกามทีปราม มีวิหาร ๒ แห่ง คือวิหารใหญ่ และวิหารเล็ก  


DSC01082.jpg


ด้านบน วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ  

วัดกุมกามทีปราม สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่แม่น้ำปิง (ห่าง) อยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ ๐.๕๐ เมตร เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานตอนล่างที่สร้างก่ออิฐยกพื้นขึ้นมาไม่สูงมาก วิหารใหญ่มีลักษณะเป็นวิหาร-โถง มีบันได ๓ ด้าน


DSC01079.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม พบก่อสร้างทางด้านหน้าตอนกลาง ที่มีลักษณะตัวบันไดเป็นปูนปั้นรูปตัวมกรคายพญานาค ๕ เศียร อันมีรูปแบบคล้ายกับตัวบันไดของพระเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ รวมไปถึงวัดสวนดอก และบันไดขึ้นลานปทักษิณเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ในเขตเมืองเชียงใหม่ อันพิจารณาว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยใกล้เคียงกัน คือตั้งแต่ระยะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC01071.jpg


บันไดเล็กทางขึ้น/ลงด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลัง วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม เป็นบันไดส่วนของย่อเก็จลดอีกแห่งหนึ่ง อันน่าจะเป็นบันไดสำหรับพระสงฆ์ไว้ขึ้น/ลงวิหารใหญ่โดยเฉพาะค่ะ


DSC01078.jpg


รูปปั้นตัวมกรคายนาค ๕ เศียร (ชำรุด) บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม มีร่องรอยการสร้างสองสมัยค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00594.jpg



พระเจดีย์
วัดกู่ขาว เป็นเจดีย์แบบล้านนา ฐานล่างเป็นหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น ๓ ชั้นขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วซ้อนกันอยู่ ๒ ชุด ย่อเก็จ มีฐานพระพุทธรูปอยู่ระหว่างเจดีย์และวิหาร จะเห็นว่าแนวกำแพงก่ออิฐแบบสลับสั้นยาว ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์กู่ขาว วัดกู่ขาว ส่วนสำคัญอยู่ที่มุมย่อเก็จบริเวณหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ระหว่างฐานบัวลูกแก้ว ๒ ชั้น ลักษณะคล้ายลายประจำยามมุม เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กรอบนอกเป็นเส้นโค้งหนา กึ่งกลางเป็นรูปดอกกลมล้อมด้วยกลีบดอกและลายก้านขด อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ฐานชุกชี (ฐานพระประธาน) ของวิหารเดิมมีลายปูนปั้นรูปกลีบบัวและรูปสิงห์ที่ประดับไว้ค่ะ  


DSC00605.jpg


ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดกู่ขาว แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด ๒ เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยกระดานท้องไม้ใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบค่ะ


DSC00598.jpg


พระเจดีย์ วัดกู่ขาว จากลักษณะรูปทรงของพระเจดีย์ ที่เป็นแบบทรงระฆังที่ทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จแบบมีการตกแต่งลูกแก้วอกไก่ หรือชั้นบัวคว่ำบัวหงายตอนกลาง รวมถึงลักษณะของลายปูนปั้นแบบประจำยาม ซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หรือในระยะที่รัฐล้านนามีความเจริญรุ่งเรือง แต่ว่าอาจจะเป็นหลักฐานการซ่อมเสริมเจดีย์องค์นี้ในระยะเวลาดังกล่าว เพราะสิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณย่อมทรุดโทรม และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา


ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เดิมอาจเป็นวัดในรุ่นสมัยเวียงกุมกามระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปควรมีการขุดแต่งศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะแนวกำแพงแก้วและร่องรอยโบราณสถานแห่งอื่นๆ โดยรอบ อีกทั้งขุดแต่ง-ขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อหาหลักฐานร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยต่อไปค่ะ  


DSC00602.jpg


พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ วัดกู่ขาว เป็นทรงระฆังที่เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนมาลัยเถาทรง ๘ เหลี่ยมลงมา ส่วนฐานเขียงตอนล่างทำสูง มีชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จรองรับส่วนมาลัยเถาแบบ ๘ เหลี่ยม ในส่วนท้องไม้ตอนกลางพบการตกแต่งลายปูนปั้นแบบประจำยาม ส่วนบนยอดพระเจดีย์มีต้นไม้ขึ้นเต็มไปหมดเลยค่ะ


DSC00600.jpg


ด้านหลัง พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ  วัดกู่ขาว เราจะเห็นส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จที่ยังคงร่องรอยปูนปั้นประจำยามประดับ และบริเวณโล่งๆ คือลานกิจกรรมใช้เตะตะกร้อค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๖. วัดกู่ขาว




DSC00593.jpg



วัดกู่ขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ ๕ ปากทางเข้าสู่เวียงกุมกามด้านถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่เขตนอกเวียงกุมกามด้านตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงสายเดิมหรือปิงห่าง ปัจจุบันมีถนนสร้างผ่ากลางวิหาร สถานะเป็นวัดร้าง เขตที่ดินประมาณ ๑๐ ไร่เศษ กินพื้นที่บริเวณสุสาน บ้านเรือน และร้านค้าของราษฎรที่ดินเขตวัดร้างหลายสิบหลังคาเรือน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมศาสนา


DSC00596.jpg



วัดกู่ขาว สร้างหันไปทางทิศใต้เข้าสู่ลำน้ำปิงห่าง มีสิ่งก่อสร้างปรากฏหลักฐานชัดเจนคือ พระเจดีย์และวิหาร ที่มีถนนทางเข้าเวียงกุมกามทางด้านนี้สร้างผ่ากลาง รวมถึงหลักฐานจากการขุดแต่งบูรณะโดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา ที่ได้พบร่องรอยหลักฐานที่เป็นแนวกำแพงแก้ว และโขงประตูทางด้านทิศเหนือใกล้กับส่วนฐานพระเจดีย์ (ปัจจุบันเอาดินถมกลบไว้) ค่ะ


ประวัติวัดกู่ขาว สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว คำว่ากู่ ในภาษาถิ่นเหนือ หมายถึงเจดีย์สีขาว ซึ่งคงจะเรียกตามลักษณะของเจดีย์ ประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาว พ.ศ.๒๕๓๒

โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่งพระธาตุกู่ขาว ได้แก่ พระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย


DSC00595.jpg



พระเจดีย์ วัดกู่ขาว ค่ะ


วิหาร วัดกู่ขาว คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนหน้าท้ายอาคาร อันเป็นส่วนของแท่นแก้วพระประธาน มีร่องรอยแสดงการก่อสร้างซ้อนทับกันสองครั้ง ซึ่งหากได้รับการขุดแต่งตามแนวฐานไปทางด้านใต้แล้ว ก็จะพบหลักฐานในส่วนฐานวิหารนี้ต่อยาวออกไป วัสดุก่อสร้างเป็นอิฐก่อสอด้วยดินและฉาบปูนขาว ที่ปัจจุบันส่วนของปูนขาวฉาบหลุดออกร่อนไปแล้วเสียส่วนมาก ยกเว้นในส่วนองค์เจดีย์ตอนบนที่คงเหลือร่องรอยมากอยู่ ลายประจำยามประดับเจดีย์บางแห่งยังคงเห็นรายละเอียดที่ชัดเจน


DSC00597.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบนฐานชุกชีส่วนวิหาร วัดกู่ขาว ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00171.jpg



ห้องที่ ๕ เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00172.jpg


จำลองวิถีชีวิตล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00173.jpg


ภาพการแต่งตัวของคนล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00174.jpg


เสาหินจำลอง อยู่กลางสวน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



ส่วนห้องที่ ๖ เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน วันนี้ประตูปิด เพราะไม่มีการแสดงนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00163.jpg



ภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียว ถูกค้นพบหลังเตาสันกำแพงในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00164.jpg



DSC00165.jpg



ภาชนะดินเผา (กระปุก) ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00166.jpg


ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเข้ม
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ


DSC00167.jpg


ภาชนะดินเผา (กระปุก) เคลือบสีน้ำตาล ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00169.jpg


หม้อดินเผาเนื้อไม่แกร่ง
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00158.jpg



ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00159.jpg


ลายประจำยามปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00160.jpg


กิเลน ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00161.jpg


ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00162.jpg


กลีบบัวฟันยักษ์ปูนปั้น
ประดับส่วนฐานอุโบสถ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00153.jpg



ตู้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบ ในเวียงกุมกามต่างๆ จัดแสดงภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามค่ะ


DSC00154.jpg


เศียรนาคปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกุมกามค่ะ


DSC00155.jpg


บัวกลุ่ม ถูกค้นพบจากวัดกู่ป้าด้อมค่ะ


DSC00156.jpg


เศียรนาค ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00157.jpg


ลายประจำยามปูนปั้นประดับส่วนท้องไม้เจดีย์ (ภาพตรงกลาง) ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00377.jpg


บัวกลุ่มปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00170.jpg



DSC00148.jpg



ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบที่เวียงกุมกามต่างๆ ค่ะ


DSC00151.jpg


รูปแบบจำลองเจดีย์เจ็ดเหลี่ยม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00149.jpg


ภาพเครื่องถ้วยจีน ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00150.jpg


ภาพถ้วยลายคราม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ส่วนใหญ่เป็นถ้วยลายครามผลิตภัณฑ์จากเมืองจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ที่ถูกค้นพบที่วัดหนานช้างค่ะ


DSC00152.jpg


นิทรรศการข้อมูลโบราณวัตถุ ที่ถูกค้นพบในเวียงกุมกามต่างๆ ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00143.jpg



เศียรพระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00144.jpg


พระพิมพ์ดินเผาจำลอง ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00145.jpg


เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00146.jpg


เครื่องใช้โบราณต่างๆ จำพวกเครื่องถ้วยลายคราม ไห กระปุก ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00147.jpg


ทางเดินไป ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีรูปภาพวัดต่างๆ ในเวียงกุมกามติดตามผนังเรียงรายเป็นแถวค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 17:35 , Processed in 0.163159 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.