แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ธรรมโอวาทสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๘

พระสงฆ์ควรจะวางตัวอย่างไร



สานุศิษย์ : ข่าวหนังสือพิมพ์สมัยนี้ ชอบลงข่าวเกี่ยวกับความเสื่อมเสียของวงการพระสงฆ์นั้น ในยุคนี้พระสงฆ์ควรจะวางตัวอย่างไรครับ จึงจะเหมาะสม

สมเด็จ : ในเรื่องเหล่านี้ ถ้าภิกษุสงฆ์ทุกองค์ปฏิบัติตามวินัย ก็จะไม่มีปัญหา

พระสงฆ์ เมื่อเรื่องภัตตาหารไม่ต้องห่วงแล้ว พระสงฆ์ยังต้องการอะไรอีก และในการวางตัวควรหลีกเลี่ยงการคุยกับสตรี ถ้าจำเป็นต้องคุย ก็อย่ามองหน้า

ในยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ พระสงฆ์จะทำอย่างไรเล่า ที่จะอยู่ได้อย่างสันโดษ สงบ สันติ

ในการนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางหลักการให้ไว้ว่า พระสงฆ์ไม่ควรไปในที่ที่เขาไม่ได้นิมนต์ และไม่ควรไปในสถานที่ ๕ แห่ง สถานที่ห้าแห่งนั้นคือ

๑. สถานที่หญิงแพศยา อย่างในสมัยนี้ก็มีสถานที่เริงรมย์ต่างๆ เช่น ผับ บาร์ ฯลฯ


๒. สถานที่ของหญิงหม้าย

๓. สถานที่อยู่ของสาวแก่


๔. สถานที่อยู่ของพวกบัณเฑาะก์ หรือพวกกะเทย


๕. ที่พักของภิกษุณี
ในสมัยนี้ก็เป็นที่พักของแม่ชี

สถานที่เหล่านี้ถ้าภิกษุสงฆ์ไป แม้แต่พระอรหันต์ก็จะถูกนินทา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ในสมัยนี้ถ้ามีเรื่องอะไรเกี่ยวกับพระสงฆ์เกิดขึ้น เราก็อย่าไปหวั่นไหวว่า พระพุทธศาสนาเสื่อมแล้ว

เราต้องคิดว่า ขณะนี้เมืองไทยมีพระสงฆ์ตั้งสองแสนกว่ารูป แล้วพระทำผิดเพียงไม่กี่รูป ไม่ใช่ว่าจะเสียไปทั้งหมด พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยังมีอีกมาก อันนี้เราต้องรู้จักใช้ปัญญา แยกแยะวินิจฉัย

ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ซึ่งท่านเป็นอรหันต์แล้ว ได้เดินทางไปทางภูเขาหิมาลัยผ่านเข้ามาทางลุมพินีวัน ทางเนปาล ขณะนั้นอากาศหนาวจัด จำเป็นต้องหาที่พักแรมก็เข้าไปสถานที่พักแห่งหนึ่ง


ถ้าในสมัยนี้ก็เรียกว่าโรงแรม แต่เผอิญไม่มีห้องพักว่างเลย เต็มหมด เจ้าของโรงแรมนั้นเป็นผู้หญิง เป็นหญิงหม้าย ก็บอกว่า “พระคุณเจ้า ถ้าไม่รังเกียจก็เชิญเข้ามาพักในห้องเดียวกับฉัน” ท่านพระสารีบุตรก็เข้าไปพักในห้องหญิงนั้น แต่อยู่กันคนละเตียง

หลังจากนั้น ท่านพระสารีบุตรกลับไปวิหารเชตวัน ก็ไปเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติวินัยออกมาว่า ห้ามภิกษุสงฆ์อยู่กับสตรีในที่ลับ พระสารีบุตรถามว่า ทำไมพระองค์จึงทรงบัญญัติวินัยนี้

พระพุทธองค์ทรงตอบว่า ฉันนี้เล็งเห็นการณ์ไกลในอนาคต เธอนั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ถ้าในอนาคต ถ้าเกิดเป็นพระปุถุชนเล่า แล้วไปขังอยู่ในห้องเดียวกับสตรี อะไรจะเกิดขึ้น

ฉะนั้น วินัยย่อมตามหลังพระทำผิด เหมือนกฎหมายตามหลังโจร ฉันใดก็ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุสงฆ์ดำเนินตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ตามแนวนี้แล้ว ภิกษุสงฆ์นั้นก็สามารถที่จะครองตนเป็นสมณะได้ตลอดไป แต่ถ้าภิกษุสงฆ์ไม่ดำเนินตามหลักนี้แล้ว ภิกษุสงฆ์นั้นก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นได้

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๙

ธรรมะสำหรับวัยรุ่น อนาคตของชาติ



คุณประพันธ์ อุธะนุต :
ผมอยากจะถามว่า วัยรุ่นจะต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ถึงซึ่งพระพุทธพจน์ที่ว่า “ธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม”

สมเด็จ :
คือธรรมชาติได้แบ่งมนุษย์เป็น ๓ วัย ตอนที่หนึ่ง คือ ตอนวัยศึกษา ตอนเด็กนั้นอย่าไปว่า เพราะว่าตอนวิญญาณปฏิสนธินั่นต้องว่าเพลงยาวกันแล้ว เอาแค่สามตอนในการเกิดเป็นคน

ตอนที่หนึ่ง คือตอนวัยศึกษา ระหว่างแห่งวัยศึกษานี้แหละ เราจะต้องพยายามควบคุมตัวเองว่า เรานี้อยู่ในสถานที่ในการเรียนนี้ เรียนเพื่ออะไร เรียนเพื่ออนาคตแห่งตอนที่สอง เพื่อในการครองคู่ นี่ว่าตามหลักของโลกียะ

ภาวการณ์นี้แหล่ เราจะทำยังไง เราควรพยายามศึกษาในขอบในเขต ในประเพณี เมื่อเราเป็นนักศึกษาแล้วไซร้ เราควรวินิจฉัยใช้สมองในการอ่านตำราว่าสิ่งใดควรเป็นสรณะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ตำราใดควรจะอ่านแล้ววาง ตำราสิ่งใดเป็นการปลุกกามารมณ์ให้เราไปทางชั่ว เราก็อย่าไปยุ่งกับมัน

สิ่งสำคัญ เราจะต้องควบคุมสติของเราว่า อย่าเชื่อ อย่าคล้อยตามโลก อย่าเชื่อตามคน อย่าเอนตามลม

ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะพร้อมว่า คนเป็นบัณฑิตเราเข้าใกล้ คนพาลเราห่างไกลแล้วไซร้ เราก็จะเป็นเด็กที่ดีขึ้นมา ในอนาคตกาลชาติของสยามก็จะมีแต่คนดี

ทีนี้ เราจะต้องตั้งมั่นว่า การศึกษานี้เพื่อเป็นหลักในการดำรงชีพ เพื่อสัมมาอาชีวะในการครองเรือน นั่นคือในวัยการครองเรือน สภาวการณ์แห่งวัยครองเรือนนี้แหล่ เพื่อในการที่จะว่าตามสัตวโลก เพื่อต้องการให้มีผู้สืบสกุลต่อ แล้ววัยสุดท้าย ก็คือวัยนักพรต นั่นคือหาความสงบทางจิต

หลักของการเป็นวัยรุ่นในยุคปัจจุบันนี้ ถ้าเข้าซึ้งในหลักแห่งการว่า เราได้เรียนนี้ พ่อแม่ทุกคนอาบเหงื่อต่างน้ำ เพื่อส่งเสริมให้เราเห็นอนาคตของเรา ให้ในการครองเรือนของเราดี แล้วเราจะได้เป็นที่ชื่นใจของบิดามารดา ญาติโยมโหตุ ไม่ใช่ส่งให้เราไปเป็นคนผลาญ เพราะฉะนั้น ถ้าเด็กทุกคนมีคติเตือนตนแค่นี้ ก็ย่อมที่จะไม่หลงไปตามแสงสีแห่งศิวิไลซ์ แห่งความโง่เขลาที่เป็นสิ่งจอมปลอม โกหกว่านั่นคือความสุข

เพราะว่ามนุษย์ที่สร้างมนุษย์เหล่านี้ขึ้นมานี้ เป็นมนุษย์เหล่าปีศาจหรือเหล่าอสูรกายที่บำเพ็ญเป็นกัปๆ กัลป์ๆ ได้ขึ้นมาจากนรกโลก เพื่อมาเสวยกรรมแห่งการเป็นมนุษย์ในยุคนี้ ทีนี้ เขาเหล่านี้ไม่เข้าซึ้งถึงสัจจะแห่งความจริงของความสุขอันแท้จริง ก็ได้วางหลักในวิถีการสร้างสิ่งที่เรียกว่า กลัวตาย พยายามสร้างสิ่งจอมปลอมขึ้นมาว่า นี่แหละคือความสุข เพื่ออำพรางความจริงของสัจจะ

เพราะฉะนั้น ในโลกมนุษย์ทุกวันนี้ ถ้าเหล่าผู้นำในวงการศึกษาคล้อยตามภาวะแห่งความศิวิไลซ์ ไม่พยายามเอาหลักแห่งศีลแห่งธรรมะเข้าครอบงำในสถาบัน ในสำนัก ในหลักของผู้ที่ศึกษา เยาวชนของชาติก็ย่อมไม่มีศีลธรรมประจำใจ เมื่อมนุษย์ไม่มีศีลธรรมประจำใจ อารมณ์สัตว์ก็เข้าครอบงำ เมื่ออารมณ์สัตว์เข้าครอบงำ ความฉิบหาย ความหายนะ ก็เข้าสู่คนๆ นั้น

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๐

วิธีเรียนหนังสือให้เก่ง


(วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๓)



สานุศิษย์ : หลวงพ่อครับ ลูกอยากทราบว่า มีวิธีอย่างไรทำให้เรียนเก่ง

สมเด็จ : คือการที่จะให้เรียนเก่ง การที่จะให้ทำอะไรเก่งนั้น ท่านต้องปลูกในความฉันทะของตนให้เกิดขึ้นเป็นสรณะ ในระหว่างการที่จะท่องตำรานั้น จะต้องวางหมดทุกสิ่งสรรพสิ่ง ในการนัดหมาย นัดแนะ การไปไหนกับเพื่อนฝูงหรือการนัดแนะในการที่จะไปเที่ยวไหนกับแม่หญิงหรือพ่อชายทั้งหลายก็ดี

เพราะฉะนั้น จุดสำคัญทั้งหลายก็คือ การที่จะให้กระแสแห่งตำราเข้าสู่สมองได้ ก็ต่อเมื่อระหว่างอ่านตำรานั้น ท่านจะต้องไม่มีอุปสรรคในการตะขิดตะขวงใจในสิ่งใดๆ เมื่อนั้นท่านจะเรียนดีและคล่องดี คือต้องปลูกความฉันทะในตำรานั้นๆ แล้วก็จะต้องวางในการนัดแนะผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องทิ้งหมดทั้งความสุข ความทุกข์ จดจ่อสมาธิอยู่ในตำรานั้น เมื่อนั้นท่านจะเป็นนักอ่านที่ชาญฉลาด และจะเป็นผู้ที่ปรีชาได้

แต่ถ้าท่านคิดว่า ตามเรื่องตามราว ข้าจะอ่านเมื่อไหร่ก็อ่าน ข้าจะตื่นเมื่อไหร่ก็ตื่น พอใจก็อ่าน ไม่พอใจก็ถีบตำราเสีย เมื่อนั้นท่านก็ย่อมที่จะเป็นนักศึกษาที่ดีไม่ได้ เขาเรียกว่า ชีวิตนี้ท่านจะต้องอยู่ด้วยความมีระเบียบ ต้องมีการควบคุมตัวเอง


เมื่อนั้นท่านจะดำเนินสู่จุดหมายปลายทาง ไปถึงจุดแห่งความสำเร็จไม่มากก็น้อย เพราะว่าเราจะกำหนดชะตาชีวิตของเรา ตามอุปทานแห่งมโนยิทธิของเราไม่ได้ เพราะว่าทุกคนต้องเสวยกรรม

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๑

อธิษฐานบารมีช่วยให้เกิดปัญญา


(วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๓)



สานุศิษย์ : ขอประทานบารมีหลวงพ่อ ขอประทานให้เกิดปัญญาครับ  

สมเด็จ : การทำให้เกิดปัญญามีหลักก็คือ พยายามทำสมาธิ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสรณะ ถ้าสมาธิฟุ้งซ่านก็ดี หรือกระแสจิตไม่รวมก็ดี อันนี้ต้องใช้อธิษฐานบารมี การใช้อธิษฐานบารมีก็คือว่า จงอธิษฐานระหว่างก่อนนั่งสมาธิว่า

“เมื่อในกรรมดีที่ข้านี้เคยสร้างในอดีตชาติ ขอให้จงนำผลนั้นมาส่งในปัจจุบันชาติ เมื่อในกรรมดีที่ข้านี้จะเสวยในอนาคตชาติ ขอให้กรรมนั้นจงมาสนองช่วยให้ข้าหลุดพ้นในปัจจุบันชาติ”

นี่คือการใช้อธิษฐานบารมีช่วย แล้วพยายามใช้หลักความเมตตาเข้าข่ม เมื่อนั้นสติย่อมจะไม่เผอเรอ เขาเรียกว่ามีสมาธิ การมีสมาธิย่อมมีปัญญา ทำอะไรย่อมสุขุม ผู้ที่ทำอะไรฟุ้งซ่าน ผู้ที่ทำอะไรเอาแต่ใจของตนเองเป็นใหญ่ ผู้นั้นคือไม่มีสมาธิ หลงตน ยึดตน

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๒

เตือนเหล่านักเทศน์ธรรมะ


(วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔)



สมเด็จ : การเผยแผ่ธรรมะ การที่จะไปสอนอะไรก็แล้วแต่ อาตมาอยากจะขอเตือนท่านนักเทศน์ยุคนี้ว่า

ขณะนี้สิ่งที่เราสอน เราสอนตามทฤษฎี ตามตำราที่เราอ่านมา จะเป็นมหากี่ประโยคก็เรื่องของเรา แต่เราควรสอนว่า สิ่งนี้เราว่าตามตำรานี้ แล้วก็เรายังไม่ได้ทำ ทีนี้จะจริงหรือไม่จริง ถึงไม่ถึง ก็ขอให้ท่านวินิจฉัยเอง อย่าพยายามสอนแบบที่บางคนชอบตู่พระพุทธองค์ คือว่าพระพุทธเจ้ามีรับสั่งว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้ามีรับสั่งว่าอย่างนี้ สิ่งเหล่านี้คือมนุษย์ผู้นั้นไม่ได้ทำ

ถ้าว่าตามหลักในสังคมขณะนี้ สังคมแห่งการเป็นครู ศาสนาพุทธล้วนแต่คัมภีร์เปล่า ถ้าไม่ล้วนแต่คัมภีร์เปล่า ในเรื่องอำนาจฌานญาณก็จะต้องมีคนฝึกได้ ปรากฏให้คนเห็นได้

เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร ท่านก็จะต้องทดลองทำในสิ่งนั้น ถ้าว่าตามหลักแล้ว ก็เรียกว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ สิ่งที่พระองค์จะเทศน์ออกมานั้น สิ่งนั้นพระองค์จะต้องทดลองทำได้แล้วจึงพูด แต่ว่านักสอนยุคนี้ไม่ได้ตามรอยตถาคตเช่นนั้น ก็คือว่า จำ ท่อง แบบนกแก้วนกขุนทอง แล้วก็มาพูด แล้วก็ไม่ยอมทำ

ฉะนั้น สภาวะเช่นนี้ ศาสนาพุทธจึงเพียงเป็นปรัชญาแขนงหนึ่ง ที่เขาเรียนไว้เพื่อการโต้เถียงกัน ไม่ได้เรียนไว้เพื่อปฏิบัติถึงธรรม จึงเป็นสิ่งที่น่าคิด น่าสังเวช จึงทำให้ในหลายๆ อย่างในวิชาของพระพุทธองค์ ไม่สามารถปรากฏในยุคปัจจุบัน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขอมอบให้พวกนักบวชไปพิจารณา ว่าจะทำอย่างไร จึงจะให้พระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์เป็นอมตะอย่างจริงจัง ไม่ใช่ตายด้านแบบปัจจุบัน

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๓

การบวชตามรอยองค์สมณโคดม


(วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๒)



สานุศิษย์ : พระบวชแล้วควรสึกหรือไม่ครับ

สมเด็จ : คือในสภาพการณ์ เราต้องเข้าซึ้งถึงก่อนว่า องค์สมณโคดมบวชเพื่ออะไร

องค์สมณโคดมบวชนั้น ได้เข้าซึ้งถ่องแท้ถึงวิถีการของการเป็นสัตวโลก ถึงการเสวยกรรมวิบากของการเป็นมนุษย์ การเป็นสัตว์ การเป็นอะไรก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งอนิจจังไม่เที่ยง เคลื่อนไปสู่ความสลายของกรรมนั้นๆ เมื่อภาวการณ์ถ่องแท้ในหลักแห่งความจริง จึงได้เกิดการเรียกว่ารู้ทันของอารมณ์ จึงได้สละเพศแห่งการจะเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในอนาคต มาสู่การเป็นพระธรรมราชา

ฉะนั้น พระบรมศาสดาจารย์แห่งยุค ไม่เคยบัญญัติว่าบวชแล้วสึก ถ้าบวชแล้วสึกแล้วไซร้ อรหันต์ย่อมไม่เกิดขึ้น พระอริยเจ้าย่อมไม่มีสืบต่อจนถึงยุคปัจจุบันนี้

เพราะฉะนั้น การที่เอาชายผ้าเหลืองมาเป็นกฎของประเพณี ซึ่งว่าตามหลักของความจริงของกรรมวิบากแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอะไร เพราะก่อนที่จะบวชนั้น ท่านต้องพิจารณาดีแล้ว ถ่องแท้แล้วถึงการอยู่ครองเรือน ถ่องแท้แล้วถึงการมีห่วง ว่าตนนั้นจะสละจากบ่วง พูดง่ายๆ โลกกับธรรมเดินไปคู่ โลกพยายามสร้างสิ่งที่ไกลจากความจริง แต่ธรรมพยายามสอนให้รับรู้ความจริง ให้เข้าไปหาความจริง แต่ทุกวันนี้ การบวชกลายเป็นหลักของการบวชตามประเพณี

ท่านอย่าลืม ท่านบวชแล้วสึก เสียเวลาทั้งผู้บวช และผู้ที่ต้องไปเป็นสักขีพยานในการนั้นๆ และเป็นการเสียเศรษฐกิจ บาตรซื้อมาใช้ไม่เท่าไหร่ก็ทิ้ง บาตรทิ้งเป็นร้อยๆ ซื้อจีวรมาห่มยังไม่ทันอุ่น จีวรนั้นทิ้ง ถ้าว่าตามกฎของความประหยัดแล้ว ถือว่าไม่ตั้งตนอยู่ในความประหยัดของทางโลก ของของโลกสลายอยู่กับโลก เราก็ต้องรักษาให้โลก

การห่มผ้าเหลือง บางคนห่มเพียงให้เขารู้ว่าฉันเป็นพระเท่านั้น จิตใจไม่ได้เป็นพระเลย ก็ย่อมนำความเสื่อมมาสู่เหล่าสาวกที่ชื่อว่าพระสงฆ์

อาตมาสมัยมีสังขารอยู่ อาตมาก็เคยปรารภเรื่องนี้กับเหล่าผู้นำศาสนาในยุคนั้นว่า

เราควรจะจัดในระบบการบวชใจก่อน คือท่านจะบวชกี่วันนั้น ท่านไม่ต้องไปโกนหัวหรอก ท่านมานั่งเรียนในหลักของการสวดมนต์ ท่านมาฝึกจิตของท่านให้สงบ อาตมาคิดว่ามีอานิสงส์กว่า

ทีนี้ ในหลักอันนี้ ตั้งแต่ในสมัยนั้นถึงสมัยนี้ คนเขาก็ไม่ยอมเอา และอีกอย่างหนึ่ง ผู้นำศาสนาทั้งหลายมักจะถือการบวชนี้ เป็นการหาปัจจัยเข้าวัด พูดง่ายๆ เอาผ้าเหลืองเป็นการหาปัจจัยเข้าบำรุงวัด หรือบำรุงผู้นำศาสนานั้นๆ

คือในสภาพความจริงแล้ว ถ้าเราจะบวชแบบองค์สมณโคดมแล้วไซร้ เราจะต้องบวชตามรอยองค์สมณโคดมที่วางไว้ ในหลักการปฏิบัติให้ถึงจุดแห่งการที่ว่า

ผู้ใดถึงธรรม    ผู้นั้นถึงตถาคต
ผู้ใดเห็นธรรม   ผู้นั้นเห็นตถาคต


แต่หลักพุทธพจน์อันนี้ เวลานี้ถูกเหล่าผู้นำทั้งหลาย ตั้งแต่สมัยอาตมามีสังขารอยู่ก็คือ พยายามหลอกชาวบ้านให้บวชเพื่อไปสวรรค์ บวชเพื่อส่งบุญให้บิดามารดา บวชเพื่อว่าผ่านการบวชแล้วสาวจะได้รักหรือว่าบวชเพื่อเบียดสาว เพื่อหาสีกาเป็นภรรยา ซึ่งเป็นวิถีการไม่ตรงตามเจตนาแห่งความต้องการของเหล่าอรหันต์ก็ดี ของเหล่าผู้สำเร็จก็ดี ของเหล่าพระพุทธเจ้าก็ดี เข้าใจไหม

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๔

บวชเพื่ออะไร



สานุศิษย์ : จะถามเรื่องบวชค่ะ เรื่องการบวชชีนี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

สมเด็จ : คือการบวชนี่ ถ้าเราบวชด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ทั้งกายและใจแล้วไซร้ ย่อมที่จะถึงในเรื่องของความสุข ถ้าเราบวชแล้วเรียกว่า บวชแต่กาย ใจไม่บวช อย่าไปบวชดีกว่า ทำลายผ้าเหลือง พระทุกวันนี้น่ะ เขาว่าศีล ๒๒๗ เอ็งไปเชื่อมัน ศีลและสัตย์ในพระสงฆ์ในยุคนี้หายาก

ในสภาวการณ์บวชนี้ เขาเรียกว่า บวชเพื่ออะไร บวชในการเพื่อให้ชำระจิต ถ้าเราจะฝึกตามแนวพุทธพจน์ขององค์สมณโคดมก็จะเห็นว่า เรานี้รู้ว่าโลกนี้เป็นสิ่งร้อน โลกนี้เป็นสิ่งเทียม ทุกอย่างในโลกนี้เป็นของปลอม เราต้องการความสุขอันแท้จริง ความสุขอันแท้จริงนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ความสุขอันแท้จริงนั้นอยู่ที่กายในกาย กายในกายอันนี้แหล่ที่องค์สมณโคดมเรียกว่า “พุทธะแห่งกายใจ”


สภาวการณ์เขาเรียกว่า ท่านจะพบตัวท่าน ท่านจะรู้จักตัวท่าน เมื่อท่านค้นพบตัวอาตมัน อาตมันตัวนี้หมายความว่า สิ่งนี้อธิบายด้วยภาษาไม่ได้ ในขณะที่องค์สมณโคดมจุติมาในดินแดนชมพูทวีป ในขณะนั้นชมพูทวีปเต็มไปด้วยเหล่าลัทธิฮินดู เหล่าลัทธิพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์อยู่ในศาสนาแห่งความเสื่อมที่ไม่มีระเบียบวินัย แบ่งเป็นหมู่ เป็นคณะ

องค์สมณโคดมก็ได้ทำการศึกษาในเหล่านี้ กับอาฬารดาบสและอุทกดาบส เพื่อจะศึกษาว่า สิ่งที่จะหลุดพ้นนั้นคืออะไร สิ่งที่พบในการศึกษากับอาจารย์นั้น แค่ได้ฌานชั้นสูง ทีนี้ในฌานชั้นสูงนี้ ไม่ใช่บรมสัทธรรมแห่งการหลุดพ้น เพราะฉะนั้น องค์สมณโคดมจึงหาวิธีการในการทำตนฝึกใหม่ เพื่อชำระจิตให้อยู่ในภาวะแห่งการรู้ในความบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ทีนี้ ในการบวชนี้ ถ้าเราบวชอย่างรู้แนวทางและปฏิบัติจิต การบวชนั้นก็เป็นการดี ถ้าบวชอย่างไม่รู้แนวทาง บวชตามชาวบ้าน บวชเพื่อให้เขาเรียกเป็นเจ้าคุณ บวชเพื่อศาสนา บวชเพื่อที่จะเป็นโน่นเป็นนี่ ชิงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส หรือบวชเพื่อที่จะเป็นหัวหน้าชีก็ดี อย่าไปบวชดีกว่า

สานุศิษย์ : ถ้าเราทำจิตให้แน่วแน่ก็เหมือนกับการบวชใช่ไหมคะ

สมเด็จ : ถ้าเราปฏิบัติจิตดี มนุษย์จำเอาไว้ ถ้าไม่มีศีลก็ต้องมีสัตย์ ไม่มีทั้งศีลไม่มีทั้งสัตย์ หมายังดีกว่า เพราะฉะนั้น การบวชนี้เป็นการสมมติในการห่มผ้าเหลือง เพื่อให้เห็นว่า นี่เป็นกรอบแห่งการเป็นพระเท่านั้น หรือว่าเป็นกรอบแห่งการเป็นชีเท่านั้น ถ้าใจมันไม่บวชแล้ว ห่มผ้าแล้วมันก็ไม่ดี ถ้าท่านบวชใจ ท่านก็จะถึงธรรมอันแท้จริง เมื่อท่านควบคุมสติสัมปชัญญะของท่านอยู่

ทีนี้ ในการบวชก็เพื่อว่าเอาผ้ากาสาวพัสตร์เป็นการสมมติเป็นชีเป็นสงฆ์ เพื่อคุมตัวให้มีสติไม่คล้อยไปตามทางโลกเท่านั้นเอง เพราะว่าถ้าอยู่ในเพศฆราวาสแล้ว อารมณ์หลงกายเนื้อพาไปในสิ่งต่างๆ ได้ โดยไม่มีสิ่งเตือนใจ

ฉะนั้น ในการบวชนี้ก็เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจ เพื่อบังคับตนว่า เรานี้เป็นนักพรต ทีนี้เราจะเป็นนักพรตอย่างไม่มีความหวังในเรื่องของทางโลกแบบทุกวันนี้แล้ว เราก็เป็นนักพรตแบบบวชใจดีกว่าบวชกาย

สานุศิษย์ : ดิฉันก็ให้สัจจะกับพระไว้แล้ว คือใจเราพร้อมแล้ว แต่ภาระก็ยังมี แต่ก็จะทำตามสัจจะ เพราะใจเราสมัครไว้แล้ว

สมเด็จ : เราก็บวชตามสัจจะซิ อาตมาก็บอกแล้วว่า มนุษย์เราถ้าไม่มีศีล ก็ต้องมีสัตย์ ถ้าไม่มีทั้งศีลไม่มีทั้งสัตย์ หมายังดีกว่า

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๕

ดูเหมือนว่าเวรกรรมไม่สนองคนชั่ว



(วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๓)



สานุศิษย์ : เกล้ากระผมอยากทราบว่า คนชั่ว ทำไมผลกรรมไม่สนองทันตาเห็น

สมเด็จ : คือว่าหลักปัจจัตตังของธรรมชาติ เรียกว่ามนุษย์นี่ เกิดเป็นคนเพราะมีภพชาติแห่งการสืบต่อ ต่อเนื่องถี่ยิบยิ่งกว่าใดๆ ทั้งสิ้น การที่เราเห็นขณะนั้นว่า ทำไมเขาทำชั่วแล้วเขาเสวยกรรมดี เพราะอะไร เพราะว่ากุศลในอดีตเขาส่งอยู่ปัจจุบัน ทีนี้ คนเราทุกวันนี้มันดูกันแค่เปลือกนอก ไม่ได้ดูให้ถึงเปลือกภายใน

ถ้าท่านดูเปลือกภายในแล้วไซร้ ท่านจะต้องอยู่ใกล้ เมื่อถึงวาระบุคคลที่สร้างความชั่ว ในขณะก่อนที่จิตวิญญาณของเขาก่อนที่จะหลุดจากร่างแห่งการเป็นมนุษย์นี้แหล่ ขณะนั้นอารมณ์แห่งความหวาดหวั่นของการที่จะพบเหล่าวิญญาณ ยมทูต เทวทูต พรหมทูต มาผจญนั้น


ขณะนั้นถ้าทำความชั่วมาก เช่น ฆ่าคนมามาก ก็จะมีวิญญาณหลอกหลอนของเหล่าทหารที่เขาสั่งฆ่านั้น จะมาหลอกหลอนเขาในขณะนั้น คือว่าเราไม่ได้ดูตอนตาย เราดูตอนเป็นเท่านั้น เราก็เชื่อว่าคนๆ นั้น สร้างความชั่วแล้วมีความดี

ทีนี้ กฎของโลกวิญญาณ เขาทรงไว้ด้วยความยุติธรรมของธรรมชาติ ธรรมชาติในวัฏฏะนี้ เขาส่งผลถี่ยิบตามภาวะกรรม ถ้ากรรมในอดีตเขาสร้างมาดี ภาวะในปัจจุบันนี้ เขาหลงงมงายไปกับสิ่งชั่ว แต่ว่าทำไมจึงมีดีอยู่นั้น ก็เพราะว่า


กุศลในอดีตเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น เคยเป็นหมู หมา แมว อะไรก็แล้วแต่ ค่อยๆ วิวัฒนาการมาเป็นคน จำศีลภาวนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ภูมินี้ เพื่อบำเพ็ญตนสืบต่อไปสู่เทวโลกหรือพรหมโลก แห่งเทวภูมิ พรหมภูมิ นั้นๆ

ทีนี้ เรียกว่า ขึ้นมาถึงโลกมนุษย์นี้ เขาถือว่าโลกมนุษย์นี้เป็นโลกสื่อกลางของโลกวิญญาณ โลกมนุษย์นี้เป็นโลกที่สกปรกที่สุด ผู้ที่จะชนะอารมณ์แห่งนรกสวรรค์ ๓๓ ชั้น แล้วไซร้ ต้องสามารถขึ้นมาเอาความสำเร็จญาณฌานในโลกมนุษย์นี้


ถ้าผู้นั้นสามารถบำเพ็ญถึงเทวโลก พรหมโลก บำเพ็ญขึ้นสู่ในการเป็นพระพรหมสุทธาวาส เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญว่า เป็นผู้มีภาวะแห่งสติสัมปชัญญะพร้อมเสมอ ที่ไม่คล้อยตามโลก นั่นคือหลักแห่งความจริงในโลกวิญญาณ

เพราะฉะนั้น เราจะว่าคนทำชั่วแล้วได้ดีเสมอไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จริง เพราะเราไม่ได้ติดตามคนชั่วถึงวาระแห่งมรณกาล แห่งการทิ้งสังขารของเขา เข้าใจไหม คือดูแค่เห็นว่าเขาแต่งตัวโก้ๆ หรือว่าดูแค่นั้น มันต้องดูตอนเวลามันจะตาย จะปรากฏสัญชาตญาณแห่งความจริงในขณะนั้น


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๖

คนเกิดมาไม่ครบอาการ ๓๒



สานุศิษย์ : บางคนเกิดมาได้รับความไม่เสมอภาคทางธรรมชาติ ร่างกาย จิตใจ ทำไมเป็นอย่างนั้นครับ

สมเด็จ : อันนี้เพราะว่ากรรมวิบากในอดีต มันมีสองอย่าง เจตนากรรมกับไม่เจตนากรรม เจตนากรรมก็คือหมายความว่า เมื่อเกิดมาเป็นคนยากจนเข็ญใจ สัมมาอาชีวะตนไม่ดีเพียงพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเลี้ยงชีพในทางทุจริตก็ดี หาเลี้ยงชีพในการฆ่าสัตว์ก็ดี เช่น ผู้ที่ขายหมู ขายนานไปก็จะมีเงินเพียงพอที่จะเลิกอาชีพนี้ ไม่เลิก เพราะว่าอาชีพทำกำไรดี กินจนพุงพลุ้ยอะไรก็ว่ากันไป

ทีนี้ พลังนั้นแหละ กรรมที่เขาสร้าง ท่านอย่าลืม หมูบางตัวเป็นพรหมที่ผิดกฎในพรหมโลกต้องลงมาเกิด ปลาไหลบางตัวเคยเป็นเทพพรหม เพราะอะไร เพราะเขาเหล่านี้ถือว่า การเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าสติคุมอารมณ์แห่งอายตนะไม่เพียงพอ จะกลับสู่โลกวิญญาณยาก


เพราะฉะนั้น ถ้ามติที่ประชุมว่าฉันมีกรรมอย่างนี้ ต้องไปใช้กรรมชนิดนี้ คือ โลกวิญญาณเขามีมติว่า แล้วแต่ผู้ที่จะเสวยกรรมมีเจตนาจะไปเสวยกรรมในลักษณะไหน ในเมื่อเป็นพรหม เป็นเทพชั้นสูง ย่อมรู้กาลเทศะในการรับผิดชอบตน ก็มาเกิดในสิ่งเหล่านี้

ถ้าเราเกิดไปฆ่าสัตว์เหล่านี้เข้าด้วยเจตนา เจตนากรรมนั้น ถ้าสัตว์นั้นมีพลังแห่งความอาฆาต อันนี้เขาจะตามสนองในอีกทุกๆ ชาติ จนกว่าพลังแห่งการจองเวรจองกรรมจะสลาย

ความแน่วแน่แห่งการอาฆาตจองเวรอันนี้ เมื่อกรรมถึงวาระ จะทำให้มนุษย์ผู้นี้มีอาการ ๓๒ ไม่ครบถ้วน เพราะในกรรมวิบากที่เรียกว่า วิญญาณอาฆาต


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตอนที่ ๑๗

มุสาในทางที่ชอบ



สานุศิษย์ : หลวงพ่อครับ สมมติว่าเรารับศีลห้าแล้ว เราเกิดเผลอไปทำให้ศีลขาดไป ถือร้ายแรงหรือเปล่าครับ  

สมเด็จ : อันนี้ขาดในหลักของคำว่า ไม่มีสติสัมปชัญญะพร้อม

ทีนี้ ก็ต้องดูว่า กรรมแห่งความเผลอนั้นเป็นกรรมอะไร ถ้าเผลออย่างธรรมดา เขาเรียกว่า กรรมนั้นเป็นกรรมบาง ก็เป็นการอโหสิกรรมไปในตัว แต่ถ้ากรรมนั้นหนัก เกิดไปรับศีลออกจากโบสถ์ ถ้าเป็นผู้ชายก็บอกว่า เฮ้ย ไปกินเหล้ากันโว้ย อันนี้ไม่ใช่เรียกเผลอ หรือว่ารับศีลออกมาแล้วเกิดไปฆ่าสัตว์ หรือว่าไปฆ่าคนตาย ภาวะนี้เขาถือว่าเป็นกรรมหนัก เพราะฉะนั้น อันนี้จะให้รู้ว่าผิดขนาดไหน ต้องดูในภาวะนั้นๆ ว่า กระทำอะไรเป็นกรรมในความเผลอ


สานุศิษย์ : มิได้ครับ สมเด็จพ่อ คือสมมติว่า เรารับศีลออกมาแล้วนี่ เราจำเป็นต้องพูดเท็จบางอย่าง คือเราไม่อยากให้คนนั้นเสียใจ อันนี้เราจะผิดศีลหรือเปล่าครับ

สมเด็จ : อันนี้ถ้าว่าตามหลักของอาตมาแล้ว ไม่ผิดศีล เพราะอะไรเล่า คำว่า มุสาวาจา นี้ คือมุสาในสิ่งที่เป็นสิ่งร้ายต่อคนอื่น เป็นสิ่งร้ายต่อส่วนรวม และร้ายต่อตัวเอง ทีนี้ ในการมุสาเพื่อให้คนอื่นดีกันแล้ว เขาถือว่ามุสาในทางที่ชอบ ไม่ผิด

สมมติว่า คนหนึ่งด่าอีกคนหนึ่งให้เราฟัง เราเจอไอ้คนนี้ สมมติว่าเราเป็นคนกลาง เราเป็นทูต ไอ้คนนี้มาถามว่า ไอ้นั่นเขาว่าอย่างไร เราบอกว่าไอ้นั่นเขาชม มันก็ไม่มีเรื่องไป ถ้าเราไปใส่ไฟบอกว่า เขาด่ามึง ก็ต้องออกไปท้าตีต่อยกัน นี่ก็ผิดนะ

เพราะฉะนั้น ในหลักแห่งความมุสานั้น คือว่ามุสานั้น ถ้ามุสาในสิ่งที่ชอบ เพื่อความสันติของส่วนรวม เพื่อความสันติของตัวเอง เรียกว่าไม่ใช่การสันติเอาตัวรอด แล้วคนอื่นฉิบหายนั้นไม่ได้ เมื่อมุสาแล้ว ส่วนรวมก็ไม่เสีย ส่วนตัวก็ไม่ตาย อันนี้ถือว่า ไม่ผิดศีล


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:12 , Processed in 0.032016 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.